Ethereum เป็นหนึ่งในสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) มีอักษรย่อคือ ETH ที่ใช้เทคโนโลยีแบบบล็อกเชน (Blockchain) อยู่เบื้องหลังเช่นเดียวกับบิตคอยน์แต่ทว่า Ethereum ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นสกุลเงินเพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังทำหน้าที่เป็นระบบปฎิบัติการควบคู่กันไปด้วย อันที่จริงแล้ว Ethereum เป็นแค่ชื่อของระบบปฎิบัติการ ชื่อของสกุลเงินที่แท้จริงคือ “Ether” (ETH) เกิดขึ้นมาพร้อมกับระบบปฎิบัติการ ใช้เป็นตัวช่วยขับเคลื่อนการทำงานของเครือข่าย Ethereum เลยทำให้สกุลเงินนี้ถูกเรียกว่า Ethereum ไปโดยปริยาย โดย Ethereum หรือ Ether ถือว่าเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลประเภท Utility Token เอาไว้ให้สิทธิ์ในการเข้าใช้บริการ Ethereum
Ethereum ถูกสร้างขึ้นมาครั้งแรกเมื่อปลายปี 2013 โดย Vitalik Buterin อัจฉริยะชาวรัสเซีย ผู้ที่เคยร่วมเป็นหนึ่งในทีมพัฒนาบิตคอยน์และร่วมก่อตั้งนิตยสาร Bitcoin Magazine เริ่มแรก Vitalik ได้จัดทำ White Paper ขึ้นมาเพื่อทำให้คนที่สนใจได้รู้จักรายละเอียดของ Ethereum เพิ่มมากยิ่งขึ้น พอหลังจากนั้นในปี 2014 Vitalik ก็ได้เริ่มระดมทุนผ่าน ICO และต่อมาได้เปิดตัว Ethereum ขึ้นมาอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 กรกฎาคม 2015 ซึ่งเริ่มมีการซื้อขายอย่างเป็นทางการพร้อมกับมีนักพัฒนาสร้าง Application มากมายบนแพลตฟอร์ม Ethereum ไปพร้อมกัน
สกุลเงินดิจิทัลที่เกิดจาก Ethereum คือ Ether มีอักษรย่อว่า ETH เกิดขึ้นมาพร้อมกับระบบปฎิบัติการบล็อกเชน (Blockchain) และเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานของ Application ต่างๆ ให้เป็นการทำงานแบบกระจายศูนย์ (Decentralized) ที่จะมีการนำศูนย์รวมอำนาจออกไปและใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลทุกอย่างแทน โดยมี Node เป็นตัวช่วยสำคัญในการขับเคลื่อนประมวลผลข้อมูลต่างๆ แทนการใช้เซิร์ฟเวอร์แบบเดิมที่จะช่วยตัดปัญหาในเรื่องการเก็บข้อมูลไว้กับบุคคลที่สาม (Third-Party) ออกไป ดังนั้นการกระตุ้นให้ Node ทำงานในระบบได้ต้องมีการจ่ายค่าธรรมเนียมด้วย Ether (ETH) ที่เรียกว่า Gas ซึ่งจะจ่ายได้โดยใช้เหรียญสกุลเงินดิจิทัล Ether (ETH) ของ Ethereum แค่เพียงสกุลเดียวเท่านั้น ดังนั้นยิ่งมีผู้ใช้บริการ Ethereum มากเท่าไหร่ก็ยิ่งอาจทำให้เหรียญ Ethereum มีมูลค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
Ethereum มีคอนเซ็ปท์หลักในการทำธุรกรรมคือ บล็อกเชน (Blockchain) ที่มีรูปแบบเป็น Open Source ที่คนทั่วไปสามารถเข้าไปพัฒนาหรือว่าเขียนข้อมูลต่างๆ ลงในสกุลเงินได้ หลักการของ Ethereum ไม่ยากอย่างที่คิดเพราะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักที่น่าสนใจระบบ
Smart Contract: ระบบสัญญาอัจฉริยะที่จะอนุญาตให้ผู้ใช้งานเขียนโปรแกรมลงไปในเหรียญ ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่งหรือว่าพัฒนาให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดขึ้นมาเอง ปราศจากการใช้มนุษย์ในการควบคุม ทำให้ทุกอย่างดำเนินไปตามกลไกที่ถูกตั้งไว้ ยกตัวอย่างเช่น ในสัญญาต้องจ่ายค่าเช่าบ้านทุกวันที่ 1 ของทุกเดือน แต่ถ้าคุณจ่ายเงินค่าเช่าบ้านไม่ตรงตามเงื่อนไข กุญแจจะถูกล็อคโดยอัตโนมัติทำให้เข้าบ้านไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งง่ายต่อการควบคุมและเพิ่มความน่าเชื่อถือ
ICO (Initial Coin Offering): มีหลักการคล้ายกับ IPO (Initial Public Offering) ในตลาดหุ้นที่ขายหุ้นออกสู่ตลาดสาธารณะ เปรียบเสมือนเป็นการขายเหรียญใหม่ให้กับผู้ที่สนใจนำเงินมาลงทุน จากนั้นก็ค่อยเอาเงินลงทุนไปต่อยอดทำธุรกิจ เพราะว่ายิ่งมีคนออกเหรียญกับ Ethereum มากเท่าไหร่ก็จะทำให้ Ethereum มีมูลค่ามากยิ่งขึ้นเท่านั้น
EEA (Enterprise Ethereum Alliance): มาจากการรวมตัวของบริษัทใหญ่ที่มีชื่อเสียงทั่วโลกเพื่อใช้ในการพัฒนา Ethereum ปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 116 บริษัท ยิ่งมีสมาชิกที่เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงมากเท่าไหร่ Ethereum ยิ่งได้รับการยอมรับมากขึ้นเท่านั้น
เนื่องด้วยปัจจัยหลายอย่างและการที่ Ethereum ไม่ได้เป็นแค่เพียงสกุลเงินดิจิทัลแค่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงระบบ Smart Contract จึงทำให้มูลค่าของ Ethereum มีแนวโน้มพุ่งสูงมากขึ้นเรื่อยๆ มาดูกันว่าปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ Ethereum มูลค่าเพิ่มขึ้นบ้าง
มีคนสร้าง Application มากขึ้น: ยิ่งความเชื่อถือของ Ethereum มากยิ่งขึ้นเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีคนมาใช้บริการและสร้าง Application มากขึ้นทำให้มูลค่าเหรียญ Ethereum มากขึ้นตามไปด้วย
บริษัทใหญ่ให้ความสนใจ: เมื่อใดก็ตามที่บริษัทใหญ่เริ่มให้ความสนใจและอยากจะริเริ่มนำระบบ Ethereum มาใช้ในการพัฒนาหรือปรับใช้กับบริษัท แน่นอนว่าจะทำให้มูลค่าของ Ethereum เพิ่มขึ้นแน่นอน
ใช้การทำงานแบบ Proof of Stake: เอกลักษณ์ที่เป็นตัวตนของ Ethereum คือการทำงานระบบแบบ PoS ที่ใช้ในการตรวจสอบและบันทึกข้อมูลลงในบล็อกเชน (Blockchain) ลดการใช้ทรัพยากรอันมหาศาลของคอมพิวเตอร์ลง ทำให้คนทั่วไปไม่ต้องซื้อคอมพิวเตอร์จำนวนมากมาใช้ขุด Ethereum ช่วยลดความเลื่อมล้ำได้
มีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะเหรียญ Ethereum ถูกสร้างมาให้มีจำนวนได้ไม่จำกัด แตกต่างจากบิตคอยน์ที่ถูกควบคุมให้มีอยู่อย่างจำกัดจึงต้องเกิดการเผาเหรียญเพื่อควบคุมราคาของ Ethereum ไม่ให้เฟ้อจนมากเกินไป เมื่อปริมาณของ Ethereum ลดลง ราคาของสินทรัพย์จะมีมูลค่าสูงตามไปด้วย