ข่าวต่างประเทศ

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับสกุลเงิน CBDC ของธนาคารกลาง

Cbdc 1000x600 1.jpg

จีนตั้งเป้าที่จะให้เงินหยวนดิจิทัลใช้งานได้ภายในปี 2022 เนื่องจากรัฐบาลตั้งใจที่จะแทนที่สกุลเงินจริงด้วยสกุลเงิน CBDC แต่มันต่างจากสกุลเงินดิจิทัลทั่วไปอย่างไรล่ะ วันนี้คริปโตสยามจะพาไปหาคำตอบกัน

ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารประชาชนแห่งประเทศจีนกำลังเป็นผู้นำในการสร้างสกุลเงินยูโรดิจิทัลของธนาคาร หรือสกุลเงิน CBDC โดยจีนตั้งเป้าที่จะให้เงินหยวนดิจิทัลใช้งานได้ภายในปี 2022 เนื่องจากรัฐบาลตั้งใจที่จะแทนที่สกุลเงินจริงด้วยสกุลเงินดิจิทัล แต่มันต่างจากสกุลเงินดิจิทัลทั่วไปอย่างไรล่ะ วันนี้คริปโตสยามจะพาไปหาคำตอบกัน

สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง หรือสกุลเงิน CBDC คืออะไร

สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) คือสกุลเงินที่จัดเก็บทางอิเล็กทรอนิกส์ และอยู่ในความรับผิดชอบของธนาคารกลางและสามารถใช้ชำระเงินได้ โดยพื้นฐานแล้วมันเป็นตัวแทนดิจิทัลของสกุลเงินปกติ (fiat currency) ที่ได้รับการหนุนหลังจากเงินสำรอง เช่น ทองคำ โดย CBDC นั้นออกและถูกควบคุมโดยผู้มีอำนาจทางการเงินของประเทศ

ในทางกลับกัน สกุลเงินดิจิทัลคือการแสดงมูลค่าทางดิจิทัลที่ไม่ได้ออกโดยธนาคารกลางหรือสถาบัน สกุลเงินดิจิทัล เช่น บิทคอยน์ สามารถใช้เป็นทางเลือกแทนสกุลเงิน fiat (เช่น ดอลลาร์สหรัฐ) แทนที่จะเข้าถึงได้จากธนาคาร สกุลเงินดิจิทัลอย่างบิทคอยน์ก็สามารถซื้อได้จากเว็บซื้อขายแลกเปลี่ยน เช่น Binance, eToro ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกซื้อ ถือ และแลกเปลี่ยนเงินลงทุนได้ เช่นเดียวกับตลาดทุนอื่น ๆ

อะไรคือความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง CBDC และสกุลเงินดิจิทัลทั่วไป?

อาจจะมีความใกล้เคียงกัน เนื่องจากทั้ง CBDC และสกุลเงินดิจิทัลทั่วไปเป็นรูปแบบของสกุลเงินดิจิทัลเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ทำให้ทั้งสองแตกต่างกันมากที่สุดคือวิธีการออก ซึ่ง CBDC ออกโดยหน่วยงานกลาง (เช่น โดยธนาคารกลาง) ในขณะที่ผู้ใช้สร้างสกุลเงินดิจิทัลทั่วไปผ่านระบบเพียร์ทูเพียร์

ตัวอย่างเช่น เงินยูโรดิจิทัลสามารถออกได้โดยธนาคารกลางยุโรปเท่านั้น เนื่องจากเป็นตัวแทนดิจิทัลของสกุลเงิน fiat ดังนั้นมูลค่าของมันจะคล้ายกับของเงินยูโร ขณะที่มูลค่าของสกุลเงินดิจิทัลทั่วไปถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาดและไม่ได้รับหนุนหลังจากนิติบุคคล

ความเป็นส่วนตัวและสิทธิ์ในการดูแลตนเอง

สกุลเงินดิจิทัลทั่วไปเป็นที่รู้จักกันดีในการให้อิสระแก่ผู้ใช้ในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินของตนอย่างเต็มที่ และช่วยให้สามารถทำธุรกรรมนอกพรมแดนได้ โดยไม่ต้องผ่านหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศ ซึ่งหมายความว่าข้อมูลสามารถแสดงเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้โดยไม่มีข้อจำกัดและข้อบังคับ

แนวคิดเรื่องสิทธิ์ในการดูแลตนเองและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล สกุลเงินดิจิทัลทั่วไปจะไม่ค่อยเคร่งมากขนาดนั้น แต่ CBDC นั้นมีธนาคารกลางและหน่วยงานด้านภาษีที่ต้องการข้อมูลผู้ใช้ และบังคับใช้บทบัญญัติการต่อต้านการฟอกเงินท่ามกลางกฎระเบียบอื่น ๆ

ถึงอย่างนั้น CBDC ก็ตั้งเป้าที่จะอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยของสกุลเงินดิจิทัลด้วยเงินสำรอง
ที่ได้รับการควบคุมของระบบธนาคารแบบดั้งเดิม

เป็นที่น่าสังเกตว่าความต้องการความเป็นส่วนตัว ไม่ได้หมายความรวมถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางอาญา พลเมืองที่ปฏิบัติตามกฎหมายยังแสวงหาความเป็นส่วนตัว เพื่อให้พวกเขาปลอดภัยจากภัยคุกคามที่เป็นอันตราย

ความปลอดภัย

สกุลเงินดิจิทัลทั่วไป การรักษาความปลอดภัยถือว่าอยู่ในระดับแนวหน้า เพราะเคยผ่านเหตุการณ์จากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่สำคัญมาแล้ว เช่น การโจมตีในบล็อกเชน แต่คริปโตก็มีการขยายตัวที่น่าประทับใจอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และการถูกโจมตีนั้นช่วยแสดงให้เห็นว่าบล็อกเชนได้รับการทดสอบการต่อสู้มาอย่างไรบ้าง

ในทางกลับกัน CBDC มีความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีที่กว้างกว่า เนื่องจากไม่เคยพบกับ
เหตุการณ์จากภัยคุกคาม เช่น ความผิดพลาดของเทคโนโลยีปฏิบัติการ หรือความล้มเหลวด้านความปลอดภัยในการแลกเปลี่ยน ธนาคารกลางยังคงพยายามปกป้องสกุลเงินกระดาษในปัจจุบัน ซึ่งมีมานานหลายศตวรรษ เพราะแฮ็กเกอร์พยายามจะหาจุดผิดพลาดทางการเงินซ้ำแล้วซ้ำเล่าภายในธนาคารกลาง เพื่อให้ส่งผลกระทบมหาศาลตามมา

เป้าหมายที่แตกต่างกัน

เมื่อบิทคอยน์ถูกสร้างขึ้นในปี 2008 เพื่อตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ทางการเงิน ทำให้ผู้บริโภคสามารถหลีกหนีจากระบบธนาคารแบบเดิม ๆ และป้องกันการสูญเสียอำนาจการใช้จ่ายเป็นเงินสด อันเนื่องมาจากภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งให้ผู้ใช้หลีกเลี่ยงการควบคุมแบบเดิมจากธนาคารกลาง โดยเสนอเป็นรูปแบบเงินดิจิทัลที่กระจายอำนาจได้

ในขณะที่ CBDC นั้นส่วนใหญ่จะตรงกันข้ามกับที่กล่าวไปข้างต้น โดยพยายามผูกขาดของระบบธนาคารทั่วโลก แทนที่จะทำให้ระบบการเงินเป็นประชาธิปไตย

ความคล้ายคลึงกันอย่างน้อยหนึ่งอย่างระหว่างสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางและสกุลเงินดิจิทัลทั่วไป คือสกุลเงินดิจิตอลนั้นเติบโตบนเทคโนโลยีบล็อคเชน เช่นเดียวกันกับ CBDC โดยหวังที่จะใช้เทคโนโลยีบล็อคเชนเพื่อสร้างวิธีการชำระเงินแบบใหม่ที่ง่ายกว่าและคุ้มค่ากว่า

ทั้งสองสามารถทำงานร่วมกันได้ไหม?

เนื่องจากความแตกต่างของ CBDC และสกุลเงินดิจิทัลทั่วไป จึงทำให้มีการแข่งขันกันมากกว่าที่จะทำงานร่วมกัน เพราะฝ่ายหนึ่งเสนอรูปแบบการแลกเปลี่ยนเงินตราที่ปลอดภัยแต่เป็นแบบรวมศูนย์ ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งแสวงหาแนวทางในระบบการเงินที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ CBDC นั้นถูกสร้างจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดคริปโต ธนาคารกลางต่างคาดการณ์ถึงภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นกับบิทคอยน์ ซึ่งดูเหมือนว่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อสถาบันการเงินและบริษัทต่าง ๆ เริ่มเข้าสู่อุตสาหกรรมคริปโตมากขึ้น ควบคู่ไปกับการยอมรับกระแสหลักอื่น ๆ ในเทคโนโลยีขนาดใหญ่

อนาคตของระบบการเงิน ไม่ว่าจะเป็นแบบรวมศูนย์หรือแบบกระจายอำนาจ ก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าผู้ใช้นั้นให้คุณค่ากับอะไรและต้องการสิ่งใด ขณะนี้เราอยู่ในยุคการเงินแบบใหม่และหวังว่าข้อมูลนี้จะช่วยให้คุณรู้จักกับสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารและสกุลเงินดิจิทัลทั่วไปได้

Screenshot 2022 03 31 at 15.23.41 1024x480.png
ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
แท็ก:
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

รายงาน ก.ล.ต. สรุปภาพรวมบัญชีซื้อขายที่ Active ในช่วงต้นเดือน 'เมษายน' ปี 2567
พบผู้ถือ Memecoin เกินกว่าครึ่ง ไม่ได้รับผลกระทบ จากการปรับตัวของตลาด
ซีอีโอ Crypto.com ชี้! Bitcoin กำลังอยู่ในจุดเริ่มต้น ของการเข้าสู่ช่วงขาขึ้น
 วาฬหน้าใหม่ ครอบครอง Bitcoin รวมกันไปแล้วถึง 1.8 ล้าน BTC