ข่าวคริปโตเคอเรนซี่

ชาวคริปโตเชื่อ! Binance เป็นผู้วางหมากให้ FTX พัง เพื่อจะฮุบบริษัท

9

มหากาพย์ Binance และ กระดานเทรด FTX ยังคงดำเนินต่อไป ซึ่งผู้คนก็แอบสังเกตเห็นว่า Binance เป็นผู้วางหมากให้ FTX พัง เพื่อจะฮุบบริษัทซะอย่างงั้น!?

แม้ Binance บริษัทผู้ให้บริการแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ภายใต้การนำทัพของ Changpeng Zhao หรือ CZ จะได้ตกลงปลงใจซื้อกิจการของกระดานเทรดอย่าง FTX แล้ว...

แต่ทว่ามหากาพย์เรื่องนี้มันยังไม่จบง่าย ๆ

ทั้งนี้ เหล่านักลงทุนผู้คร่ำหวอดในวงการคริปโตที่หมั่นติดตามไทม์ไลน์เรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ได้สังเกตเห็นว่า Binance เป็นผู้วางหมากให้ FTX พัง เพื่อจะฮุบบริษัทเสียเอง!

Binance เป็นผู้วางหมากให้ FTX พัง เพื่อจะฮุบบริษัท

ผู้คริปโตใช้บน Twitter ได้เปรียบเทียบการเคลื่อนไหวของ CZ กับในกาเข้าซื้อกิจการ FTX ว่าเป็น "การวางหมาก" ชั้นดี ซึ่งชี้ให้เห็นว่า Binance เจตนาให้การซื้อขายในครั้งนี้เกิดขึ้น

เขาเป็นลูกผู้ชายจริงๆ -- ไชโย

ทั้งนี้ ผู้ใช้รายดังกล่าวปิดท้ายว่า “ไชโยให้แซมที่เลือกตัวเลือกที่ถูกต้องและสามารถปกป้องทรัพย์สินของลูกค้าได้ แม้จะต้องยอมกลืนความภาคภูมิใจของเขา และไม่เผาทุกสิ่งในการต่อสู้ที่ไม่จำเป็น — ออทิสติกแคปิตอล (@AutismCapital) 8 พฤศจิกายน 2565

หมากเกมนี้ ต่างจาก Musk หรือไม่?

เหล่าผู้ใช้คริปโตจำนวนมากได้มีการถกเถียงถึงประเด็นร้อนประเด็นนี้ และได้นำ ‘กลยุทธ์’ การเคลื่อนไหวในการซื้อกิจการของ Binance กับกรณีที่ Musk เข้าซื้อ Twitter มาเปรียบเทียบกัน ซึ่งความคิดเห็นมีดังนี้:

มักส์คงแอบบงง
มักส์คงแอบบงง

พิษที่ช้าอีกอย่างหนึ่งที่ @cz_binance นำมาใช้ เหมือนดั่งเช่น @elonmusk ใช้กับ Twitter เพื่อเข้าซื้อมันก็คือ... การผูกขาด และเราเกลียดมัน #FTX คือการแลกเปลี่ยนที่ดีที่สุด

ในการสรุปโดยย่อในทวีตเมื่อวันที่ 6 พ.ย. Zhao ประกาศการตัดสินใจขาย FTT ทิ้งทั้งหมด ซึ่งมันดันบังเอิญเกิดขึ้นหลังจาก “การเปิดเผยล่าสุดที่เปิดเผย” โดยอ้างเหตุว่าเป็น 'การจัดการความเสี่ยงออกจากระบบ'

ความเคลื่อนไหวล่าสุดของ FTX และ Binance

ในข้อความถึงเจ้าหน้าที่ส่วนกลางของ FTX เมื่อเช้านี้ Sam Bankman-Fried หรือ 'SBF' กล่าวว่ามีการถอนเงินสุทธิ 6 พันล้านดอลลาร์ออกจากแพลตฟอร์มในช่วง 72 ชั่วโมงที่ผ่านมา ซึ่งนั่นส่งผลให้แพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนต้อง "หยุดชั่วคราว" โดยเสริมว่าสถานการณ์จะได้รับการแก้ไขในอนาคตอันใกล้

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 8 พ.ย. ทั้ง SBF และ CZ ได้ประกาศ ‘ปิดดีล’ เข้าซื้อกิจการ โดยอ้างถึงการแก้ไข “วิกฤตสภาพคล่อง” เป็นสำคัญ ซึ่ง ณ ขณะนี้ ทางได้ประกาศทำ Due Diligence หรือ การสอบทานธุรกิจ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

Rectangle Template (95).png

อย่างไรก็ดี หากวิกฤตสภาพคล่องเป็นปัญหาหลักจริง ๆ นั่นก็จะสามารถตีความได้ว่า การเทขาย FTT ของ Binance ที่ทำให้ FTX ล้มละลายนั้น... <<ตรงส่วนนี้รบกวนตีความกันเองนะครับ

Due Diligence คืออะไร?

Due Diligence หรือ การสอบทานธุรกิจ คือ การตรวจสอบวิเคราะห์สถานะของบริษัทแบบทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็น

  • ประเมินผลทรัพย์สิน หนี้สิน
  • ประเมินมูลค่าธุรกิจ
  • ตรวจสอบมูลค่า ‘ที่แท้จริง’ ของบริษัท
  • ตรวจสอบการบัญชี
  • ตรวจสอบสัญญาที่มีต่อบุคคลภายนอก และกับพนักงานภายในองค์กรแบบครบถ้วน
  • ดูสถานะภาพโดยรวมของกิจการ

ทั้งนี้ การสอบทานธุรกิจก่อนเข้าซื้อกิจการนั้นก็เป็นไปเพื่อให้บริษัทที่จะลงทุนสามารถพิจารณาความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน และสามารถเปลี่ยนข้อตกลงได้อย่างทันท่วงทีนั่นเอง

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: การลงทุนมีความเสี่ยงสูง ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนการลงทุนทุกครั้ง

ข้อมูลในบทความนี้มีจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น Cryptosiam ไม่รับประกันความสมบูรณ์ ความถูกต้อง หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลดังกล่าว และไม่มีสิ่งใดในบทความนี้ที่ควรใช้เป็นคำแนะนำหรือชักชวน ให้ซื้อหรือขายคริปโต รวมทั้งการประเมินใดๆ ไม่มีข้อความใดในบทความที่ถือเป็นคำแนะนำทางกฎหมาย วิชาชีพ การลงทุน และ/หรือทางการเงิน และ/หรือคำนึงถึงความต้องการเฉพาะ และ/หรือข้อกำหนดของแต่ละบุคคล

Cryptosiam และบริษัทในเครือ ขอปฏิเสธความรับผิด หรือความรับผิดชอบทั้งหมดเกี่ยวกับเนื้อหาของบทความ และการดำเนินการใดๆ กับข้อมูลในบทความนั้น เป็นความเสี่ยงของผู้อ่าน และถือเป็นความเสี่ยงแต่เพียงผู้เดียว

บทความที่เกี่ยวข้อง

เหรียญคริปโตกลุ่ม AI และ Big Data พุ่งทะยาน 131% ท่ามกลางกระแสขาขึ้นของ Bitcoin
Bitcoin พลิกเกม! MicroStrategy กำไรพุ่งทะลุเพดาน แซงหน้า Apple, Amazon
Sky เปิดตัว USDS Stablecoin ตัวใหม่! บน Solana พร้อมอัดฉีดสภาพคล่องกว่า 5 แสนดอลลาร์
BlackRock Bitcoin ETF Options สร้างสถิติใหม่! มียอดซื้อขายวันแรกทะลุ 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์