สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ การปรับปรุงแนวทางการกํากับดูแล “โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ที่มีลักษณะพร้อมใช้” (utility token พร้อมใช้) หวังแทนที่กฎหมายเก่าปี 2561 ที่ไม่สอดคล้องกับยุคสมัยปัจจุบัน
Utility Token พร้อมใช้ คืออะไร?
ตามกฎหมายของประเทศไทย Utility Token มี 2 ประเภท คือ ‘Utility Token พร้อมใช้’ และ ‘Utility Token ไม่พร้อมใช้’ สิ่งที่แตกต่างกันก็ตามชื่อของมันเลยก็คือความพร้อมในการใช้งานนั่นเอง
สำหรับ ‘Utility Token พร้อมใช้’ คือโทเคนที่เปิดตัวออกมาแล้วสามารถใช้งานได้ในทันที ไม่ว่าจะเป็นการใช้แลกสิทธิ์หรือบริการต่างๆ ไม่จำเป็นต้องรอวันเปิดใช้สิทธิ์ในอนาคต ตัวอย่างเช่น BNK Governance Token เป็นต้น
ตรงกันข้าม ‘Utility Token ไม่พร้อมใช้’ คือโทเคนที่ผู้ถือต้องรอวันเปิดใช้สิทธิ์ และจะยังไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ในทันทีหลังจากเปิดตัวโทเคนออกมา ทั้งนี้ยังไม่มีตัวอย่างการใช้งานที่ชัดเจนสำหรับโทเคนประเภทนี้เกิดขึ้นในไทย

หวังแทนกฎหมายเก่า พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ปี 61
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหลังจาก ‘พระราชกําหนด การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561’ (พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ) ได้เปิดตัวมาแล้วกว่า 4 ปี แนวโน้มของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทยและทั่วโลกได้เปลี่ยนไปอย่างมาก และข้อกฎหมายเดิมนั้นอาจจะไม่สอดคล้องกับยุคสมัยปัจจุบันแล้ว โดยเฉพาะกับเทคโนโลยีใหม่อย่างบล็อกเชน
ประกอบกับภาคเอกชนหลายราย ให้ความสนใจเสนอขาย “utility token พร้อมใช้” เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการอํานวยความสะดวกให้กับ ผู้บริโภค รวมทั้งมีการใช้เพื่อการลงทุนและเก็งกําไร เมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทาง ก.ล.ต. จึงได้เคยหารือกับสมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์, ดิจิทัลไทย สมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในรูปแบบ focus group ไปแล้ว
ในครั้งนี้จึงเป็นคิวของประชาชน ที่ทาง ก.ล.ต. ต้องการรับฟังความคิดเห็นสำหรับปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งทาง ก.ล.ต. ก็ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นแล้วตั้งแต่วันนี้ ไปจนถึงวันที่ 29 มิถุนายน 2665
สำหรับผู้ที่ต้องการจะร่วมแสดงความคิดเห็น สามารถแสดงความคิดเห็นและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ท่ีเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต. โดยตรง