Ethereum 2.0 คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร และเมื่อไหร่จะมา?
ปี 2022 กำลังใกล้เข้ามาแล้ว และการเปิดตัว Ethereum 2.0 ได้รับความคาดหวังจากชุมชนเป็นอย่างมาก นี่จะเป็นหนึ่งในการอัพเกรดที่สำคัญที่สุดสำหรับบล็อกเชน ซึ่ง Ethereum 2.0 จะเป็นยุคใหม่ของเครือข่าย Ethereum เลยทีเดียว
ปี 2022 กำลังใกล้เข้ามาแล้ว และการเปิดตัว Ethereum 2.0 ได้รับความคาดหวังจากชุมชนเป็นอย่างมาก นี่จะเป็นหนึ่งในการอัพเกรดที่สำคัญที่สุดสำหรับบล็อกเชน ซึ่ง Ethereum 2.0 จะเป็นยุคใหม่ของเครือข่าย Ethereum เลยทีเดียว
ปี 2022 กำลังใกล้เข้ามาแล้ว และการเปิดตัวครั้งนี้ได้รับความคาดหวังจากชุมชนเป็นอย่างมาก นี่จะเป็นหนึ่งในการอัพเกรดที่สำคัญที่สุดสำหรับบล็อกเชน ซึ่ง Ethereum 2.0 จะเป็นยุคใหม่ของเครือข่าย Ethereum เลยทีเดียว
Ethereum 2.0 คืออะไร?
Ethereum 2.0 เป็นการอัปเกรดของเครือข่าย ETH ซึ่งปรับปรุงในเรื่องความเร็ว ประสิทธิภาพ และความสามารถในการปรับขนาดของเครือข่าย (scalability) การดำเนินการนี้จะนำ Ethereum ไปสู่ระดับใหม่ เนื่องจากสามารถทำธุรกรรมได้มากขึ้น บรรเทาความแออัดของธุรกรรม และต้นทุนก๊าซหรือต้นทุนการทำธุรกรรมที่สูงบนเครือข่าย
เมื่อถึงเฟสสุดท้ายของการอัพเกรด ซึ่งเรียกว่า “เฟสที่ 2” Ethereum จะบรรลุเป้าหมายในการเป็นเครือข่ายที่โปร่งใส และเปิดกว้างสำหรับแอพพลิเคชั่นการเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi)
คุณสมบัติที่สำคัญของ Ethereum 2.0
Sharding – Ethereum จะถูกแบ่งออกเป็น 18 “Shards” ที่ทำงานพร้อมกัน สิ่งนี้จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานอย่างมาก
Staking – Ethereum จะเคลื่อนย้ายไปเป็นกลไกแบบ Proof-of-Stake (PoS) ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพด้านพลังงานมากขึ้นในการรักษาเครือข่าย
ETH 2.0 จะเปลี่ยนเศรษฐกิจในปัจจุบันโดยพื้นฐาน โดยการอัปเดต Ethereum จะลบแนวคิดของการขุดอย่างสมบูรณ์ ซึ่ง Ethereum จะมีการเปลี่ยนจากกลไก Proof-of-Work (PoW) ไปเป็น Proof-of-Stake (PoS) นั่นเอง
Proof of Work (PoW) คือกลไกในการแก้โจทย์ที่ระบบกำหนดมา เพื่อหาค่าสมการที่ถูกต้อง หรือเป็นระบบที่ใช้การขุดนั่นเอง ขณะที่ Proof of Stake (PoS) คืออัลกอริธึมที่ใช้สร้าง Consensus บนบล็อกเชน ผู้มีส่วนร่วมจะต้อง Stake เหรียญไว้ในระบบ และได้รับรางวัลเป็นเหรียญและสิทธิในการตรวจสอบธุรกรรม
ปัญหาคอขวดของ Ethereum (ETH)
ท่ามกลางการเติบโตอย่างรวดเร็วของการเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi) และ Non-fungible token (NFTs) ทำให้ Ethereum เจอกับปัญหาเรื่อง scalability ซึ่งเกิดจากการที่แอปพลิเคชันและจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระบบเกิดความแออัดนั่นเอง การที่เครือข่าย Ethereum มีผู้ใช้และจำนวนธุรกรรมที่มากขึ้น สิ่งนี้ทำให้ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม หรือที่เราเรียกว่าค่าแก๊ส สูงขึ้นตามไปด้วย
การที่เครือข่าย Ethereum ใช้ระบบ Proof-of-Work (PoW) เพื่อตรวจสอบการทำธุรกรรม ทำให้ระบบที่ต้องใช้เวลาและพลังงานในการประมวลผลมากขึ้น นอกจากนี้แต่ละบล็อกของ ETH ที่สามารถบรรจุข้อมูลได้จำกัด ทำให้ธุรกรรมที่จ่ายค่าแก๊สสูงได้รับการยืนยันธุรกรรมก่อน ส่งผลให้เกิดปัญหาค่าแก๊สสูงขึ้นอย่างในปัจจุบัน
ด้วยเหตุนี้ Vitalik Buterin ผู้สร้าง ETH จึงต้องการแก้ไขปัญหาด้วย Ethereum 2.0 ที่เปลี่ยนจากระบบ Proof-of-Work (PoW) ไปเป็น Proof of Stake (PoS) นั่นเอง
สถานะปัจจุบันของ Ethereum 2.0 เป็นอย่างไรบ้าง?
นับตั้งแต่เปิดตัว Beacon Chain ไปเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2020 Ethereum ได้มีการเปิดตัวการอัปเกรด 3 รายการ ได้แก่ การอัปเกรด Berlin, การอัปเกรด London และการอัปเกรด Altair
การอัปเกรด Berlin
การอัปเกรดเบอร์ลิน (Berlin upgrade) เปิดตัวเมื่อวันที่ 15 เมษายนปี 2021 และได้มีปรับค่าก๊าซ หรือค่าธรรมเนียมในการทำธุรรม สำหรับการดำเนินการ EVM (Ethereum Virtual Machine) การอัปเกรดยังเพิ่มการสนับสนุนสำหรับประเภทธุรกรรมต่าง ๆ
การอัปเกรด London
การอัปเกรดลอนดอน (London upgrade) เปิดตัวเมื่อวันที่ 5 สิงหาคมปี 2021 และได้ปฏิรูปตลาดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมสำหรับเครือข่าย ETH 1.0 ผ่าน EIP-1559 อย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังลดค่าธรรมเนียมก๊าซสำหรับการทำงานเฉพาะ
การอัปเกรด Altair
การอัปเกรดล่าสุดที่รู้จักกันในชื่อ Altair เปิดตัวเมื่อวันที่ 27 ตุลาคมปี 2021 การอัปเกรด Altair เป็นการอัปเกรดตามกำหนดการครั้งแรกสำหรับ Beacon Chain ของ Ethereum และเพิ่มการรองรับสำหรับ “sync committeees”
เมื่อไหร่ Ethereum 2.0 จะมา?
เหลืออีกสองขั้นตอนหลักสำหรับการเคลื่อนไหวย้ายอย่างสมบูรณ์ไปสู่ Ethereum 2.0 สองขั้นตอนนี้คือ “The Merge” และการนำ Shard Chains เข้าสู่เครือข่าย
The Merge เกิดขึ้นเมื่อ Ethereum Mainnet "ผสาน" กับ Beacon Chain ซึ่งได้เปิดใช้งานแล้ว นี่เป็นการส่งสัญญาณว่า Proof-of Work (PoW) บนเครือข่ายสิ้นสุดลงแล้ว
Shard chains ในเครือข่ายจะช่วยให้ Ethereum สามารถปรับขนาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการขยายขีดความสามารถในการประมวลผลธุรกรรมและจัดเก็บข้อมูล ส่วนสุดท้ายนี้จะเปิดตัวในหลายขั้นตอน พร้อมคุณสมบัติเพิ่มเติมต่อไป
ทั้งหมดนี้คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2022 ซึ่งถูกจับตามองอย่างกว้างขวางถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
DISCLAIMER: การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงและความผันผวนสูง มุมมองและความคิดเห็นจากผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อในการให้ข้อมูลเท่านั้น และไม่ได้เป็นการให้ข้อมูลทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่น ๆ ใด นักลงทุนควรศึกษาจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างประกอบกันและมีการควบคุมความเสี่ยงอยู่เสมอ