ข่าวคริปโตเคอเรนซี่

มือแฮ็ก FTX เริ่มหอบเงินหนี ยอมทิ้ง 50,000 ETH เอาตัวรอด!

9

มือแฮ็กที่สูบเงินออกจากกระเป๋าเงินของ FTX กำลังโชว์ให้ทั่วทั้งโลกเห็นว่าเขาคิดแผนการร้ายนี้ได้แยบยลเพียงใด โดยบุคคลนิรนามรายนี้ได้เคลื่อนย้ายเงินที่ขโมยมาอย่างชาญฉลาด และทำให้เขายังคงครองตำแหน่งผู้ถือ Ether ระดับท็อปอยู่

แฮ็กเกอร์ตัวร้ายผู้ที่อาศัยประโยชน์จากภาวะล้มละลายของแพลตฟอร์ม Crypto Exchange ชื่อกระฉ่อนอย่าง FTX จนได้กลายเป็นวาฬ Ethereum ระดับท็อป ออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้งหลังจากสงวนท่าทีมาระยะหนึ่ง

โดยล่าสุด มือแฮ็ก FTX เริ่มหอบเงินหนี ยอมทิ้ง 50,000 ETH เอาตัวรอด และย้ายเงินส่วนที่เหลือไปยังกระเป๋าคริปโตใบใหม่แล้ว

มือแฮ็ก FTX เริ่มหอบเงินหนี ยอมทิ้ง 50,000 ETH เอาตัวรอด!

จุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจาก FTX ยื่นคำร้องขอล้มละลายต่อศาล และเข้าสู่กระบวนเยียวยาผู้บริโภคตามขอบเขตของบทบัญญัติที่ 11 (Chapter11) เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยมือแฮ็กรายนี้ได้อาศัยจังหวะชุลมุน และสูบเงินมูลค่าเกือบ 447 ล้านดอลลาร์ออกจากกระเป๋าใบหลักของทาง Crypto Exchange แบบเร็วเว่อร์

ทั้งนี้ เงินส่วนใหญ่ที่ถูกขโมยจะอยู่ในรูปของ ETH และการขโมยครั้งนี้ได้ทำให้ผู้โจมตีถูกจารึกชื่อว่าเป็นวาฬ Ethereum ที่รวยเป็นอันดับที่ 27

อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นในวันที่ 20 พฤศจิกายน แฮ็กเกอร์รายนี้ก็กลับมาทำตามแผนของเขาต่ออีกครั้ง โดยเริ่มโอน Ether (ETH) ที่เขาถือครองไปยังที่อยู่กระเป๋าเงินใบใหม่พร้อมฟอกเงินจนขาววิ้งเป็นที่เรียบร้อย

โดยผู้สูบเงินจาก FTX ได้โอน Ethereum จำนวน 50,000 ETH ไปยังที่อยู่ใหม่ 0x866E จากนั้นที่อยู่กระเป๋าเงินใหม่ใบนี้จะเทรด ETH เป็น renBTC (โทเค็น ERC-20 ที่สร้างขึ้นบนเครือข่าย Ethereum โดยผูกไว้กับ Bitcoin) และเชื่อมต่อกับกระเป๋าเงินสองใบบนบล็อกเชน Bitcoin และแบ่งเงินไว้ดังนี้

  • กระเป๋าใบที่หนึ่ง (ที่อยู่: bc1qvd…gpedg) ถือ renBTC 1,070 หน่วย
  •  กระเป๋าใบที่สอง (ที่อยู่: bc1qa…n0702) ถือ renBTC 2,444 หน่วย

ซึ่งทาง CertiK ชมชุนนักวิเคราะห์ Crypto ได้ติดตามเส้นทางการเงินนี้ และพบว่าแฮ็กเกอร์ได้นำเงินที่อยู่ในกระเป๋า bc1qvd…gpedg มาฟอกด้วยเทคนิคที่เรียกว่า Peel chain

การต่อสู้ของ ‘สายขาว’ กับ ‘สายดำ’

ในความเป็นจริงแล้ว... ห้วงเวลาที่ FTX โดนแฮ็กนั้นไม่ได้เกิดแค่ ‘เรื่องแย่ ๆ’ แต่เพียงอย่างเดียว โดยเหตุการณ์การแฮ็ก FTX ที่เกิดขึ้นมีผู้เกี่ยวข้องทั้งสิ้น ‘สองฝ่าย’ ด้วยกัน

โดยฝ่ายหนึ่งก็คือมือแฮ็กตัวร้ายผู้กลายเป็นวาฬ Ethereum ส่วนอีกฝ่ายก็คือแฮ็กเกอร์สายขาว ที่หวังจะช่วยเหลือเหล่าผู้ใช้ที่ได้รับผลกระทบ และย้ายทรัพย์สิน FTX มูลค่า 186 ล้านดอลลาร์ไปยัง Cold Storage

Peel chain คืออะไร?

Peel chain คือหนึ่งในเทคนิคในการฟอกเงิน Cryptocurrency ที่นิยมใช้สำหรับการฟอกเหรียญคริปโตปริมาณมาก ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งเทคนิคนี้จะใช้วิธีการทำธุรกรรมหลายต่อหลายครั้ง และทำอย่างต่อเนื่องซ้ำไปซ้ำมา โดยแต่ละครั้งจะมียอดเงินน้อยมาก ๆ

เมื่อมีการทำธุรกรรมนับครั้งไม่ถ้วนแบบนี้ มันก็จะเพิ่ม ‘ความยาก’ ในการติดตามเส้นทางการทำธุรกรรม และสามารถปกปิดตัวต้นที่แท้จริงของเหล่าผู้ไม่หวังดีได้นั่นเอง

ทั้งนี้ เนื่องจากมูลค่าการโอนแต่ละรายการมีจำนวนน้อย นั้นทำให้เงินที่ออกไปจากการทำ Peel Chain จึงมีโอกาสน้อยมากที่จะถูกตรวจสอบย้อนกลับโดยหน่วยงานด้านภาษี และหน่วยงานกำกับดูแล และท้ายที่สุดมันก็จะถูกแปลงเป็นสกุลเงินอื่น ๆ ในได้ที่สุด

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: การลงทุนมีความเสี่ยงสูง ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนการลงทุนทุกครั้ง

ข้อมูลในบทความนี้มีจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น Cryptosiam ไม่รับประกันความสมบูรณ์ ความถูกต้อง หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลดังกล่าว และไม่มีสิ่งใดในบทความนี้ที่ควรใช้เป็นคำแนะนำหรือชักชวน ให้ซื้อหรือขายคริปโต รวมทั้งการประเมินใดๆ ไม่มีข้อความใดในบทความที่ถือเป็นคำแนะนำทางกฎหมาย วิชาชีพ การลงทุน และ/หรือทางการเงิน และ/หรือคำนึงถึงความต้องการเฉพาะ และ/หรือข้อกำหนดของแต่ละบุคคล

Cryptosiam และบริษัทในเครือ ขอปฏิเสธความรับผิด หรือความรับผิดชอบทั้งหมดเกี่ยวกับเนื้อหาของบทความ และการดำเนินการใดๆ กับข้อมูลในบทความนั้น เป็นความเสี่ยงของผู้อ่าน และถือเป็นความเสี่ยงแต่เพียงผู้เดียว

ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตลาด Altcoin มีโอกาสเสี่ยงถูกปรับฐาน ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
คาดการณ์ราคา Bitcoin หลังช่วง Halving! พร้อมเผยเป้าหมาย ที่เหรียญอาจทำราคาพุ่งไปถึง
วาฬในเครือข่าย Solana ใช้เงินกว่า 4.9 ล้านดอลลาร์ ในการเข้าซื้อเหรียญมีม PUPS
Bitkub เปิดตัว Open Beta ของ 'TSX by Astronize' โปรเจกต์เกมใหม่ล่าสุดบน Bitkub Chain