Blockchain

คู่รักชาวอินเดียจัดงานแต่งงานบน Blockchain

Image 95.png

Anil และว่าที่ภรรยาของเขาพร้อมจัดงานแต่งงานบน Blockchain หลังได้รับแรงบันดาลใจจากบ่าวสาวชาวแคลิฟอร์เนียที่เคยจัดพิธีวิวาห์ดิจิทัลมาแล้วในปี 2021

Shruti Nair และ Anil Narasipuram บ่าวสาวคู่ใหม่จากเมืองปูเณ ประเทศอินเดียได้สานต่อฝันของพวกเขาด้วยการนำ Non-Fungible Token (NFT) มาใช้ในพิธีวิวาห์เพื่อแปลงความรักให้อยู่ในรูปของสินทรัพย์ดิจิทัลไปตลอดกาลผ่านการจัดงานแต่งงานบน Blockchain ของ Ethereum (ETH) ที่จะช่วยยกระดับงานแต่งงานให้ก้าวล้ำขึ้นไปอีกขั้น หลังได้รับแรงบันดาลใจจากคู่รักดิจิทัลรายอื่น ๆ

งานแต่งงานบน Blockchain ของคู่รักชาวอินเดียจะแปลงคำสาบานเป็น NFT

Anil ผู้เป็นเจ้าบ่าวพูดถึงแรงบันดาลใจที่เขาได้รับจากการอ่านบทความเกี่ยวกับการจัดงานแต่งงานของ Rebecca Kacherginsky พนักงานฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์แห่ง Coinbase ด้วย Blockchain ของชาวต่างชาติ และไอเดียเหล่านี้ได้ช่วยกระตุ้นให้เขานำมาปรับใช้ในงานแต่งงานของตนเองเช่นเดียวกัน โดยพวกเขาได้ดำเนินการติดต่อ Anoop Pakki ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ให้มาเป็นผู้รับผิดชอบทำหน้าที่มินต์ภาพคำสาบานของทั้ง 2 บ่าวสาวให้กลายเป็น NFT บนแพลตฟอร์ม OpenSea หรือในอีกนัยหนึ่งก็คือการเข้ามาทำหน้าที่เป็นนักบวชดิจิทัลนั่นเอง

30bd55dd 1521 4980 Be43 C97fce5fc9b7 768x1024.jpg
Shruti Nair และ Anil Narasipuram บ่าวสาวคู่ใหม่จากเมืองปูเณ ประเทศอินเดีย

อย่างไรก็ตามเขาได้กล่าวอธิบายถึงขั้นตอนการทำงานคร่าว ๆ ว่า

“เราทั้ง 2 คนจะอ่านคำสาบาน และหลังจากได้รับพรจากนักบวชดิจิทัลของเราแล้ว ผมจะดำเนินการยืนยันธุรกรรมให้สามารถนำไปแปลงเป็น NFT เพื่อส่งตรงเข้าสู่ Wallet ดิจิทัลของภรรยาผมในขั้นสุดท้าย”

มาทำความรู้จักกับคู่บ่าวสาวดิจิทัลที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนทั่วโลก

Rebecca Rose และ Peter Kacherginsky คู่สามีภรรยาที่ประกอบอาชีพเป็นพนักงานแห่งบริษัท Coinbase ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโตชั้นนำในสหรัฐอเมริกาได้ออกมาเปิดเผยเมื่อวันที่ 3 เมษายน ที่ผ่านมาระบุว่าพวกเขาทั้งคู่สามารถใช้บล็อกเชนของ Ethereum เพื่อแต่งงานอย่างถูกกฎหมายได้

คู่รักชาวยิวแล้ว Kacherginsky ได้ทำการเขียนสัญญาอัจฉริยะ Ethereum ชื่อ Tabaat พร้อมกับสร้างแหวนที่สามารถ Tokenized ให้อยู่ในรูปแบบของโทเคน TBT เพื่อนำไปจัดเก็บไว้ในกระเป๋าสตางค์คู่รักได้ โดยคำว่า Tabaat นั้นเป็นภาษาฮีบรูที่แปลว่าแหวนนั่นเอง

Ex8 K Qrj Uua Er X E 1024x835.jpg
Source : Rebecca Rose's Twiitter

การจัดงานแต่งงานบน Blockchain ถูกกว่าการจัดงานโดยทั่วไป

ทั้งนี้พิธีการแต่งงานเสมือนจริงของ Kacherginsky จะประกอบไปด้วยการทำธุรกรรมทั้งหมด 2 รายการด้วยกัน ได้แก่ การโอน ‘แหวน’ ของ NFT จากสัญญาไปยัง Rose และ Peter โดยพิธีทั้งหมดจะใช้เวลาเพียงแค่ 4 นาทีในการตรวจสอบความถูกต้องโดยเครือข่าย Ethereum และมีค่าธรรมเนียมการขุด 50 ดอลลาร์

ทางด้านของการจัดพิธิแต่งงานของคู่รักชาวอินเดียเอง เจ้าบ่าว Anil ยังระบุว่าการทำธุรกรรมดังกล่าวจะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และค่าธรรมเนียมนั้นมีมูลค่าเท่ากับ ETH ประมาณ 35 ดอลลาร์สหรัฐอีกด้วย ซึ่งหลังจากนั้นพวกเขาทั้ง 2 ก็จะได้รับการประกาศให้เป็นสามี และภรรยากันอย่างถูกต้องโดยนักบวชดิจิทัล

เมื่อลองมองย้อนกลับมาที่การจัดพิธิแต่งงานในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ จึงจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการแต่งงานบนโลกดิจิทัลนั้นมีราคาถูกกว่า

การแต่งงานแบบดิจิทัลที่เกิดขึ้นครั้งแรกของโลก

แม้เรื่องราวของ 2 คู่รักจะน่าทึ่งเพียงไหนก็ตาม แต่ทว่าเหตุการณ์ทั้งหมดยังไม่ใช่การแต่งงานดิจิทัลครั้งแรกของโลก ย้อนกลับไปในช่วงก่อนหน้านี้ คู่รัก David Mondrus และ Joyce Bayo ได้นำ Distributed Ledger Technology (DLT) มาใช้เพื่อลั่นระฆังวิวาห์มาแล้ว ในเดือนตุลาคม ปี 2014 ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการเข้าพิธีวิวาห์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในระหว่างการประชุม Bitcoin แบบส่วนตัวที่ Disney World ในออร์แลนโดฟลอริดา ผ่านการสแกน QR code  

Blockchainmarry.png
คู่รัก David Mondrus และ Joyce Bayo

การยอมรับคริปโตภายในอินเดียเริ่มเติบโตมากขึ้นแล้ว

แม้ว่าในปัจจุบันสถานการณ์ด้านนโยบายการกำกับดูแลคริปโตในประเทศอินเดียจะยังคงตึงเครียด และเป็นที่น่ากังวลอยู่ก็ตาม แต่ทว่าก็ได้ประชาชนในบางส่วนที่ยังคงให้การยอมรับ และนำคริปโตไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งแน่นอนว่าพวกเราจะเห็นได้ชัดจากการแต่งงานของคู่รัก Narasipuram ที่เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคม ปี 2021 ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีแห่งอินเดียก็ได้ออกมายอมรับว่า คริปโตนั้นมีศักยภาพในการช่วยยกระดับความเป็นประชาธิปไตยให้กับทั่วโลกได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย ซึ่งผู้คนทั่วโลกไม่ควรมองข้ามคริปโตไปเป็นอันขาด

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทาง CryptoSiam ได้มีการรายงานถึงความเคลื่อนไหวล่าสุดจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแห่งอินเดีย Nirmala Sitharaman ที่ได้ออกมาประกาศเปิดตัวโครงการนำร่องสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (CBDC) พร้อมเรียกเก็บภาษีคริปโต 30% ภายในปี 2022 – 2023 ซึ่ง Sitharaman เชื่อมั่นว่าการเปิดตัว CBDC จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจดิจิทัลเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกด้วย

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง