ข่าวธุรกิจ

Rakuten เปิดตัวตลาด NFT หลังทนกระแสนิยมไม่ไหว

Rakutennft.png

บริษัท e-commerce ชื่อดัง Rakuten เปิดตัวตลาด NFT พร้อมเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมคริปโตแล้ว หลังจากกระแสความนิยมในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

ความนิยมในตัวสินทรัพย์ NFT เมื่อปี 2021 นั้นเพิ่มขึ้นมหาศาล และยังคงดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ ในช่วงต้นปี 2022 ได้ทำให้ บริษัทชื่อดังจากแดนปลาดิบ Rakuten เปิดตัวตลาด NFT ของตนเองภายใต้ชื่อ Rakuten NFT ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

Rakuten เปิดตัวตลาด NFT ที่ช่วยให้ศิลปินสร้างเว็บไซต์ของตนเองได้

บริษัท e-commerce ชื่อดังได้ออกมาเปิดเผยถึงแผนการเปิดตัวตลาดซื้อขาย Non-Fungible Token (NFT) ของตนเองที่ได้รับการจดทะเบียนเมื่อปี 2021 ท่ามกลางความนิยมในตัว NFT จากผู้คนทั่วโลกที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตลาด NFT แห่งใหม่นี้ยังเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มที่อนุญาตให้เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาสร้างเว็บไซต์ของตนเองเพื่อผลิต และขายผลงาน NFT ของพวกเขาได้

องค์กรรายใหญ่ให้ความสนใจ และลงทุนในตลาด NFT มากขึ้นในญี่ปุ่น

ด้วยจำนวนประชากรชาวญี่ปุ่นที่มีมากกว่า 126 ล้านคน และวัฒนาธรรม Pop Culture ที่มีชื่อเสียงจากอนิเมะ และมังงะ ทำให้ผู้คนจำนวนมากต่างมองว่าญี่ปุ่นมีความสามารถในการกระตุ้นให้เกิดการยอมรับสินทรัพย์ที่มีความเกี่ยวข้องกับ Blockchain เช่น ของสะสมคริปโตได้ง่ายดายกว่าประเทศอื่น ๆ จึงส่งผลให้ในปี 2021 ตลาด NFT ทั่วโลกได้รับการพัฒนาอย่างมาก หลังจากปริมาณการซื้อขาย และการยอมรับจากผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดจากหลายภาคส่วนได้เริ่มหันมาให้ความสนใจ และเข้าลงทุนกับ NFT กันอย่างเนืองแน่น

Enjinn 1024x576.png

ทั้งนี้มูลค่าของตลาด NFT นั้นยังคงพุ่งทะยานขึ้นอย่างไม่ลดละ จึงส่งผลให้กระแสความนิยมในตัวนวัตกรรมเหล่านี้นั้นเติบโตตามไปด้วย โดยในเดือนมีนาคม ปีที่ผ่านมา Coincheck แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโตในญี่ปุ่นก็ได้ออกมาเปิดตัวตลาด NFT เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ในเดือนกรกฎาคม Mai Fujimoto ผู้ที่ศรัทธาในสกุลเงินดิจิทัล หรือที่รู้จักกันในชื่อ Miss Bitcoin ได้ร่วมมือกับบริษัทผู้พัฒนาเกม Blockchain ชื่อดังอย่าง Enjin เพื่อสร้างองค์กรเพื่อการกุศลจาก NFT ขึ้นในญี่ปุ่นอีกด้วย

ผลสำรวจเผยวัยรุ่นญี่ปุ่นให้ความสนใจกับ NFT กันอย่างล้นหลาม

BitBank บริษัทแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลรายใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นได้ทำการสำรวจผู้ใช้งานสกุลเงินดิจิทัลในตลาดคริปโตญี่ปุ่นจำนวนกว่า 2,061 รายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ในช่วงระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม ไปจนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน ปีที่ผ่านมาถึงแนวโน้มการลงทุน NFT ในตลาดคริปโต ซึ่งพบว่ากลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีอายุระหว่าง 20 ถึง 40 ปี มีจำนวนมากกว่ากลุ่มผู้ใหญ่ชาวญี่ปุ่นมาก โดยผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนกว่า 60% คิดว่าจะถือครองสินทรัพย์ประเภทนี้ในระยะยาว นอกจากนี้ยังพบกว่าอีกกว่า 19% ได้ใช้ NFT เพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองอีกด้วย

ทั้งนี้ข้อมูลข้างต้นได้บ่งชี้เพิ่มเติมว่า NFT ประเภทที่ถูกสร้างขึ้นมาจากผลงานศิลปะนั้นได้กลายเป็นสินทรัพย์ที่ชาวญี่ปุ่นให้ความสนใจมากที่สุด โดย NFT ประเภทอื่นที่ได้รับความนิยมมากรองลงมา ได้แก่ เกม, Metaverse, ความบันเทิง และ กีฬา เป็นต้น

ไม่ใช่แค่เพียง NFT แต่ตลาดคริปโตก็เติบโตมากขึ้นไม่แพ้กัน

ในช่วงต้นปีที่ผ่านมานี้ เราเริ่มจะได้เห็นการลงทุนคริปโตที่เกิดขึ้นอย่างมากในแดนปลาดิบไม่แพ้ความนิยมในตัวสินทรัพย์ NFT เลยแม้แต่น้อย แน่นอนว่าผู้ให้บริการแอปพลิเคชันส่งข้อความชื่อดังอย่าง LINE เองก็ได้ออกมาประกาศเปิดให้ใช้งานโทเคนประจำองค์กรเพื่อเป็นการทดลงใช้งานจากสถานที่จริง โดยมีเป้าหมายที่จะอำนวยความสะดวก และเพิ่มทางเลือกในการชำระเงินให้กับลูกค้า นอกจากนี้ทางด้านแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโตชื่อดังอย่าง FTX ก็ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการ Liquid Group ในญี่ปุ่น และบริษัทในเครือ เพื่อให้บริการแก่ลูกค้ารายย่อย และนักลงทุนจากสถาบันทั้งในประเทศ และทั่วโลก

ชาวญี่ปุ่นขึ้นแท่นชาติที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับคริปโตมากที่สุด

Finderr.png

จากผลสำรวจของ Finder เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ปี 2021 ที่ผ่านมา ได้ทำการสำรวจ และวิเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับ NFT ของผู้คนในแต่ละประเทศ ซึ่งบ่งชี้ว่าญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศที่ผู้คนขาดความรู้ว่า NFT คืออะไรมากที่สุดเป็นอันดับ 1 อยู่ที่ 90% ตามมาด้วยชาวเยอรมัน 82.6%, อังกฤษ 79% และอาร์เจนตินาที่ 75.5% ตามลำดับ ในขณะที่ชาวไทยของเรานั้นพบจำนวนผู้ที่ขาดความรู้ในด้านดังกล่าวที่ 52.7% ตามหลังเพียงแค่ไนจีเรีย และ ฟิลิปปินส์เท่านั้น

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

ค่าไฟของเมืองในนอร์เวย์พุ่ง 20% หลังมีการรณรงค์ให้ปิดเหมืองขุด Bitcoin เนื่องจากเสียงรบกวน
2 Launchpad ใหม่ที่กำลังจะมาถึง การปล่อยตัว Cz ในสหรัฐฯ และความเชื่อมั่นของตลาดอาจผลักดัน BNB ขึ้นสู่ $600
Ham's Rectangle Template (77)
Ham's Rectangle Template (71)