Blockchain

นายกฯเมืองออสตินเล็งใช้ Web3 และคริปโตพัฒนาชีวิตผู้คน

32200980790 1e7be0ae2a K E1490728793594.jpg

นายเทศมนตรีเมืองออสตินเริ่มหาแนวทางในการปรับแก้นโยบายสินทรัพย์ดิจิทัลให้พร้อมสำหรับการนำ Web3 และคริปโตมาใช้พัฒนาชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น

Steve Adler นายกเทศมนตรีประจำออสติน เมืองหลวงที่เติบโตได้รวดเร็วที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในรัฐเท็กซัสได้ออกมายอมรับว่าเทคโนโลยี Blockchain และการชำระเงินด้วยคริปโตสามารถสร้างประโยชน์มากมายให้กับประชาชนในพื้นที่ได้จริง พร้อมกันนี้ เขาได้ตัดสินใจเสนอ 2 โปรเจกต์ใหม่ที่เล็งนำเทคโนโลยี Web3 และคริปโตมาใช้พัฒนาความเป็นอยู่ของชาวเมืองให้ดีขึ้น

https://twitter.com/MayorAdler/status/1502309575139155972?ref_src=twsrc%5Etfw%7Ctwcamp%5Etweetembed%7Ctwterm%5E1502309575139155972%7Ctwgr%5E%7Ctwcon%5Es1_&ref_url=https%3A%2F%2Fcointelegraph.com%2Fnews%2Faustin-mayor-embraces-web3-tech-and-crypto-payments

กลยุทธ์โปรโมทเทคโนโลยี Blockchain ใน 4 เมืองใหญ่

เทคโนโลยี Blockchain ได้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่อุตสาหกรรมหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งแน่นอนว่านวัตกรรมเหล่านี้ไม่ได้แค่เพียงช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ และทีมงานภายในองค์กรเท่านั้น แต่ยังช่วยยกระดับการให้บริการขึ้นไปอีกขัดได้ด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นนายกเทศมนตรี Adler จึงปิ๊งไอเดียเสนอโครงการใหม่ขึ้นมา โดยมีจุดประสงค์ในการสนับสนุนให้เมืองที่ใหญ่ที่สุดทั้ง 4 แห่งในรัฐเท็กซัสออกมาร่วมกันโปรโมทประโยชน์ของเทคโนโลยี Blockchain และส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียม, ความหลากหลาย, ความสามารถในการเข้าถึง และการผสานรวมกันจนเกิดเป็นระบบนิเวศทางเทคโลยีให้ได้ในที่สุด

City Manager รับบทเป็นผู้จัดการโปรเจกต์ใหม่

เพื่อให้ข้อเสนอการดำเนินการเหล่านี้ประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี นายก Adler จึงได้สั่งการให้ City Manager เป็นผู้ทำหน้าที่ดำเนินการสำรวจแนวทางในการนำ Blockchain และ Web3, โปรโตคอล และ แอปพลิเคชัน มาปรับใช้ในภาคส่วนต่าง ๆ กว่า 20 แห่งด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น Smart Contract, การจัดการกับห่วงโซ่อุปทาน และ การประกันภัย รวมไปถึงศิลปะ, สื่อ, การระดมทุน และการยืนยันตัวตน เป็นต้น พร้อมทั้งสำรวจสภาพแวดล้อมในหน่วยงานรัฐ และคอมมิวนิตีภายในพื้นที่ให้มีความพร้อมต่อการนำเทคโนโลยีใหม่ดังกล่าวไปใช้ด้วยเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้แล้ว City Manager ยังจำต้องศึกษาแนวทางที่จะช่วยส่งเสริมให้หน่วยงานรัฐยอมรับระบบชำระเงินด้วย Bitcoin (BTC) หรือ สกุลเงินดิจิทัลสกุลอื่น ๆ และนำมาใช้ร่วมกับบริการรับชำระภาษี, ค่าธรรมเนียม และค่าปรับต่าง ๆ

ทั้งนี้ข้อเสนอโปรเจกต์ดังกล่าวจะได้รับการลงคะแนนเสียงจากสภาประจำเมืองภายในวันที่ 24 มีนาคม ที่จะถึงนี้ โดยทางสภาจะอ้างอิงหลักในการประเมิณตามประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันตัวใหม่ว่าจะสามารถช่วยพัฒนาชีวิตประจำวันของชาวเมืองออสตินได้มากน้อยเพียงใด

หลายพื้นที่ในอเมริกาเริ่มหันมาใช้ Web3 และคริปโตมากขึ้น

ย้อนกลับไปเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา แนวคิดในการนำเทคโนโลยี Blockchain เข้ามาใช้พัฒนาวิถีชีวิตของประชาชนในเมืองออสตินนั้นเริ่มถูกพิจารณาครั้งแรกราวปี 2020 ก่อนที่ทางสภาจะตัดสินใจเสนอโครงการ MyPass ที่ได้นำ Smart Contract มาใช้ร่วมกับโปรโตคอลยืนยันตัวตนในชื่อ MyPass รวมไปถึง ในปัจจุบันหน่วยงานรัฐในเมืองออสตินยังได้ร่วมมือกับหน่วยงานจากไมอามี, กรุงนิวยอร์ก และรัฐโคโลราโดในการพยายามสำรวจ และปรับแก้นโยบายที่เกี่ยวข้องกับคริปโตเคอเรนซีตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ซึ่งจะเห็นได้จากผลงานการเปิดตัวโปรเจกต์นำร่อง CityCoin หรือ เหรียญดิจิทัลประจำเมืองไมอามี และนิวยอร์กซิตี้ ที่ดำเนินการบนเครือข่าย Blockchain Layer-1 ของ Stack

Philadelphia Is Teaming With Citycoins to Target Urgent Problems in the City.jpg

นอกเหนือจากนั้นแล้ว เมืองฟิลาเดลเฟีย ในรัฐเพนซิลเวเนียก็ได้ออกมาแสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมในโครงการ CityCoin เช่นเดียวกัน พร้อมกันนี้ Jared Polis รัฐมนตรีแห่งรัฐโคโลราโดได้ออกมาเผยผ่านการให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ระบุว่ารัฐได้ลงมติเห็นชอบให้นำคริปโตเข้ามาใช้ในการชำระภาษีได้ หลังจากที่เขาได้ออกมาคาดการณ์ว่าหน่วยงานรัฐจะเริ่มหันมายอมรับในตัวคริปโตเพื่อนำมาใช้ร่วมกับการให้บริการของหน่วยงานมากขึ้น

ปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มอัตราการยอมรับคริปโต

เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ข่าวคราวของนักลงทุนชื่อดังเริ่มเปลี่ยนใจหันมาถือครองคริปโตเพิ่มมากขึ้นหลายราย ไม่ว่าจะเป็น Thomas Peterffy มหาเศรษฐีชาวฮังการี, Ray Dalio มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้ง Bridgewater Association หรือ Kenneth C. Griffin มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้ง Citadel เป็นต้น แม้ว่าก่อนหน้านี้พวกเขาเองจะเคยออกมาต่อต้านสินทรัพย์ดิจิทัล เนื่องจากปัญหาในเรื่องของความผันผวน และความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ แต่ในท้ายที่สุดแล้ว หลังจากสภาพเศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มแย่ลง และสัญญาณของสภาวะเงินเฟ้อเริ่มก่อตัวเพิ่มขึ้นในทุกที มหาเศรษฐีเหล่านี้จึงตัดสินใจกลับลำ หันมาลงทุนคริปโตเพื่อกระจายความเสี่ยง และยังมองว่าสินทรัพย์ประเภทนี้สามารถให้ผลตอบแทนคืนกลับมาในมูลค่าที่ทึ่งอย่างมากเลยทีเดียว

Bitcoin King.jpeg

ยิ่งไปกว่านั้น การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่สร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจทั่วโลก กลับมีส่วนในการกระตุ้นให้ผู้คนหันมายอมรับในตัวสินทรัพย์คริปโตมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากอิทธิพลของบรรดามหาเศรษฐีทั่วโลกที่มมองเห็นสัญญาณอันตรายจากการลงทุนด้วยเงินสด และการเข้าแทรกแซงของทางธนาคารกลาง จึงส่งผลให้ผู้คนต่างตัดสินใจที่จะหันมาลงทุนคริปโตมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต

บทความที่เกี่ยวข้อง