General

อัตราการฆ่าตัวตายพุ่งสูงเป็นเหตุ รัฐเร่งสร้างทีมป้องกันการฆ่าตัวตายบนโลกโซเชียล

Photo 1594718153856 41a79679d114.jpg

กรมสุขภาพจิตจับมือกองปราบปราม พัฒนาทีมป้องกันการฆ่าตัวตายบนโลกโซเชียล หวังลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายและการทำร้ายคนใกล้ชิด

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เตรียมผนึกกำลังกับ กองปราบปราม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เดินหน้าศึกษาสัญญานการฆ่าตัวตายบนโลกโซเชียลและวางแผนจัดตั้งทีมเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือคนที่ส่งสัญญาณการฆ่าตัวตายบนโลกโซเชียล คาดว่าระบบจะสามารถใช้งานก่อนสิ้นปีนี้ เพื่อทำงานเชิงรุกรับมือปัญหาการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้นจากผลกระทบต่าง ๆ

วิกฤตนำมาซึ่งปัญหาด้านสุขภาพจิต

แม้ว่าในปัจจุบันสื่อโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ก จะมีกลไกป้องกันการถ่ายทอดภาพและวิดีโอที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการทำร้ายตัวเอง หรือการฆ่าตัวตายมากขึ้นแล้ว แต่ยังคงพบข้อความที่ส่งสัญญาณที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายอยู่ เช่น ข้อความสั่งเสีย ข้อความบอกลา ข้อความวางแผนการทำร้ายตัวเอง ซึ่งกลุ่มคนที่โพสต์ข้อความต่าง ๆ เหล่านี้คือกลุ่มคนที่ควรได้รับความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตอย่างเร่งด่วน แต่บางครั้งไม่สามารถติดต่อให้เข้าสู่ระบบบริการได้ หรือแม้แต่บางครั้งไม่สามารถหาข้อมูลหรือช่องทางติดต่อกลับไปยังบุคคลนั้นได้

Unnamed File 1 1024x683.jpg
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้เปิดเผยถึงสถานการณ์ปัญหาการฆ่าตัวตายที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจากช่วงที่ผ่านมา ซึ่งมีความน่ากังวลเป็นอย่างยิ่ง โดย 6 เดือนแรกของปี 2563 ที่เริ่มมีการระบาดของ COVID-19 มีคนไทยเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายคิดเป็น 2,551 ราย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับ 6 เดือนแรกของปีที่แล้ว ซึ่งมีจำนวนอยู่ที่ 2,092 ราย

การเพิ่มขึ้นในอัตรานี้มีความคล้ายคลึงกับการเพิ่มขึ้นในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อ 23 ปีก่อน ที่มีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20-30 ในช่วง 3 ปีหลังเกิดวิกฤต

เรื่องชีวิตและจิตใจถือเป็นวาระเร่งด่วน

การศึกษาและพัฒนาระบบการทำงานระหว่าง กรมสุขภาพจิตและกองปราบปรามในด้านการป้องกันการฆ่าตัวตายเชิงรุกในครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดมิติการทำงานรูปแบบใหม่ของงานด้านสุขภาพจิตของประเทศไทยในอนาคต เพื่อให้ช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทั่วถึงและทันท่วงที

Unnamed File 2 1024x576.jpg
พล.ต.ต. จิรภพ ภูริเดช ผู้บังคับการกองปราบปราม

พล.ต.ต. จิรภพ ภูริเดช ผู้บังคับการกองปราบปราม กล่าวว่า ทางกองปราบปรามได้ให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือบุคคลที่ส่งสัญญาณความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายและไลฟ์สดฆ่าตัวตายบนโลกออนไลน์เป็นอย่างมาก โดยในคราวนี้นอกจากกองปราบปรามจะจับมือกับกรมสุขภาพจิต ยังได้รับความร่วมมือจากกลุ่มผู้นำทางความคิด หรือ Online Influencer ชื่อดังบนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Drama-Addict, หมอแล็บแพนด้า, แหม่มโพธิ์ดำ เป็นต้น มาช่วยในการพิจารณาระบบการส่งต่อข้อมูลบุคคลที่ส่งสัญญาณความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายบนโลกโซเชียล เพื่อให้ทางกองปราบปรามเร่งประสานสถานีตำรวจในพื้นที่รับผิดชอบเข้าช่วยเหลือบุคคลดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที

ถึงแม้ขอบข่ายงานจะอยู่นอกเหนือคดีอาชญากรรมที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองปราบปราม แต่กองปราบปรามถือว่าการช่วยเหลือบุคคลที่ส่งสัญญาณความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายบนโลกโซเชียลเป็นหนึ่งในภารกิจที่สำคัญของหน่วย เพราะเรามองว่าความทุกข์ของพี่น้องประชาชนก็คือความทุกข์ของเรา อะไรที่เราสามารถเข้าไปช่วยให้พี่น้องประชาชนพ้นภัยหรือให้คลายทุกข์ลงได้บ้างเรายินดีทำเต็มที่

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

นักวิเคราะห์ดัง เตือน! ตลาดคริปโตอาจ ‘ปรับฐาน’ ในไตรมาสที่ 2
ปัจจุบันตลาดคริปโต กำลังขาดเงินทุน สำหรับการทำขาขึ้นรอบต่อไป
ในเกาหลีใต้ เริ่มใช้มาตรการโหด! ตรวจยึด สินทรัพย์ดิจิทัล ของผู้ค้างชำระภาษีกว่า 5,000 ราย