การชำระเงิน

การชำระเงินด้วยคริปโต จะ disrupt อุตสาหกรรมการชำระเงินได้อย่างไร?

Getty Images 1049589880 79460e2305d248f099b8895340f4cf3d.jpg

ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่ต่ำและการประมวลผลที่รวดเร็ว ทำให้คริปโตเคอร์เรนซีได้รับความนิยมมากขึ้น และอาจ disrupt ธุรกิจชำระเงินแบบดั้งเดิมได้ในอนาคต

สกุลเงินดิจิทัลมีจุดเด่นประการหนึ่งคือ ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่ต่ำ และการประมวลผลที่รวดเร็ว โดยปกติแล้วลูกค้าจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมสูงถึง 1.3% ถึง 3.5% สำหรับการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต ขณะที่การชำระเงินด้วยสกุลเงินดิจิทัลอาจจ่ายเพียงไม่กี่เซ็นต์ด้วยซ้ำ

เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น? คำตอบก็คือ “การกระจายอำนาจ” นั่นเอง การที่ไม่มีพ่อค้าคนกลาง โดยมีเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาแทนที่ ทำให้การทำธุรกรรมสามารถส่งผ่านจากผู้ซื้อไปยังผู้ขายได้ทันที 

สกุลเงินดิจิทัลมีจุดเด่นประการหนึ่งคือ ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่ต่ำ และการประมวลผลที่รวดเร็ว โดยปกติแล้วลูกค้าจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมสูงถึง 1.3% ถึง 3.5% สำหรับการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต ขณะที่การชำระเงินด้วยสกุลเงินดิจิทัลอาจจ่ายเพียงไม่กี่เซ็นต์ด้วยซ้ำ

เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น? คำตอบก็คือ “การกระจายอำนาจ” นั่นเอง การที่ไม่มีพ่อค้าคนกลาง โดยมีเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาแทนที่ ทำให้การทำธุรกรรมสามารถส่งผ่านจากผู้ซื้อไปยังผู้ขายได้ทันที 

การชำระเงินด้วยคริปโตสามารถขัดขวางอุตสาหกรรมการชำระเงินได้อย่างไร?

คริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrencies) กลายเป็นกระแสหลักมากขึ้น โดยปัจจุบันมีบริษัทจำนวนมากขึ้นที่ยอมรับการชำระเงินด้วยสกุลเงินดิจิทัล แม้ว่าจะมีหลายบริษัทดำเนินการยังคงดำเนินการผ่านตัวประมวลผลด้วยบุคคลที่สามก็ตาม

คุณสามารถชำระเงินโดยใช้คริปโตกับบริษัทต่าง ๆ ได้ เช่น AT&T, PayPal และ Overstock.com คุณยังสามารถจ่ายค่ากาแฟของคุณด้วยบิตคอยน์ (BTC) ที่ Starbucks ในปีนี้ นอกจากนี้ Amazon และ Walmart ได้โฆษณาเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัล ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่าบริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่จะก้าวเข้าสู่วงการคริปโตในไม่ช้า

สำหรับประเทศไทย มีบริษัทหลายแห่งที่เริ่มยอมรับการชำระเงินด้วยสกุลเงินดิจิทัลแล้ว ไม่ว่าจะเป็นภาคอสังหาริมทรัพย์อย่าง “อนันดา” ที่ร่วมมือกับ “Bitkub” ในการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาชำระเงินสำหรับการซื้อขายบ้านและคอนโดมิเนียม แม้แต่ Major เองก็ให้ลูกค้าสามารถซื้อตั๋วชมภาพยนต์ด้วย BTC ได้แล้ว ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีนี้

ในปี 2020 เพียงปีเดียว มีร้านค้าที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการแลกเปลี่ยนบัตรเครดิตมูลค่ามากถึง 51 พันล้านดอลลาร์ จึงไม่แปลกที่ผู้ค้าปลีกจะมองหาโอกาสในการลดต้นทุนการทำธุรกรรม

นอกจากนี้ยังมีธุรกิจจำนวนมากที่พร้อมอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมคริปโต ตั้งแต่แพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนคริปโต ไปจนถึงบริษัทชำระเงิน และตัวประมวลผลการชำระเงินที่เน้นด้านคริปโต

ปกติเราจะเห็นค่าใช้จ่ายประมาณ 0.5% ถึง 1% ต่อธุรกรรม แต่โปรเซสเซอร์บางตัวแทบไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้ค้าเลย ส่วนใหญ่ยังมีฟังก์ชันในการแปลงการชำระเงินคริปโตเป็นสกุลเงิน fiat แบบดั้งเดิมได้ทันทีอีกด้วย

การชำระเงินด้วยคริปโตกำลังเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น และยังมีศักยภาพในการเติบโตอีกมาก จากการวิจัยของ The Ascent เผยว่า ชาวอเมริกันกว่า 50 ล้านคนวางแผนที่จะซื้อคริปโตในปีหน้า และมากกว่า 20 ล้านคนหรือมากกว่านั้นได้ซื้อไปแล้ว

การที่ผู้บริโภคเลือกชำระเงินด้วยสกุลเงินดิจิทัลจะได้รับประโยชน์จากการทำธุรกรรมที่รวดเร็ว และค่าธรรมเนียมที่ต่ำลง โดยเฉพาะการทำธุรกรรมต่างประเทศ แพลตฟอร์มสกุลเงินดิจิทัลบางแห่งได้เสนอบัตรเดบิตคริปโตแบบเติมเงิน ซึ่งได้รับรางวัลจากการซื้อ 

นอกจากนี้บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการชำระเงินทั้ง Mastercard และ​VISA ต่างก็ก้าวไปข้างหน้าด้วยข้อเสนอเดบิตและบัตรเครดิตคริปโต

อุตสาหกรรมนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น และยังต้องพัฒนาในเรื่องของการคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ ตัวอย่างเช่น บัตรเดบิตคริปโตบางแห่งไม่มีการป้องกันการฉ้อโกงในระดับเดียวกับที่ออกโดยธนาคาร

นอกเหนือจากการพัฒนาเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคแล้ว อุตสาหกรรมยังมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากกฎระเบียบระดับโลกที่เพิ่มขึ้นของ stablecoin และการเปิดตัว govcoins หรือสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDCs) อีกด้วย

ผู้คนจะใช้จ่ายด้วยคริปโตหรือไม่?

แม้ว่าการชำระเงินด้วยคริปโตจะเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น แต่ก็ยังเป็นอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างใหม่ และมีช่องว่างมากมายที่ต้องพัฒนา ทั้งในแง่ของเทคโนโลยีและความเข้าใจของผู้คนในเรื่องนี้

เหตุผลหนึ่งที่คริปโตเคอร์เรนซียังไม่อาจเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการประมวลผลการชำระเงินก็คือราคาที่ยังคงผันผวน ราคาบิตคอยน์สามารถเพิ่มขึ้นหรือลดลงถึง 20% อย่างรวดเร็วในหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งสิ่งนี้อาจทำให้ผู้ค้าที่ต้องการใช้เงินสดอาจเจอกับปัญหาด้านกระแสเงินสดได้

อีกประการหนึ่งคือ ชาวอเมริกันจำนวนมากมองว่าสกุลเงินดิจิทัลเป็นการลงทุน สิ่งนี้ทำให้พวกเขาไม่ต้องการใช้มันกับค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน

ข้อมูลล่าสุดจาก BitPay ซึ่งเป็นบริษัทประมวลผลการชำระเงินคริปโตเผยว่า บิตคอยน์ยังคงเป็นสกุลเงินดิจิตอลที่มีการใช้งานมากที่สุด โดยคิดเป็น 60% ของการชำระเงินในเดือนกันยายน ตามมาด้วย Ethereum (ETH) และ Bitcoin Cash (BCH) อยู่ในอันดับที่สองและสามโดยมีเพียง 10% เท่านั้น

ต้องจับตาดูกันต่อไปว่าอุตสาหกรรมการชำระเงินด้วยคริปโตจะมีวิวัฒนาการต่อไปอย่างไร ซึ่งตอนนี้ผู้ค้าปลีกในสหรัฐอเมริกาจำนวนมากเริ่มที่จะยอมรับคริปโตผ่านบุคคลที่สามแล้ว แต่ในอนาคตพวกเขาอาจรับการชำระเงินด้วยคริปโตโดยตรงจากผู้บริโภคได้เลย

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตลาด Altcoin มีโอกาสเสี่ยงถูกปรับฐาน ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
Bitkub เปิดตัว Open Beta ของ 'TSX by Astronize' โปรเจกต์เกมใหม่ล่าสุดบน Bitkub Chain
รายงาน ก.ล.ต. สรุปภาพรวมบัญชีมูลค่าการซื้อขายคริปโตในประเทศไทย (15/04/24)
วาฬในเครือข่าย Solana ใช้เงินกว่า 4.9 ล้านดอลลาร์ ในการเข้าซื้อเหรียญมีม PUPS