General

ประเทศที่แบนคริปโตเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวใน 3 ปี

1440x810 Cmsv2 855a8ddc 6bb7 5a3b 82f1 Ca707e2a07ff 6016264.jpg

แม้ว่าปี 2021 จะกลายเป็นปีที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมคริปโตตาม แต่ทว่าจำนวนประเทศที่แบนคริปโตนั้นเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวนับตั้งแต่ปี 2018

รายงานจากข้อมูลในหอสมุดรัฐสภา (Library of Congress - LOC) หรือ หอสมุดแห่งชาติในปี 2018 ระบุว่าล่าสุดได้มีการประกาศจากเพิ่มจำนวนประเทศที่แบนคริปโตอย่างจริงจังจากเดิม 8 ประเทศขึ้นเป็น 9 ประเทศ โดยกลุ่มประเทศดังกล่าวได้ดำเนินการกำหนดให้คริปโตเป็นสินทรัพย์ที่ผิดกฎหมายไปเป็นที่เรียบร้อย และ ยังมีอีก 42 ประเทศที่ได้ออกมาสั่งห้ามประกอบกิจการใด ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับคริปโต ซึ่งเดิมมีเพียง 15 ประเทศทั่วโลกเท่านั้น

ยังไม่พบสัญญาณการชะลอตัวของจำนวนประเทศที่แบนคริปโต

Bitcoin Ban Stop Depositphotos 182102372 Xl 2015 Scaled 1 1024x576.jpg

จำนวนประเทศที่สั่งแบนคริปโตนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมากภายในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา และ ยังไม่ห็นถึงสัญญาณการชะลอตัวแต่อย่างใด เนื่องจากยังคงมีรัฐบาลในอีกหลายประเทศที่กำลังศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับทางเลือกของพวกเขาอยู่ ซึ่งนอกเหนือจาก 51 ประเทศที่ได้สั่งแบนคริปโตแล้วนั้นก็ยังมีอีก 103 ประเทศที่ได้ออกนโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (Anti-Money Laundering and Combating the Financing of Terrorism: AML/CFT) มาใช้ภายในประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยพบว่าเดิมที่มีอยู่เพียง 33 ประเทศ หรือ เพิ่มขึ้นมากว่า 3 เท่านับตั้งแต่ปี 2018

ข้อมูลดังกล่าวยังระบุว่าประเทศที่ได้มีการออกมาสั่งแบนคริปโตด้วยการห้ามประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น ได้แก่ อียิปต์ อิรัก กาตาร์ โอมาน โมร็อกโก แอลจีเรีย ตูนิเซีย บังกลาเทศ และจีน ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าการสั่งแบนคริปโตของจีนนั้นตกเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในปี 2021

นโยบายกำกับดูแลคริปโตในแต่ละประเทศ

147297 1024x594.jpg

เมาเริ่มกันที่ตัวอย่างจากประเทศสวีเดน ที่ล่าสุดหน่วยงาน Watchdog ด้านการเงิน และ องค์กรคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในประเทศได้เรียกร้องให้รัฐบาลสั่งห้ามไม่ให้มีการขุดคริปโตด้วยอัลกอริธึมแบบ Proof-of-Work (PoW) เมื่อเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา เนื่องจากการทำเหมืองคริปโตนั้นต้องใช้พลังงาน และ ทรัพยากรทางธรมชาติในการดำเนินการ ซึ่งได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์จากบริษัท Melanion Capital ในปารีสอย่างรุนแรงว่าทางหน่วยงานได้รับข้อมูลที่ผิดพลาด

นอกจากนี้ประเทศเพื่อนบ้านในสหภาพยุโรปของสวีเดนอย่างเอสโตเนียก็ได้มีการนำนโยบาย AML/CFT ออกมาใช้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์เช่นเดียวกัน รัฐบาลต่างคาดการณ์ว่านโยบายดังกล่าวจะเข้ามาเปลี่ยนคำจำกัดความของผู้ให้บริการสินทรัพย์เสมือน และ ยังได้ออกคำสั่ง Implicit ban กับการเงินในรูปแบบ Decentralized Finance (DeFi) และ Bitcoin ด้วยเช่นกัน

รัฐบาลประเทศอินเดียได้สร้างความหวาดกลัวให้กับอุตสาหกรรมคริปโตอย่างมาก เมื่อฝ่ายนิติบัญญัติได้พิจารณาถึงการสั่งแบนคริปโตเมื่อปีที่ผ่านมา แม้ว่าผลลัพธ์หลังจากนั้น ทางรัฐบาลจะไม่ได้ออกมาสั่งแบนคริปโตอย่างเด็ดขาดก็ตาม แต่ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ก็ได้ผลักดันให้เกิดการเข้าควบคุมสกุลเงินดิจิทัลในฐานะสินทรัพย์คริปโต

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

ไม่พร้อมรับข่าวร้าย! นักเทรดคริปโตถูกล้างพอร์ตมูลค่ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ครั้งแรก! Bitcoin-Ethereum ETF จาก Hashdex และ Franklin Templeton ได้รับอนุมัติพร้อมกัน
Quantum BioPharma ทุ่ม $1 ล้านดอลลาร์ใน Bitcoin และคริปโต หวังกระจายความเสี่ยงป้องกันเงินเฟ้อ
นักวิเคราะห์เผย! Ethereum อาจร่วงแตะ 3,000 ดอลลาร์ หากแนวโน้มขาลงยังคงดำเนินต่อไป