ข่าวคริปโตเคอเรนซี่

วิเคราะห์ผลกระทบ จะเกิดอะไรขึ้นถ้า ‘คริปโต’ เข้าข่ายเป็น ‘หลักทรัพย์’ แล้วทำไมเราถึงควรกังวลได้แล้ว?

วิเคราะห์ผลกระทบ จะเกิดอะไรขึ้นถ้า ‘คริปโต’ เข้าข่ายเป็น ‘หลักทรัพย์’ ขึ้นมาจริงๆ

'คริปโต เป็นหลักทรัพย์' ฟังผ่านๆ ก็อาจดูไม่มีอะไร แต่ถ้าติดตามข่าวสารกันมาตลอดก็จะรู้ว่า 'นี่เป็นเรื่องใหญ่มาก' ใหญ่แค่ไหน... ใหญ่ขนาดที่อาจทำให้คริปโตหลายเหรียญ 'ตาย' กันไปได้เลย

'คริปโต เป็นหลักทรัพย์' ฟังผ่านๆ ก็อาจดูไม่มีอะไร แต่ถ้าติดตามข่าวสารกันมาตลอดก็จะรู้ว่า นี่ไม่ใช่เรื่องเล็ก มันเป็นเรื่องใหญ่ที่กำลังเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์กันในอเมริกาช่วงนี้

ใหญ่แค่ไหน... ก็ใหญ่ขนาดที่อาจจะทำให้คริปโตหลายเหรียญ 'ตาย' กันไปได้เลย

วันนี้ CryptoSiam เลยจะมาสรุปให้ฟังคร่าวๆ ว่าทำไมมันถึงเป็นประเด็นใหญ่ และคงถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องจับตาดูกันอย่างใกล้ชิด

ทำไม 'คริปโต' ถึงอาจเข้าข่าย 'หลักทรัพย์' ?

เท้าความก่อน คือแต่ละประเทศเนี่ยจะสามารถมอง ‘คริปโต’ เป็นหลักทรัพย์ได้รึเปล่าก็ขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้นๆ แต่ปัญหาคือคริปโตเพิ่งจะมาเป็นกระแสได้ไม่กี่ปี กฎหมายก็ตามไม่ทัน และหลายประเทศก็ยังไม่รู้ว่าจะจำกัดความคริปโตเป็นอะไรดี จะเป็นหุ้นไหม? เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ไหม? เป็นหลักทรัพย์ไหม? หรือจะเป็นสินทรัพย์ประเภทใหม่แยกไปเลย

โดยสหรัฐฯ ก็เป็นหนึ่งในนั้น ที่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่ชัดเจนว่าควรจะเอาคริปโตไปไว้ตรงไหนของกฎหมาย ซึ่งสหรัฐฯ รวมไปถึงตลาดคริปโตของเขาเนี่ยใหญ่มาก จะสังเกตได้ว่า Fed หรือธนาคารกลางสหรัฐฯ เวลามีความเคลื่อนไหวอะไร ราคาคริปโตทั่วโลกก็ได้รับผลกระทบไปด้วย

ซึ่งหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลอะไรก็ตามที่เป็น ‘หลักทรัพย์’ ในประเทศ ก็คือสำนักงาน ก.ล.ต. หรือ SEC นั่นเอง และก็ดูเหมือนว่า SEC จะอยากจะให้ 'คริปโต' เป็นหลักทรัพย์แบบสุดๆ

<i>อาคารสำนักงาน ก.ล.ต. สหรัฐฯ​ หรือ SEC<br>รูปภาพ: www.sec.gov</i>
อาคารสำนักงาน ก.ล.ต. สหรัฐฯ​ หรือ SEC
รูปภาพ: www.sec.gov

อ่านข่าวต่อ - ปธ. SEC สหรัฐฯ เปิดเผยความเสี่ยงการลงทุนคริปโต - ย้ำให้มาลงทะเบียนหลักทรัพย์

แต่ ณ ขณะนี้ บริษัทคริปโตหรือพวกเว็บเทรดต่างๆ ในประเทศก็ไม่ต้องลงทะเบียนกับ SEC ดูยังไง? ดูง่ายๆ ถ้าหากเข้าไปในเว็บของ Coinbase หรือ Binance US จะเห็นว่าใบอนุญาตที่พวกเขาได้เนี่ยจะเป็นแค่ ‘ใบอนุญาตธุรกิจการโอนเงิน’ หรือ ‘Money Transmitter License’ เท่านั้น ซึ่งไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์เลย

แล้วจะเกิดอะไรขึ้น? ถ้าคริปโตเป็นหลักทรัพย์ขึ้นมาจริงๆ 

ที่ชัดเจนเลยก็คือบริษัทคริปโตทั้งหมดจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของ ก.ล.ต. รวมไปถึงการพัฒนาเหรียญต่างๆ ก็ต้องพัฒนาให้ไม่ขัดกับกฎหมายหลักทรัพย์ โดยจะแบ่งออกเป็นข้อดี-ข้อเสียดังนี้

ข้อดี

  • กฎหมายเป็นที่ชัดเจน
  • มีหน่วยงานกำกับดูแลชัด
  • อาจดึงดูดนักลงทุนสถาบันให้มาลงทุนมากขึ้น

ข้อเสีย

  • XRP แพ้คดีแน่นอน และอาจตามมาด้วยการล่มสลายของเหรียญ
  • หลายบริษัท, หลายเหรียญมากๆ จะเข้าข่ายผิดกฎหมาย
  • ส่วนบริษัทที่ทำให้ตัวเองถูกกฎหมายได้ ก็จะเจอกับต้นทุนทางกฎหมายที่เพิ่มขึ้น
  • ราคาคริปโตอาจผันผวนหนัก

SEC เริ่มแคมเปญ 'กวาดล้างคริปโต'

แต่ความโกลาหลก็เริ่มก่อตัวขึ้นตั้งแต่ปี 2021 หลังจากที่ ก.ล.ต. สหรัฐฯ อยู่ดีๆ ก็ยื่นฟ้องบริษัท Ripple บริษัทผู้พัฒนาเหรียญ XRP ด้วยข้อหา ‘เสนอขายหลักทรัพย์ที่ไม่ได้ลงทะเบียน’ ซึ่งหลักทรัพย์ที่ว่านั่นก็คือ XRP นั่นเอง

อ่าว… แล้ว XRP เป็นหลักทรัพย์งั้นหรอ?

บทความที่เกี่ยวข้อง - สรุปมหากาฬคดี 'SEC vs Ripple' - หลังส่อแววใกล้จบเร็วๆนี้

<i>Brad Garlinghouse (ซ้าย) และ Chris Larsen (ขวา)&nbsp;ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Ripple ผู้ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีความของ XRP</i>
Brad Garlinghouse (ซ้าย) และ Chris Larsen (ขวา) ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Ripple ผู้ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีความของ XRP

คำถามว่า “XRP เป็นหลักทรัพย์หรอ?” กลายมาเป็นคำถามสำหรับทุกคน จนถึงทุกวันนี้แม้แต่ศาลเองก็ยังตัดสินไม่ได้ว่า XRP เป็นหลักทรัพย์จริงหรือไม่

แต่ SEC ก็ยังไม่หยุด ตั้งแต่เริ่มปี 2023 มา สำนักงานก็ยื่นฟ้องบริษัทคริปโตเพิ่มอีกหลายบริษัทใหญ่ และทั้งหมดโดนในข้อหาคล้ายๆ กันก็คือการ ถูกมองว่าคริปโตเป็นหลักทรัพย์ และบริษัทเหล่านั้นไม่ได้ลงทะเบียนกับ SEC

การเริ่มแคมเปญ ‘กวาดล้างคริปโต’ ในครั้งนี้ก็ทำให้บริษัทคริปโตในสหรัฐฯ ตื่นตระหนกอย่างหนัก โดยเฉพาะ Coinbase เว็บเทรดคริปโตที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา ที่แสดงท่าทีกระวนกนะวายอย่างเห็นได้ชัด จน CEO ต้องเข้าพบหน่วยงานนู้นหน่วยงานนี้ หวังให้ตนเองรอดพ้นไปได้

<i>'Brian Armstrong' ซีอีโอ Coinbase เข้าพบเจ้าหน้าที่รัฐฯ ณ กรุง Washington DC<br>รูปภาพ: Twitter/Brian Armstrong</i>
'Brian Armstrong' ซีอีโอ Coinbase เข้าพบเจ้าหน้าที่รัฐฯ ณ กรุง Washington DC
รูปภาพ: Twitter/Brian Armstrong

แต้มต่อเริ่มเอนสู่ฝั่ง ‘ไม่เป็นหลักทรัพย์’ ตอนนี้

แม้ว่า SEC จะพยายาม ‘ยัดเยียด’ ให้คริปโตเป็นหลักทรัพย์ก็ตาม แต่ก็ดูเหมือนว่าผลที่ได้จะตรงกันข้าม โดยพบว่าแม้แต่เจ้าหน้าที่รัฐหลายๆ คนก็เริ่มเอือมระอากับการกระทำของ SEC มีทั้งออกมาต่อว่า, ออกมาโจมตีการตัดสินใจ หรือแม้แต่ยื่นฟ้องเลยก็มี

อ่านข่าวต่อ - หมดความอดทน! ประธาน ก.ล.ต. สหรัฐฯ มองการ 'กวาดล้างบ.คริปโต' กำลังเริ่มต้นขึ้น

ที่ตลกคือ ล่าสุด ‘Gary Gensler’ ประธาน SEC ถูกถามจากสภาคองเกรสว่า “Ethereum เป็นหลักทรัพย์หรือไม่” แต่คำตอบของ Gensler กับอ้ำๆ อึ้งๆ เหมือนจะพยายามพูดบ่ายเบี่ยงไม่ตอบตรงคำถาม และแสดงความไม่มั่นใจอย่างเห็นได้ชัด

จนคณะกรรมการคองเกรสที่ถามถึงกับต้องต่อว่าตรงๆ รวมถึงถอนหายใจเฮือกใหญ่ใส่กลางสภา

<i>'Gary Gensler' ประธาน SEC ให้การกับสภาคองเกรส</i>
'Gary Gensler' ประธาน SEC ให้การกับสภาคองเกรส
<i>'Patrick McHenry' คณะกรรมการสภาฯ กล่าวต่อว่า Gary Gensler</i><br>
'Patrick McHenry' คณะกรรมการสภาฯ กล่าวต่อว่า Gary Gensler

อ่านข่าวต่อ - แกะบทสนทนา ปธ. SEC ล่กหนัก! หลังโดนคำถาม "Ethereum เป็นหลักทรัพย์หรือไม่"

ซึ่งการอ้ำๆ อึ้งๆ ของ Gensler ครั้งนี้ก็มีผลมาก เนื่องจากมันเกิดขึ้นในการประชุมที่เรียกว่า ‘​​Testifies Before Congress’ ที่สภาฯ จะเอาผู้เชี่ยวชาญหรือประธานหน่วยงานต่างๆ มาสอบถามในประเด็นที่ยังสงสัย เพื่อนำไปประกอบการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในอนาคต

และที่พีคที่สุดคือ มีคนไปขุดเจอวิดีโอของ Gary Gensler ที่เคยกล่าวชัดๆ เลยว่า ‘คริปโต’ ไม่เข้าข่ายเป็นหลักทรัพย์ ในคาบสอนนักศึกษา MIT เมื่อ 5 ปีก่อน

อ่านข่าวต่อ - เปิดวิดีโอ Gary Gensler ปธ. SEC ชี้เองว่า “คริปโตไม่ใช่หลักทรัพย์” เมื่อ 5 ปีก่อน

อย่างไรก็ตามประเด็นนี้ก็ยังไม่จบ สรุปแล้วก็ยังไม่ชัดเจนว่า ‘คริปโต’ เป็น ‘หลักทรัพย์’ หรือไม่ตามกฎหมายสหรัฐฯ แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่าขณะนี้แต้มต่อคงไปอยู่กับฝั่งตรงข้าม SEC อย่างเห็นได้ชัด จากสิ่งที่ SEC ก็ เอ่อ… ทำตัวเองทั้งนั้น 

ส่วนเราๆ ก็คงต้องมาจับตาดูกันต่อไปว่าประเด็นนี้จะจบยังไง สุดท้ายแล้วอุตสาหกรรมคริปโตจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น หรือแย่ลงกันแน่

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: การลงทุนมีความเสี่ยงสูง ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนการลงทุนทุกครั้ง

ข้อมูลในบทความนี้มีจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น Cryptosiam ไม่รับประกันความสมบูรณ์ ความถูกต้อง หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลดังกล่าว และไม่มีสิ่งใดในบทความนี้ที่ควรใช้เป็นคำแนะนำหรือชักชวน ให้ซื้อหรือขายคริปโต รวมทั้งการประเมินใดๆ ไม่มีข้อความใดในบทความที่ถือเป็นคำแนะนำทางกฎหมาย วิชาชีพ การลงทุน และ/หรือทางการเงิน และ/หรือคำนึงถึงความต้องการเฉพาะ และ/หรือข้อกำหนดของแต่ละบุคคล

Cryptosiam และบริษัทในเครือ ขอปฏิเสธความรับผิด หรือความรับผิดชอบทั้งหมดเกี่ยวกับเนื้อหาของบทความ และการดำเนินการใดๆ กับข้อมูลในบทความนั้น เป็นความเสี่ยงของผู้อ่าน และถือเป็นความเสี่ยงแต่เพียงผู้เดียว

ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

ก.ล.ต. ร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัล ส่งมอบข้อมูลกระดานเทรดที่ไม่ได้รับอนุญาต ให้พิจารณาปิดกั้นการเข้าถึง!
คาดการณ์ราคา Bitcoin หลังช่วง Halving! พร้อมเผยเป้าหมาย ที่เหรียญอาจทำราคาพุ่งไปถึง
98% ของธนาคารกลางทั่วโลก กำลังเตรียมใช้ CBDC
วาฬในเครือข่าย Solana ใช้เงินกว่า 4.9 ล้านดอลลาร์ ในการเข้าซื้อเหรียญมีม PUPS