กฎหมาย และประกาศ

ญี่ปุ่นเร่งกลุ่ม G7 กำหนดกรอบกฎหมายคริปโต

Shutterstock 1192983841.jpg

หลังเดินหน้าทดสอบศักยภาพ CBDC ในเฟส 2 ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ธนาคารกลางญี่ปุ่นเร่งกลุ่ม G7 กำหนดกรอบกฎหมายคริปโตเพื่อหาข้อสรุปที่เหมาะสม

เจ้าหน้าที่อาวุโสประจำธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นเร่งกลุ่ม G7 หรือ ฟอรัมทางการเมืองระหว่างรัฐบาลประเทศแคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ให้กำหนดกรอบการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลร่วมกันให้ได้โดยเร็วที่สุด หลังจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย และยูเครนยังคงไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลงง่าย ๆ ส่งผลทำให้ทางญี่ปุ่นจำเป็นต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่คริปโตเคอเรนซีจะถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจให้มากขึ้นกว่าเดิม

สาเหตุที่ทำให้ญี่ปุ่นเร่งกลุ่ม G7 กำหนดกรอบกฎหมายคริปโต

Kazushige Kamiyama หัวหน้าระบบการชำระเงินแห่ง BOJ ได้ออกมาเปิดเผยกับทาง Reuters ว่า การนำ Stablecoin มาใช้นั้นทำให้การสร้างระบบการชำระเงินให้แก่ผู้คนทั่วโลกนั้นทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ต้องการจะนำสินทรัพย์ประเภทดังกล่าวมาเป็นเครื่องมือหลีกเลี่ยงระบบชำระเงินในรูปแบบเดิม และระบบที่ถูกกำกับดูแลที่ยังคงใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ, ยูโร หรือ เยน ในการชำระเงินอีกด้วย

นอกจากนี้ Kamiyama ยังได้กล่าวเสริมว่า การตระหนักรู้ถึงความเร่งด่วน (Sense of Urgency) นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก ซึ่งหากกลุ่มประเทศ G7 ร่วมกันหารือด้านกฎหมายคริปโต และสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพได้ ก็อาจจะช่วยทำให้สถานการณ์ต่าง ๆ ดีขึ้นกว่าปัจจุบันได้ เนื่องจาก ปัจจุบัน ยังคงไม่มีหน่วยงานจากประเทศใด เริ่มทำการพิจารณาถึงอัตราการยอมรับที่เติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และแพร่กระจายออกไปในวงกว้างทั่วโลกอย่างแท้จริง

ผู้ว่าธนาคารกลางเล็งกำหนดบทบาทธนาคารให้สอดคล้องกับชีวิตพลเมือง

Abad3356 9cd3 11e2 Ba3c 00144feabdc0 1024x576.jpg

ทางด้าน Haruhiko Kuroda ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นก็ได้ออกมาแถลงการณ์ผ่านที่ประชุม Japan’s FIN/SUM fintech summit เมื่อวันอังคารที่ 29 มีนาคม ที่ผ่านมา ระบุว่าธนาคารยังไม่ได้เตรียมที่จะเปิดตัว CBDC ในเร็ว ๆ นี้ พร้อมชี้แจงถึงแผนการพิจารณากำหนดบทบาทของธนาคารกลางให้สอดคล้องกับชีวิตของพลเมืองในประเทศอย่างรอบคอบ

“ธนาคารกลางมองว่าการดำเนินการดังกล่าวนั้นจำเป็นตะต้องมีการเตรียมการที่ละเอียดรอบคอบเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าภาพรวมของระบบชำระเงินเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพ และประสิทธิภาพ”

คำแถลงการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเพียง 4 วันหลังจากทางธนาคารแห่งญี่ปุ่นประกาศเดินหน้าลุยทดสอบศักยภาพ CBDC ในขั้นตอนต่อไป ซึ่งในเฟสที่ 2 นั้นได้เริ่มดำเนินการไปแล้วในเดือนนี้ จึงทำให้ทางหน่วยงานเร่งให้มีการหารือร่วมกันระหว่างกลุ่มประเทศ G7 เพื่อหาทางออกให้กับกฎหมายคริปโตโดยเร็วที่สุด

CBDC ญี่ปุ่นมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นการหารือในครั้งนี้อย่างไร?

การร่วมหารือถึงกำหนดกรอบการกำกับดูแลกฎหมายเหล่านี้ยิ่งกินเวลานานมากเท่าไร ก็จะยิ่งจะส่งผลกับกระบวนการออกแบบสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางแห่งประเทศญี่ปุ่น (CBDC) หรือ เยนดิจิทัลอย่างมากเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทางรัฐบาลจำเป็นจะต้องสร้างสมดุลระหว่างการรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานแต่ละราย ร่วมไปกับการระมัดระวังการก่อคดีฟอกเงิน และอาชญากรในคราบเจ้าหน้าที่รัฐ (White-collar Crime) ไปพร้อม ๆ กัน

Yen Afp 1024x654.jpg

นอกจากนี้ ผู้ว่าธนาคารกลางยังได้ระบุว่า การผลิตเยนดิจิทัลอาจเกิดขึ้นได้ภายในปี 2026 ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะเป็นตัวช่วยเร่งให้เหรียญดังกล่าวเปิดตัวได้อย่างรวดเร็วนั้นขึ้นอยู่กับอัตราการยอมรับ CBDC จากผู้คนทั่วโลกนั่นเอง

ญี่ปุ่นเริ่มจำกัดการเข้าถึงคริปโตของรัสเซีย

จากความกังวลจากหลากหลายประเทศที่มีต่อการหลีกหนีมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของสหพันธรัฐรัสเซีย ได้ส่งผลให้หน่วยงานบริการทางด้านการเงินกับสมาคมหลักทรัพย์คริปโตและสินทรัพย์เสมือนจริงของญี่ปุ่นพยายามหาหนทางสกัดกั้นไม่ให้รัสเซียเข้าถึงคริปโตเคอเรนซีได้ โดยจะพยายามอุดช่องโหว่ไม่ให้ผู้ใช้บริการที่ต้องการจะหลีกหนีการคว่ำบาตรเข้ามาใช้งานแพลตฟอร์มภายในประเทศได้นั่นเอง แม้ว่าในปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นเริ่มมีจำนวนผู้ใช้บริการที่เป็นชาวรัสเซียเพิ่มจำนวนมากขึ้น หลังจากทางรัฐบาลได้ออกมาประกาศคว่ำบาตรรัสเซียไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ตาม

กูรูชี้คว่ำบาตรด้วยการกำกับดูแลคริปโตทำอะไรรัสเซียไม่ได้

แม้ว่าการร่วมมือคว่ำบาตรรัสเซียจากหลายประเทศทั่วโลก จะสร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งยิ่งใหญ่ให้กับภาคเศรษฐกิจ และธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างมากก็ตาม แต่ทว่าผู้เชี่ยวชาญรายหนึ่งมองว่าการกระทำดังกล่าวอาจสร้างบาดแผลให้กับประเทศมหาอำนาจแห่งนี้ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากตลาดคริปโตยังคงมีขนาดที่เล็กมาก จะเห็นได้จากยอดการซื้อขายสูงสุดต่อวันที่อุตสาหกรรมคริปโตทำได้นั้นมีเพียง 2.5 แสนดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับมูลค่าการค้าด้วยสกุลเงินรูเบิลที่สูงแตะระดับล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมไปถึงศักยภาพของเหรียญดิจิทัลนั้นยังไม่สามารถตอบโจทย์ในประเด็นดังกล่าวได้นั่นเอง

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต

บทความที่เกี่ยวข้อง

คาดการณ์ราคา Bitcoin หลังช่วง Halving! พร้อมเผยเป้าหมาย ที่เหรียญอาจทำราคาพุ่งไปถึง
98% ของธนาคารกลางทั่วโลก กำลังเตรียมใช้ CBDC
วาฬในเครือข่าย Solana ใช้เงินกว่า 4.9 ล้านดอลลาร์ ในการเข้าซื้อเหรียญมีม PUPS
Coinbase ประกาศลิสต์ 1 เหรียญ Altcoin จากโครงการ AI เข้ากระดานเทรด