🇹🇭 ข่าวในประเทศ

ก.ล.ต. ออกหลักเกณฑ์ 'การเปิดเผยคำเตือนความเสี่ยง' และ 'ห้ามให้บริการกู้ยืมคริปโต' สำหรับผู้ประกอบธุรกิจธุรกิจ

ก.ล.ต. ออกหลักเกณฑ์ การเปิดเผยคำเตือนความเสี่ยงจากการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี' และ การห้ามให้บริการ หรือสนับสนุนบริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล

ขอห้าม! ก.ล.ต. ออกหลักเกณฑ์ การเปิดเผยคำเตือนความเสี่ยงจากการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี' และ การห้ามให้บริการ หรือสนับสนุนบริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล ที่มีการจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ฝากและการให้กู้ยืม

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเปิดเผยคำเตือนความเสี่ยงจากการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีของผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้ผู้ซื้อขายได้รับข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงของคริปโทเคอร์เรนซีอย่างเพียงพอ และออกหลักเกณฑ์ห้ามผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้บริการหรือสนับสนุนการให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีการจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ฝากและการให้กู้ยืม (deposit taking & lending) เพื่อเพิ่มความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนจากความเสี่ยงของบริการดังกล่าว

ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมครั้งที่ 12/2565 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565 มีมติเห็นชอบการกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซีเปิดเผยคำเตือนความเสี่ยงจากการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี และกำหนดห้ามผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้บริการหรือสนับสนุนการให้บริการ deposit taking & lending และในการประชุมครั้งที่ 16/2565 เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565 และครั้งที่ 9/2566 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 มีมติเห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์การเปิดเผยคำเตือนความเสี่ยงจากการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

ก.ล.ต. จึงได้ดำเนินการจัดทำหลักเกณฑ์ทั้งสองเรื่องดังกล่าว ซึ่งได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. การเปิดเผยคำเตือนความเสี่ยงจากการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี

(มีผลใช้บังคับวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2566) กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี นายหน้าซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี และผู้ค้าคริปโทเคอร์เรนซี ต้องเปิดเผยคำเตือนความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซี โดยมีข้อความดังนี้ “คริปโทเคอร์เรนซีมีความเสี่ยงสูง โปรดศึกษาและทำความเข้าใจความเสี่ยงของคริปโทเคอร์เรนซีอย่างรอบด้าน เพราะท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน” ซึ่งข้อความคำเตือนต้องสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน พร้อมกับการแจ้งผลการประเมินความเหมาะสมในการลงทุน และการจัดสรรและกำหนดสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสม (basic asset allocation) ก่อนให้ลูกค้าใช้บริการ และผู้ประกอบธุรกิจจะต้องจัดให้ผู้ใช้บริการให้ความยินยอมรับทราบความเสี่ยงดังกล่าวก่อนใช้บริการด้วย

2. การห้ามผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้บริการหรือสนับสนุนการให้บริการ deposit taking & lending

โดยมีข้อยกเว้นบางประการตามที่ประกาศกำหนด (มีผลใช้บังคับวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566)

ซึ่งสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

(2.1) ห้ามรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล และนำสินทรัพย์ดิจิทัลที่รับฝากไปให้กู้ยืมหรือลงทุน และจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ฝาก

(2.2) ห้ามรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล โดยให้หรือเสนอว่าจะให้ผลตอบแทนจากการฝากสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลตอบแทนอื่นแก่ผู้ฝาก (เช่น จากงบการตลาดของบริษัท) เว้นแต่มีลักษณะเป็นการส่งเสริมการขายตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด

(2.3) ห้ามโฆษณาหรือชักชวนบุคคลทั่วไปหรือกระทำการอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการสนับสนุนการให้บริการ deposit taking & lending ตามข้อ (2.1) และ (2.2) ของผู้ให้บริการหรือบุคคลอื่น  

ที่มา: SEC Thai

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

Bitcoin อาจราคาพุ่งก่อนปรับฐาน หากสหรัฐฯ อนุมัติกองทุนสำรอง Bitcoin แห่งชาติ
ผู้ร่วมก่อตั้ง Axelar เผย! การมาถึงของ RLUSD Stablecoin จะช่วยผลักดันความต้องการ XRP อย่างมีนัยสำคัญ
MicroStrategy ส่งสัญญาณการซื้อ Bitcoin! ที่มีราคาเข้าเฉลี่ยมากกว่า 100,000 ดอลลาร์เป็นครั้งแรก
MSTR ของ Michael Saylor ก้าวสู่ Nasdaq-100 กองทุนทั่วโลกเปิดรับ Bitcoin ทางอ้อม