แก๊งแฮ็กเกอร์สุดฉาวโดนริบคริปโตมูลค่ากว่า 1.3 ล้าน USD
Europol และหน่วยงานปราบปรามอาชญากรรมระหว่างประเทศจำนวนมากร่วมบุกทลายรังแก๊งแฮ็กเกอร์สุดฉาวที่ส่ง Ransomware ไปเรียกค่าไถ่มานับครั้งไม่ถ้วน พร้อมทำการยึดทรัพย์สินมูลค่ามหาศาลเอาไว้ได้
Europol และหน่วยงานปราบปรามอาชญากรรมระหว่างประเทศจำนวนมากร่วมบุกทลายรังแก๊งแฮ็กเกอร์สุดฉาวที่ส่ง Ransomware ไปเรียกค่าไถ่มานับครั้งไม่ถ้วน พร้อมทำการยึดทรัพย์สินมูลค่ามหาศาลเอาไว้ได้
หน่วยงานสหภาพยุโรปเพื่อความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมาย หรือ Europol ซึ่งมีหน้าที่หลักในการสืบราชการลับทางอาญา ปราบองค์กรอาชญากรรม และ การก่อการร้ายระหว่างประเทศ ได้จับมือกับ กองทหารรักษาการณ์แห่งชาติฝรั่งเศส, สำนักงานตำรวจแห่งชาติยูเครน, สำนักงานสืบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (FBI) และ INTERPOL Cyber Fusion Centre เข้าทลายรังของแก็งแฮ็กเกอร์สุดฉาวที่กบดานอยู่ในยูเครน และสามารถจับกุมสมาชิกแก๊งสองคน พร้อมยึดทรัพย์สินจำนวนมากเอาไว้ได้
แก๊งแฮ็กเกอร์ที่จู่โจมนับครั้งไม่ถ้วน
กลุ่มผู้ก่ออาชญากรรมที่ถูกจับคุมนั้นเป็นผู้ต้องสงสัยหลักในการโจมตีกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จำนวนมากในยุโรป และอเมริกาเหนือ โดยอาชญากรเหล่านี้จะใช้ Ransomware ในการจู่โจมเป็นหลักเพื่อเรียกค่าไถ และทำเงินเป็นจำนวนมหาศาลนั่นเอง
ทั้งนี้ทาง Europol ได้เผยข้อมูลว่าอาชญากรทั้งคู่ที่ถูกจับกุมนั้นเป็นที่รู้จักจากการเรียกค่าไถ่ในลักษณะขู่กรรโชก ซึ่งทำเงินให้พวกเขาตั้งแต่ 5 ถึง 70 ล้านยูโร เลยทีเดียว โดยการร่วมมือกันทลายรังในครั้งนี้สามารถนำไปสู่การยึดเงินสดมูลค่า 375,000 ดอลลาร์ การยึดรถหรูสองคันมูลค่า 217,000 ยูโร และการยึดคริปโตเคอเรนซีมูลค่า 1.3 ล้านดอลลาร์
ในรายงานของ Europol ให้รายละเอียดของการจับกุมครั้งดังกล่าวโดยอธิบายว่า
“กลุ่มอาชญากรเหล่านี้เป็นผู้ต้องสงสัยว่าได้ทำการโจมตีกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จำนวนมากในยุโรป และอเมริกาเหนือตั้งแต่เดือนเมษายน 2020 เป็นต้นมา ทั้งนี้อาชญากรจะติดตั้งมัลแวร์ และขโมยข้อมูลที่ละเอียดอ่อนจากบริษัทเหล่านี้ก่อนที่จะเข้ารหัสไฟล์ของพวกเขา”
“จากนั้นพวกเขาจะดำเนินการเสนอคีย์ถอดรหัสเพื่อแลกกับค่าไถ่หลายล้านยูโร ทั้งยังขู่ว่าข้อมูลที่พวกเขาขโมยไปจะรั่วไหล และขายทอดตลาดบนเว็บมืดหากทางเหยื่อของพวกเขาไม่ตอบรับการเรียกค่าไถ่”
อันตรายของโลกดิจิทัล
การโจมตีด้วย Ransomware และเรียกร้องค่าไถ่ในรูปแบบสกุลเงินดิจิทัลไม่ใช่เรื่องแปลกในเศรษฐกิจดิจิทัลขั้นสูงในปัจจุบัน เนื่องจากมันจะสามารถปกปิดตัวตนของเหล่าคนร้ายได้เป็นอย่างดี แถมการเคลื่อนย้ายเงินก็ทำได้โดยง่ายอีกด้วย ทั้งนี้เหตุผลข้างต้น บวกกับสภาวะเศรษฐกิจอันฝืดเคืองก็ได้ทำให้ตัวเลขการโจมตี Ransomware นั้นก็ได้เพิ่มขึ้นสูงอย่างมากในปีที่ผ่านมา
แต่ถึงแม้เรื่องนี้จะซับซ้อนมากเพียงใด เหล่าเจ้าหน้าที่ของ Europol และนานาประเทศก็ไม่ได้ยอมแพ้ในการต่อสู้กับผู้ไม่หวังดีเหล่านี้แม้แต่น้อย ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันในการรับมือเหล่าผู้ไม่หวังดีเหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่น ทางสหรัฐอเมริกา นั้นเล็งเห็นว่าการคล้อยตามเหล่าแฮ็กเกอร์ และยอมจ่ายค่าไถ่เป็นการทำให้เหล่าผู้โจมตีได้ใจ และได้ห้ามการกระทำดังกล่าวตั้งแต่นั้น ในทางกลับกันทาง Europol ก็ได้คิดค้นโปรแกรมต่อต้านแรนซัมแวร์ที่สามารถช่วยให้องค์กรที่มีความเสี่ยงสามารถป้องกันการโจมตีได้