Blockchain

ตลาดทองใช้ Blockchain พิสูจน์ความแท้ทองคำแท่ง

A H R0c H M6 Ly9z Lmlz Y W5vb2su Y29t L21u Lz Avd W Qv Mt E2 Lz U4 Nd E5 O S9pc3 Rv Y2st Nd Yx Mj Ux Nt Ux Lmpw Zw.jpg

องค์กรที่มีชื่อเสียงเริ่มหันมาร่วมมือกันเปิดตัวโปรแกรมใหม่ให้ตลาดทองใช้ Blockchain พิสูจน์ความแท้ของทองคำแท่ง รวมไปถึงจัดการกับห่วงโซ่อุปทาน

เมื่อวันจันทร์ที่ 28 มีนาคม ที่ผ่านมา องค์กร London Bullion Market Association (LBMA) และ the World Gold Council (WGC) ได้ออกมาแถลงการณ์ร่วมมือกันพัฒนาระบบให้กับตลาดทองใช้ Blockchain พิสูจน์ความแท้ของทองคำแท่ง รวมไปถึงการดูแล และจัดการกับห่วงโซ่อุปทานที่สมบูรณ์ระดับโลก จากบริษัท aXedras และ Peer Ledger ซึ่งบัญชีตัวใหม่นี้จะถูกนำมาใช้เพื่อดำเนินการลงทะเบียน และติดตามสถานะของทองคำแท่งในแต่ละขั้นตอนการผลิตไปจนถึงการจัดจำหน่าย รวมไปถึงการขุด, การหลอม และการขายโดยผู้ผลิตเครื่องประดับ

ตลาดทองใช้ Blockchain แก้ปัญหาห่วงโซ่อุปทาน และขจัดการฉ้อโกง

ปัญหาที่เกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การขุดเหมืองที่ผิดกฎหมาย, การฟอกทองคำ, ทองคำแท่งปลอม และการละเมิดสิทธิมนุษยชนทำให้อุตสาหกรรมทองคำเสี่ยงต้องเผชิญกับปัญหาในด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน ย้อนกลับไปในปี 2020 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ได้เผยแพร่คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีที่ผู้ผลิตทองคำจะสามารถนำไปใช้หลีกเลี่ยงการมีส่วนทำให้เกิดการละเมิดกฎระเบียบที่ร้ายแรง ต่อกระบวนการการขุด และการผลิตทองคำได้

อย่างไรก็ตาม การร่วมมือกันระหว่าง 2 บริษัททองคำรายใหญ่ก็ได้ก่อให้เกิดโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมทองคำครั้งใหญ่ขึ้น โดยพวกเขาเรียกโปรเจกต์สำคัญนี้ว่า Gold Bar Integrity Program ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์กรรายใหญ่จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น CME Group, Metalor, Barrick Gold, Brinks, Royal Canadian Mint, Newcrest Mining, Hummingbird Resources, Argos Heraeus SA, Asahi, Aura Minerals, Perth Mint และอื่น ๆ อีกมากมาย ทางด้านองค์กร LBMA และ WGC ระบุว่า โครงการดังกล่าวจะได้รับการพัฒนาให้สามารถนำมาปรับใช้กับอุตสาหกรรมทองคำทั่วโลก รวมไปถึงการขจัดปัญหาในด้านต่าง ๆ ที่จะเข้ามาเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการได้ในท้ายที่สุด

หลากหลายอุตสาหกรรมเริ่มนำ Blockchain มาใช้แก้ปัญหา

T9rkvi3n0nm 1024x576.jpg

ทางด้านการจัดการห่วงโซอุปทานนั้น เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในกรณีศึกษาสำหรับเทคโนโลยี Blockchain ที่สำคัญมากตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้ โดยสำนักข่าวต่างประเทศรายหนึ่งได้รายงานว่า Forbes ได้ดำเนินการเพิ่มรายชื่อบริษัทมากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมดที่มีอยู่ลงไปในลิสต์ Blockchain 50 ประจำปี 2021 ซึ่งจำนวนบริษัทที่เพิ่มเข้ามานั้นล้วนแล้วแต่เป็นองค์กรที่ใช้แทคโนโลยีประเภท Distributed Ledger Technology (DLT) เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการห่วงโซ่อุปทาน และโลจิสติกส์ นอกจากนี้ ในเดือนเมษายน ปี 2021 บริษัท Lockheed Martin หนึ่งในผู้ให้บริการคู่สัญญาด้านการป้องกันประเทศรายใหญ่ระดับโลก (Defense Contractor) ก็ได้ออกมายอมรับบริษัทได้นำเทคโนโลยี Blockchain เข้ามาใช้แก้ไขปัญหาการจัดการห่วงโซ่อุปทานในประเทศสวิตเซอร์แลนด์เช่นเดียวกัน

ราคาทองคำพุ่งทะยานในเดือนกุมภาพันธ์

หลังจากรัสเซียได้ออกมาประกาศบุกโจมตียูเครนในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ส่งผลให้มูลค่าทองคำพุ่งขึ้นมามากกว่า 2% เนื่องจากนักลงทุนเริ่มมองหาสินทรัพย์ที่จะช่วยเป็นที่หลบภัยให้แก่เขาได้ในยามที่มูลค่าหลักทรัพย์ของตลาดคริปโตเริ่มร่วงลงไปจนน่าใจหาย ซึ่งจากรายงานในช่วงดังกล่าวพบว่าคริปโตเคอเรนซีมีมูลค่าตกลงไปมากถึง 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งแน่นอนว่าตลาดหุ้น และสกุลเงินสดเองก็มีมูลค่าดิ่งลงมาในลักษณะเดียวกัน

อย่างไรก็ตามปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาทองคำทะยานขึ้นมาอย่างสวยงามได้ แม้ว่าจะเกิดสงครามครั้งใหญ่นั้นมาจากความตึงเครียดของประชาชน ซึ่งส่งผลให้ราคาซื้อขายเพิ่มขึ้นมาเกือบ 8% ในปี 2022 นี้ รวมไปถึงการคาดการณ์ว่าสหรัฐเตรียมปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ยิ่งช่วยกระตุ้นให้ทองคำกลับเข้าสู่ยุคทอง และตอกย้ำถึงการทำหน้าที่เป็นสินทรัพย์ที่สามารถป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อชั้นดีได้อีกเช่นเดียวกัน

นักลงทุนหลายรายยังคงคิดว่า Bitcoin ดีกว่า

ท่ามกลางกระแสความนิยมในตัวของสินทรัพย์ประเภททองคำที่กลับมาฮอตฮิตอีกครั้ง แต่ทว่านักลงทุนรายใหญ่จำนวนมากก็ยังคงมองว่าสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นดีกว่าทองคำอยู่ดี โดย Marion Laboure หนึ่งในนักวิเคราะห์จาก Deutsche Bank เคยออกมาคาดการณ์ว่า Bitcoin (BTC) อาจกลายเป็นทองคำดิจิทัลแห่งศตวรรษที่ 21 แต่จะไม่ได้ทำหน้าที่เป็นสินทรัพย์ที่สามารถกักเก็บมูลค่าที่น่าเชื่อถือได้ในปัจจุบัน และยิ่งไปกว่านั้นตัวสินทรัพย์ดังกล่าวจะยิ่งมีความผันผวนมากขึ้นไปจากเดิมในอนาคตอันใกล้อีกด้วย นอกจากนี้ ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Goldman Sachs ก็ได้ออกมาคาดการณ์ว่าราคาของ Bitcoin นั้นจะพุ่งขึ้นสูงถึง 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐได้สำเร็จอย่างแน่นอน ซึ่ง ณ ขณะนั้นราคาทองคำอาจกำลังคงตัวอยู่ที่ราว 2.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐเช่นเดียวกัน

Pzifgmbsxcc 856x536 1.jpg

ยิ่งไปกว่านั้น รายงานข่าวในช่วงเดือนธันวาคม ปี 2021 ที่ผ่านมายังพบว่าผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่ต่างพากันเบนเข็มมาลงทุนใน Bitcoin มากกว่าทองคำ เนื่องจากพวกเขามองว่าคริปโตเคอเรนซีเป็นสินทรัพย์ที่ควรค่าแก่การกักเก็บไว้มากกว่า และยังเป็นสินทรัพย์ที่มีแนวโน้มจะเอาชนะภาวะเงินเฟ้อได้ในระยะยาวอีกด้วย

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง