ข่าว NFT

ทำไมอัตราการยอมรับ NFT ในเกาหลีใต้ถึงเติบโตกว่าที่อื่น?

South Korean Regulator Does Not Consider Nft as Digital Assets.jpg

แดนกิมจิอาจได้ขึ้นแท่นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม Blockchain อีกครั้ง หลังจากในช่วงที่ผ่านมา การยอมรับ NFT ในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล

สาธารณรัฐเกาหลี หรือ ประเทศเกาหลีใต้ที่โด่งดังในฐานะผู้นำเทรนด์ยอดฮิตต่าง ๆ และผู้นำด้านการวิจัยทางเทคโนโลยีที่กำลังขยายตัวเข้าสู่ตลาด Blockchain อย่างรวดเร็ว แต่ทว่าในช่วงที่ผ่านมา อัตราการยอมรับ NFT หรือ Non-Fungible Token ในเกาหลีใต้กลับทะยานขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้หลาย ๆ คนเริ่มตั้งข้อสงสัยว่าปัจจัยอะไรที่ทำให้เกาหลีใต้ยอมรับ NFT ได้ง่าย และมากกว่าประเทศอื่น ๆ วันนี้ CryptoSiam จะพาทุกคนมาร่วมหาคำตอบไปพร้อม ๆ กัน

บริษัทเทคโนโลยีเป็นแรงกระตุ้นสำคัญให้อัตราการยอมรับ NFT ในเกาหลีใต้เติบโต

หากเราจะมาเจาะลึกกันถึงสาเหตุที่ทำให้อัตราการยอมรับ NFT ในเกาหลีใต้เติบโตขึ้นอย่างมหาศาลนั้น คงต้องย้อนกลับไปในปี 2020 หลังจากองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization) ได้จัดอันดับให้แดนกิมจิแห่งนี้ขึ้นแท่นเป็นหนึ่งใน 10 ประเทศที่มีดัชนี Global Innovation Index มากที่สุดในโลก ซึ่งแน่นอนว่าตัวชี้วัดดังกล่าวได้ปรากฏขึ้นสู่สายตายของชาวโลกผ่านการเปิดตัวโครงการต่าง ๆ ของบริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีอย่าง Samsung และ LG รวมไปถึงบรรดาเกมเมอร์จากค่ายเคม Krafton อีกด้วย นอกจากนี้ บริษัทข้างต้น และบริษัทอื่น ๆ อีกหลายแห่งที่มีเป้าหมายคล้ายคลึงกันต่างพากันลุยอุตสาหกรรม NFT กันอย่างจริงจัง ผ่านการเปิดตัวคอลเลกชันใหม่ให้แก่บรรดาลูกค้า รวมไปถึงการเปิดตัวแผนกการทำงานขึ้นมาใหม่ภายในองค์กรเพื่อมุ่งมั่นในการพัฒนาสินทรัพย์ประเภทดังกล่าวด้วยเช่นเดียวกัน

สร้างความสนใจ และความตื่นเต้นให้แก่ผู้คนด้วยโปรเจกต์รูปแบบใหม่

ปัจจัยต่อมาที่ไม่พูดถึงคงจะไม่ได้นั้น ก็คือการสร้างความตื่นเต้นให้แก่ผู้บริโภค และบุคคลทั่วไปผ่านการออกโปรเจกต์ NFT ในรูปแบบใหม่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในคอลเลกชันที่จะนำมาเป็นกรณีศึกษาในครั้งนี้นั้นถูกคิดค้นโดย Alex Lim ประธานฝ่ายกลยุทธ์จากโครงการ KlayChicken NFT ที่ตั้งเป้าจะสร้างโครงการใหม่ให้เป็นได้มากกว่าแค่ของรางวัลตอบแทนหลังเสร็จสิ้นการซื้อขาย พร้อมกับกล่าวว่า

“กระแส NFT ในประเทศเกาหลีใต้ต่างก็เกิดขึ้นจากการผสมผสานของความรู้สึก ซึ่งผมเชื่อมั่นว่าในช่วงครึ่งปีหลังนี้ จะเป็นช่วงเวลาที่อุตสาหกรรม NFT ในเกาหลีใต้ทะยานขึ้นอย่างก้าวกระโดดเลยทีเดียว … แน่นอนว่า NFT ล้วนแล้วแต่เป็นความบ้าคลั่งที่เกิดขึ้นมาเท่านั้นแหละ แต่ผู้คนอีกมากมายกลับยังไม่รู้ถึงสาเหตุที่ทำให้สินทรัพย์กลายเป็นแบบนี้เสียด้วยซ้ำ”

การกำกับดูแล NFT ยังไม่เข้มงวดเท่ากับสกุลเงินดิจิทัล

แน่นอนว่าการที่ตลาด NFT ในเกาหลีใต้เติบโตขึ้นมาอย่างก้าวกระโดดนั้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะโชคแอบเข้าข้างอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน โดยการออกนโยบายภาษีคริปโตในเกาหลีใต้ฉบับล่าสุดได้ถูกเลื่อนการพิจารณาออกไปจนกว่าจะถึงปี 2023 หลังได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนอย่างหนาหู แต่ทว่า หลังจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่อย่าง Yoon Seok-yeol ผู้ให้ความเป็นมิตรกับตลาดคริปโต อาจทำให้กำหนดการกำกับดูแลทางด้านภาษีถูกเลื่อนออกไปอีก 1 ปี หรือ จนกว่าจะถึงปี 2024 นั่นเอง ยิ่งไปกว่านั้นแคมเปญหาเสียงของประธานาธิบดี Yoon ในการออกคอลเลกชัน NFT ที่ผู้ติดตามสามารถเข้าร่วมสัมผัสประสบการณ์มิติใหม่ไปพร้อมๆ กับเขานั้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เรียกเสียงฮือฮาให้กับประชาชนในเกาหลีใต้พอสมควรเลยทีเดียว

Np File 146191 1024x682 1.jpeg
Yoon Seok-yeol

นอกจากนี้แล้ว ประเทศเกาหลีใต้เองก็ไม่ได้มีการออกมากำกับดูแล NFT อย่างเข้มงวดเหมือนกับสกุลเงินดิจิทัลในปัจจุบัน แม้ว่าหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของประเทศอย่าง Financial Services Commission (FSC) กำลังเดินหน้าออกกฎหมายใหม่เพื่อเข้ามาดูแลตลาดดังกล่าว แต่ทว่า ณ ขณะนี้ก็ยังไม่ได้มีการออกมาประกาศบังคับใช้กฎต่าง ๆ แต่อย่างใด ส่งผลให้ตลาดยังคงเปิดกว้าง และเต็มไปด้วยโอกาสใหม่ ๆ สำหรับตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็น Upbit หรือ Bithumb รวมไปถึงบริษัทในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น ค่ายเกม Krafton ที่หวังจะทำกำไรจาก NFT

ภาคส่วนต่าง ๆ เริ่มนำ NFT ไปใช้มากขึ้น

GM Chung ผู้ร่วมก่อตั้ง และซีอีโอแห่ง DeSpread บริษัทให้บริการเครือข่าย Blockchain รายใหญ่ในเกาหลี เชื่อมั่นว่าการนำ NFT ไปใช้จริงจะกลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้เขายังคาดหวังว่า NFT จะสามารถขยายตัวเข้าไปสู่โลกโซเชียลในรูปแบบ On-Chain พร้อมกับแสดงประวัติการทำธุรกรรมได้ในอนาคตอีกด้วย

“แม้ว่าปรากฏการณ์ซื้อขาย NFT เพื่อเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในช่วงก่อนหน้านี้ได้จบลงไปแล้วก็ตาม แต่ทว่าในเร็ว ๆ นี้ การขยายตัวของ NFT เข้าไปยังภาคส่วนต่าง ๆ (ในแง่ของการใช้งานที่เพิ่มขึ้น) ก็กำลังกลายเป็นเหตุผลหลักที่หลายองค์กรกำลังพิจารณาอยู่เช่นเดียวกัน”

ยิ่งไปกว่านั้นมหาวิทยาลัย Hoseo University แห่งเกาหลีใต้ ก็เพิ่งได้เปิดตัวโปรเจกต์ NFT ในรูปแบบใบปริญญาบัตรให้แก่บัณฑิตที่เพิ่งตบการศึกษาเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ที่ผ่านมา จำนวน 2,830 ราย โดยสำนักข่าวท้องถิ่นได้ออกมารายงานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาว่าทางมหาวิทยาลัยได้ตัดสินใจที่จะสร้าง NFT เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเข้าถึง และอำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษา รวมไปถึงยังช่วยป้องกันการปลอมแปลงเอกสารอีกด้วย

การสร้างโปรเจกต์ Metaverse ระดับชาติสร้างงานให้ชาวเกาหลี

5727197 Image3.jpg

อย่างไรก็ตาม ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กระทรวง ICT, วิทยาศาสตร์ และการวางแผนสำหรับอนาคตได้ออกมาให้คำมั่นที่จะสนับสนุนการเติบโตของ Metaverse ในระดับชาติ พร้อมระดมทุนช่วยเหลือมูลค่ากว่า 187.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้เหล่า Content Creator เองก็จะได้รับผลประโยชน์สูงที่สุดในการเข้าร่วมโครงการดังกล่าวด้วยเช่นเดียวกัน โดยจะได้ผลตอบแทนจากความต้องการให้พัฒนาการออกแบบ NFT แก่บริษัทต่าง ๆ ที่เพิ่มจำนวนขึ้น ส่งผลให้ NFT กลายเป็นคำค้นหางานบนแพลตฟอร์มชั้นนำอย่าง JobKorea และยังแสดงผลการค้นหาที่มีตำแหน่งงานไม่ซ้ำกันกว่า 753 ตำแหน่ง

NFT กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือการบริหารองค์กร

ศิลปินผู้สร้างสินทรัพย์ดิจิทัลส่วนใหญ่มักออกแบบผลงานของพวกเขาให้ออกมาเป็นไอเทมในเกม หรือ คาแรกเตอร์ และอีโมจิสำหรับแอปพลิเคชันแชทต่าง ๆ จึงทำให้ตลาดเหล่านี้มีความคุ้นเคยกับสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นอย่างดี จึงไม่แปลกใจที่ Doo Wan Nam ผู้ร่วมก่อตั้ง Stablenode บริษัทการลงทุนคริปโต เชื่อมั่นว่าการยอมรับ NFT ในเกาหลีใต้จะเกิดขึ้นอย่างง่ายดายนั่นเอง พร้อมกันนี้เขายังได้กล่าวว่า

“ชาวเกาหลีมีความคิดที่เปิดกว้าง และเข้าใจดีว่า NFT ก็คือสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทหนึ่ง”

ในขณะเดียวกัน Content Creator และนักธุรกิจในปัจจุบันต่างก็รวมเอา NFT เอาไว้ในแผนการดำเนินการขององค์กรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เนื่องด้วยศักยภาพ และประโยชน์ที่สินทรัพย์ประเภทนี้จะสามารถช่วยพัฒนาองค์กรได้ นอกจากนั้นแล้วการสร้างชุมชนที่ช่วยสนับสนุนจะยิ่งช่วยเพิ่มอำนาจให้กับแบรนด์มากขึ้นนั้น ก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ไม่สามารถมองข้ามได้เลย แต่ทว่าการดำเนินการดังกล่าวยังคงเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ที่ทำงานในด้านนี้

“NFT ได้เปิดโลกทัศน์ใหม่ให้กับผู้ที่ต้องการจะสร้างชุมชนในอุดมคติให้เป็นรูปเป็นร่างด้วยความมุ่งมั่น, หลงใหล และความเป็นอิสระ”

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

Bybit กลับมาดำเนินการถอนเงินได้ตามปกติ หลังถูกแฮกมูลค่า 1.5 พันล้านดอลลาร์
บราซิลอนุมัติ Spot XRP ETF เป็นครั้งแรก! ขณะธนาคารท้องถิ่นเตรียมเปิดตัว StableCoin บน XRPL
นักวิเคราะห์ เผย! การรับรองคำขอ Spot XRP ETF ของ SEC อาจเร่งให้ XRP พุ่งแตะ $6
นักวิเคราะห์คว้ารางวัลจาก Arkham หลังเป็นผู้ที่่ระบุว่า กลุ่มแฮ็กเกอร์จากเกาหลีเหนือ เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการแฮ็ก Bybit มูลค่า 1.4 พันล้านดอลลาร์