เทคโนโลยี

'LassPass' พาสเวิร์ดเมเนเจอร์ดัง ถูก Hack ขโมยพาสเวิร์ด - หรือสุดท้าย Web3 จะเป็นทางออก?

Rectangle Template (59)

แม้แต่ LassPass ผู้ให้บริการ Password manager ชื่อดังยังถูก Hack เอาพาสเวิร์ดลูกค้าไปได้! จนเกิดคำถาม หรือสุดท้ายแล้ว Web3 จะเป็นคำตอบ?

หลังจากที่ ‘LassPass’ ผู้ให้บริการ Password manager ชื่อดังประกาศว่าตนถูกแฮกเกอร์โจมตีพร้อมขโมยข้อภายในบริษัทไปในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้ใช้อย่างหนัก

อย่างไรก็ตามในวันที่ 22 ธันวาคมที่ผ่านมาบริษัทก็อัปเดตกรณีดังกล่าวอีกครั้ง หลังพบว่าข้อมูลส่วนตัวรวมไปถึง ‘Password’ ของลูกค้าที่ถูกเข้ารหัสไว้ก็ถูกขโมยไปด้วยเช่นกัน

โดยผลที่ตามมาก็คือข้อมูลที่ไม่ได้ถูกเข้ารหัสไว้ อาทิ ชื่อ, ที่อยู่, สถานที่ทำงาน, อีเมล, เบอร์โทร และ IP Address ของลูกค้าก็ถูกขโมยไปด้วยซึ่งเป็นข้อมูลที่สามารถใช้งานได้ทันที เนื่องจากไม่ได้ถูกเข้ารหัสไว้

อย่างไรก็ตามข้อมูลที่เข้ารหัสไว้ก็ถูกขโมยไปเช่นกัน ซึ่งก็รวมไปถึงที่ทุกคนกลัวกันอย่าง ‘Password’ ของเว็บไซต์ต่างๆ แต่ยังโชคดีที่สหัสผ่านดังกล่าวยังถูกเข้ารหัสไว้ และ Password หลักที่เอาไว้ถอดรหัสก็ยังคงอยู่กับตัวผู้ใช้เอง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นที่น่ากังวลอยู่ดีที่ผู้ให้บริการ Password manager แถวหน้าของโลกยังถูกโจมตีและขโมยข้อมูลส่วนตัวลูกค้าไปได้

ข้อมูลเข้ารหัสของเรายังคงปลอดภัยด้วยการเข้ารหัสแบบ 256-bit AES และจะสามารถถอดรหัสได้จาก Master password ของผู้ใช้เท่านั้นจากสถาปัตยกรรมแบบ Zero Knowledge ของเรา และ Master password ก็ถูกเก็บไว้กับผู้ใช้เองเท่านั้น ซึ่งไม่ได้ถูกเก็บไว้กับ LassPass

LassPass ระบุในประกาศ

Web3 จะช่วยแก้ปัญหาของ LassPass หรือไม่?

แน่นอนว่า LassPass ก็คือบริการหนึ่งที่ถูกจัดอยู่ในประเภท ‘Web2’ ที่เป็นการใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วไป ไม่ได้มีการเกี่ยวข้องกับคริปโตหรือบล็อกเชนใดๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง - วอลเล็ตคริปโต (Crypto Wallet) และ Web 3 คืออะไร?

และการใช้ Username และ Password ก็เป็นมาตรการด้านความปลอดภัยสุดคลาสสิคที่ถูกใช้กันมายาวนานกว่าหลายทศวรรษ พร้อมกับช่องโหว่มากมายที่ทำให้ใครที่ไม่ระมัดระวังพอถูกแฮกกันมาตลอด

แต่ไม่ใช่กับ Web3 ที่ระบบมาตรการด้านความปลอดภัยมารตฐานกลับเป็น ‘Private key’ หรือ ‘Seed phase’ ที่ไม่ได้เป็นการเก็บพาสเวิร์ดไว้ในเซิร์ฟเวอร์ใด อย่างเว็บไซต์ทั่วๆ ไปหรือแม้แต่ผู้ให้บริการจัดการพาสเวิร์ดอย่าง LassPass แต่ใช้การเข้ารหัสผ่านบล็อกเชนแทนโดยการใช้ Private key กับ Public Key แทน ซึ่งไม่ได้ถูกจัดเก็บไว้ในที่ใดๆ ดังนั้นจะปลอดภัยหรือไม่ก็อยู่ที่ตัวผู้ใช้เอง ไม่ได้อยู่กับผู้ให้บริการ

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
แท็ก:
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

รายงาน ก.ล.ต. สรุปภาพรวมบัญชีซื้อขายที่ Active ในช่วงต้นเดือน 'เมษายน' ปี 2567
ซีอีโอ Crypto.com ชี้! Bitcoin กำลังอยู่ในจุดเริ่มต้น ของการเข้าสู่ช่วงขาขึ้น
พบผู้ถือ Memecoin เกินกว่าครึ่ง ไม่ได้รับผลกระทบ จากการปรับตัวของตลาด
 วาฬหน้าใหม่ ครอบครอง Bitcoin รวมกันไปแล้วถึง 1.8 ล้าน BTC