กฎหมาย และประกาศ

ญี่ปุ่นเร่งกลุ่ม G7 กำหนดกรอบกฎหมายคริปโต

Shutterstock 1192983841.jpg

หลังเดินหน้าทดสอบศักยภาพ CBDC ในเฟส 2 ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ธนาคารกลางญี่ปุ่นเร่งกลุ่ม G7 กำหนดกรอบกฎหมายคริปโตเพื่อหาข้อสรุปที่เหมาะสม

เจ้าหน้าที่อาวุโสประจำธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นเร่งกลุ่ม G7 หรือ ฟอรัมทางการเมืองระหว่างรัฐบาลประเทศแคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ให้กำหนดกรอบการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลร่วมกันให้ได้โดยเร็วที่สุด หลังจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย และยูเครนยังคงไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลงง่าย ๆ ส่งผลทำให้ทางญี่ปุ่นจำเป็นต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่คริปโตเคอเรนซีจะถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจให้มากขึ้นกว่าเดิม

สาเหตุที่ทำให้ญี่ปุ่นเร่งกลุ่ม G7 กำหนดกรอบกฎหมายคริปโต

Kazushige Kamiyama หัวหน้าระบบการชำระเงินแห่ง BOJ ได้ออกมาเปิดเผยกับทาง Reuters ว่า การนำ Stablecoin มาใช้นั้นทำให้การสร้างระบบการชำระเงินให้แก่ผู้คนทั่วโลกนั้นทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ต้องการจะนำสินทรัพย์ประเภทดังกล่าวมาเป็นเครื่องมือหลีกเลี่ยงระบบชำระเงินในรูปแบบเดิม และระบบที่ถูกกำกับดูแลที่ยังคงใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ, ยูโร หรือ เยน ในการชำระเงินอีกด้วย

นอกจากนี้ Kamiyama ยังได้กล่าวเสริมว่า การตระหนักรู้ถึงความเร่งด่วน (Sense of Urgency) นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก ซึ่งหากกลุ่มประเทศ G7 ร่วมกันหารือด้านกฎหมายคริปโต และสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพได้ ก็อาจจะช่วยทำให้สถานการณ์ต่าง ๆ ดีขึ้นกว่าปัจจุบันได้ เนื่องจาก ปัจจุบัน ยังคงไม่มีหน่วยงานจากประเทศใด เริ่มทำการพิจารณาถึงอัตราการยอมรับที่เติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และแพร่กระจายออกไปในวงกว้างทั่วโลกอย่างแท้จริง

ผู้ว่าธนาคารกลางเล็งกำหนดบทบาทธนาคารให้สอดคล้องกับชีวิตพลเมือง

Abad3356 9cd3 11e2 Ba3c 00144feabdc0 1024x576.jpg

ทางด้าน Haruhiko Kuroda ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นก็ได้ออกมาแถลงการณ์ผ่านที่ประชุม Japan’s FIN/SUM fintech summit เมื่อวันอังคารที่ 29 มีนาคม ที่ผ่านมา ระบุว่าธนาคารยังไม่ได้เตรียมที่จะเปิดตัว CBDC ในเร็ว ๆ นี้ พร้อมชี้แจงถึงแผนการพิจารณากำหนดบทบาทของธนาคารกลางให้สอดคล้องกับชีวิตของพลเมืองในประเทศอย่างรอบคอบ

“ธนาคารกลางมองว่าการดำเนินการดังกล่าวนั้นจำเป็นตะต้องมีการเตรียมการที่ละเอียดรอบคอบเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าภาพรวมของระบบชำระเงินเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพ และประสิทธิภาพ”

คำแถลงการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเพียง 4 วันหลังจากทางธนาคารแห่งญี่ปุ่นประกาศเดินหน้าลุยทดสอบศักยภาพ CBDC ในขั้นตอนต่อไป ซึ่งในเฟสที่ 2 นั้นได้เริ่มดำเนินการไปแล้วในเดือนนี้ จึงทำให้ทางหน่วยงานเร่งให้มีการหารือร่วมกันระหว่างกลุ่มประเทศ G7 เพื่อหาทางออกให้กับกฎหมายคริปโตโดยเร็วที่สุด

CBDC ญี่ปุ่นมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นการหารือในครั้งนี้อย่างไร?

การร่วมหารือถึงกำหนดกรอบการกำกับดูแลกฎหมายเหล่านี้ยิ่งกินเวลานานมากเท่าไร ก็จะยิ่งจะส่งผลกับกระบวนการออกแบบสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่น (CBDC) หรือ เยนดิจิทัลอย่างมากเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทางรัฐบาลจำเป็นจะต้องสร้างสมดุลระหว่างการรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานแต่ละราย ร่วมไปกับการระมัดระวังการก่อคดีฟอกเงิน และอาชญากรในคราบเจ้าหน้าที่รัฐ (White-collar Crime) ไปพร้อม ๆ กัน

Yen Afp 1024x654.jpg

นอกจากนี้ ผู้ว่าธนาคารกลางยังได้ระบุว่า การผลิตเยนดิจิทัลอาจเกิดขึ้นได้ภายในปี 2026 ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะเป็นตัวช่วยเร่งให้เหรียญดังกล่าวเปิดตัวได้อย่างรวดเร็วนั้นขึ้นอยู่กับอัตราการยอมรับ CBDC จากผู้คนทั่วโลกนั่นเอง

ญี่ปุ่นเริ่มจำกัดการเข้าถึงคริปโตของรัสเซีย

จากความกังวลจากหลากหลายประเทศที่มีต่อการหลีกหนีมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของสหพันธรัฐรัสเซีย ได้ส่งผลให้หน่วยงานบริการทางด้านการเงินกับสมาคมหลักทรัพย์คริปโตและสินทรัพย์เสมือนจริงของญี่ปุ่นพยายามหาหนทางสกัดกั้นไม่ให้รัสเซียเข้าถึงคริปโตเคอเรนซีได้ โดยจะพยายามอุดช่องโหว่ไม่ให้ผู้ใช้บริการที่ต้องการจะหลีกหนีการคว่ำบาตรเข้ามาใช้งานแพลตฟอร์มภายในประเทศได้นั่นเอง แม้ว่าในปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นเริ่มมีจำนวนผู้ใช้บริการที่เป็นชาวรัสเซียเพิ่มจำนวนมากขึ้น หลังจากทางรัฐบาลได้ออกมาประกาศคว่ำบาตรรัสเซียไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ตาม

กูรูชี้คว่ำบาตรด้วยการกำกับดูแลคริปโตทำอะไรรัสเซียไม่ได้

แม้ว่าการร่วมมือคว่ำบาตรรัสเซียจากหลายประเทศทั่วโลก จะสร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งยิ่งใหญ่ให้กับภาคเศรษฐกิจ และธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างมากก็ตาม แต่ทว่าผู้เชี่ยวชาญรายหนึ่งมองว่าการกระทำดังกล่าวอาจสร้างบาดแผลให้กับประเทศมหาอำนาจแห่งนี้ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากตลาดคริปโตยังคงมีขนาดที่เล็กมาก จะเห็นได้จากยอดการซื้อขายสูงสุดต่อวันที่อุตสาหกรรมคริปโตทำได้นั้นมีเพียง 2.5 แสนดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับมูลค่าการค้าด้วยสกุลเงินรูเบิลที่สูงแตะระดับล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมไปถึงศักยภาพของเหรียญดิจิทัลนั้นยังไม่สามารถตอบโจทย์ในประเด็นดังกล่าวได้นั่นเอง

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตลาด Altcoin มีโอกาสเสี่ยงถูกปรับฐาน ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
คาดการณ์ราคา Bitcoin หลังช่วง Halving! พร้อมเผยเป้าหมาย ที่เหรียญอาจทำราคาพุ่งไปถึง
วาฬในเครือข่าย Solana ใช้เงินกว่า 4.9 ล้านดอลลาร์ ในการเข้าซื้อเหรียญมีม PUPS
Bitkub เปิดตัว Open Beta ของ 'TSX by Astronize' โปรเจกต์เกมใหม่ล่าสุดบน Bitkub Chain