Ethereum มีการทำธุรกรรมมูลค่ามากถึง 6.2 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
Ethereum ยังคงมีความแข็งแกร่งในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา แม้ว่าจะเจอกับข้อจำกัดจากการอัปเกรดลอนดอน และศึกสัญญาอัจฉริยะ (smart contract) จากคู่แข่งมากมายก็ตาม
Ethereum ยังคงมีความแข็งแกร่งในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา แม้ว่าจะเจอกับข้อจำกัดจากการอัปเกรดลอนดอน และศึกสัญญาอัจฉริยะ (smart contract) จากคู่แข่งมากมายก็ตาม
สกุลเงินดิจิทัลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลกอย่าง Ethereum (ETH) ยังคงมีความแข็งแกร่งในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา แม้ว่าจะเจอกับข้อจำกัดจากการอัปเกรดลอนดอน และศึกสัญญาอัจฉริยะ (smart contract) จากคู่แข่งมากมายก็ตาม
ข้อมูลจาก Messari แสดงให้เห็นว่า Ethereum มีการทำธุรกรรมมากถึง 6.2 ล้านล้านดอลลาห์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 350 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
แม้ว่าเดือนกันยายนที่ผ่านมาจะเป็นเดือนที่ยากลำบากของ Ethereum ราคา ETH ได้ร่วงลงมากเกือบ 27% ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนจนถึงปลายเดือนและเจอกับแนวรับที่ 2,750 ดอลลาห์ อย่างไรก็ตามการดิ่งลงของราคาที่เกิดขึ้นได้กลายเป็นโอกาสซื้อเมื่อราคาย่อตัว (dip-buying) ของนักลงทุนจำนวนมาก ในที่สุดราคา ETH ก็สามารถปรับตัวขึ้นมาได้ในเดือนตุลาคม โดยขณะที่เขียน ETH/USDT มีการซื้อขายอยู่ที่ 3,402 ดอลลาห์ต่อเหรียญ
สกุลเงินดิจิทัลอันดับสองยังเจอกับปัญหาบางอย่างจากการอัปเกรดลอนดอนอีกด้วย การอัปเกรดดังกล่าวซึ่งเริ่มใช้จริงในวันที่ 5 สิงหาคม ควรจะช่วยในเรื่องค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม แต่ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้นในเดือนกันยายนแสดงให้เห็นว่าการอัปเกรดยังคงไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์
นอกจากนี้ เมื่อเดือนที่แล้ว Cardano ได้เปิดตัว Alonzo ซึ่งมีการนำฟังก์ชันสัญญาอัจฉริยะ (smart contract) มาสู่ห่วงโซ่ แม้ว่าจะยังเพิ่งเริ่มต้นในแง่ของการสร้างระบบนิเวศ แต่ก็ทำให้เกิดความกลัวว่าสิ่งนี้อาจส่งผลต่อ Ethereum มากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต
สิ่งที่ได้รับการจับตามองในเดือนนี้ก็คือ การอัปเกรด Altair ซึ่งถือว่าเป็นการอัปเกรดครั้งแรกที่ดำเนินการบน Beacon Chain และจะมีขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคมนี้ เวลา 10:56:23 น. UTC
การอัปเกรดนี้จะช่วย Ethereum ในการเปลี่ยนผ่านจากระบบ Proof of Work (PoW) ไปเป็น Proof of Stake (PoS) นั่นเอง โดยคาดว่าการอัปเกรดขั้นสุดท้ายจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2022
ข้อเสียของ Ethereum คือเรื่อง Scalability หรือปัญหาเรื่องความแออัดจากการที่จำนวนธุรกรรมในเครือข่ายเพิ่มสูงขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ความนิยมที่เพิ่มขึ้นของ DeFi ทำให้ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหรือที่เรียกว่าค่าแก๊ส เพิ่มสูงขึ้นตามความต้องการของเครือข่ายอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ ETH 2.0 จึงอาจเข้ามาแก้ไขจุดอ่อนดังกล่าวได้
ต้องจับตาดูกันต่อไปว่า Ethereum จะสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้หรือไม่ ไม่เช่นนั้นคู่แข่ง smart contract หลายรายที่ขึ้นชื่อว่าเป็นนักฆ่า Ethereum อย่าง Cardano, Solona, Polkadot อาจเข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดไปได้ในอนาคต