ข่าวธุรกิจ

Mastercard จดสิทธิบัตรโปรเจกต์ Metaverse แล้ว

Mastercard.jpg

หลังบริษัทเครดิตชั้นนำหลายแห่งเข้าบุกโจมตีตลาดดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ Mastercard ลุยจดสิทธิบัตรโปรเจกต์ Metaverse กว่า 15 รายการ

บริษัทผู้ให้บริการด้านการชำระเงินยักษ์ใหญ่ระดับโลก Mastercard ยื่นคำร้องกับทางสำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Patent and Trademark Office – USPTO) เพื่อขอจดสิทธิบัตรเครื่องหมายการค้าที่มีความเกี่ยวข้องกับ Non-Fungible Token (NFT) และ Metaverse กว่า 15 รายการ เช่น แผนการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างชุมชนเสมือนเข้ากับกับสินทรัพย์ดิจิทัล, ระบบประมวลผลบัตรชำระเงินบน Metaverse, ตลาดออนไลน์สำหรับผู้ซื้อ และผู้ขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่สามารถดาวน์โหลดเก็บไว้ได้, การจัดกิจกรรมในรูปแบบ Virtual Reality และ อีกมากมาย

Mastercard จดสิทธิบัตรโปรเจกต์ Metaverse อะไรบ้าง?

ตัวอย่างที่น่าสนใจจากกรณี Mastercard จดสิทธิบัตรโปรเจกต์ Metaverse ในครั้งนี้ ได้แก่ สโลแกน "Priceless" ที่ถูกนำไปใช้บนสื่อมัลติมีเดียประเภทต่าง ๆ  ประกอบไปด้วย ผลงานศิลปะ, ข้อความ, เสียง และวิดีโอที่ได้รับการรับรองโดย NFT ยิ่งไปกว่านั้น การยื่นขอขึ้นทะเบียนเครื่องหมายการค้าในครั้งนี้ ทาง Mastercards ยังได้ส่งสัญญาณที่จะนำโลโก้วงกลมสีแดง และสีเหลืองอันเป็นเอกลักษณ์ขององค์กรมาใช้ร่วมกับบัตรเครดิต หรือ เดบิตในการชำระค่าสินค้าและ บริการบน Metaverse และแพลตฟอร์มโลกเสมือนจริงอีกหลากหลายแห่ง

ทั้งนี้ การเดินหน้าจดสิทธิบัตรเครื่องหมายการค้าของ Mastercard เพิ่มเติมจำนวนมากนั้น เนื่องจากทางบริษัทต้องการที่ขยายชื่อเสียงขององค์กรเข้าไปสู่กิจกรรม, คอนเสิร์ต, งานกีฬา, เทศกาล และงานประกวดรางวัลบนจักรวาล Mataverse รวมไปถึงในแวดวงการศึกษาทางด้านการเงินในรูปแบบของการสัมนา และโปรแกรมต่าง ๆ นั่นเอง

การเตรียมตัวก้าวเข้ามาเป็นผู้เล่นชั้นนำบนจักรวาล Metaverse

ย้อนกลับไปในเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา Mastercard เคยออกมาประกาศเปิดรับสมัครพนักงานใหม่เพิ่มเติมจำนวนกว่า 500 คน ด้วยจุดประสงค์ที่ต้องการจะขยายบริการด้านการให้ปรึกษาแก่ธนาคาร และร้านค้าต่าง ๆ ถึงการเปิดใจยอมนำคริปโต และ NFT เข้าไปใช้ภายในบริษัทอีกด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งแน่นอนว่า ไม่ได้มีเพียงแค่ Mastercards เท่านั้น ที่เดินหน้าจดสิทธิบัตรเครื่องหมายการค้า NFT หรือ Metaverse แต่ทว่า ทางด้านคู่แข่งรายใหญ่ทั้ง 2 แห่งอย่าง Visa และ American Express เองก็ได้ออกมายื่นคำร้องต่อ USPTO ในการจดสิทธิบัตรคริปโตของตนเองเช่นเดียวกัน

การยื่นจดสิทธิบัตรครั้งแรกของ Visa นั้นได้เกิดขึ้นเมื่อปี 2020 โดยทางบริษัทตั้งใจที่จะสร้างสกุลเงินดิจิทัลประจำองค์กรขึ้นมาใหม่ ซึ่งปัจจุบันก็กำลังอยู่ในระหว่างการเดินหน้าพัฒนาเหรียญดังกล่าวบนเครือข่ายของตนเอง ในขณะที่ ทางด้านของ American Express เองก็ได้ออกมายื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรจำนวนทั้งหมด 7 รายการที่มีความเกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์การสร้างองค์กรของทางบริษัทผ่านบัตรชำระเงินเสมือนจริง รวมไปถึงการจัดหาเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกผู้ใช้งานบน Metaverse และการนำบัตรเครดิต หรือ บัตรประเภทต่าง ๆ ของบริษัทมาใช้ชำระเงินในตลาด NFT อีกด้วย

บริษัทบัตรเครดิตชั้นนำเริ่มจัดโปรแกรมช่วยเหลือนักธุรกิจคริปโต

8 E D295 E37 B471 Be F4029951365 Aa C9 Fa F6298066495 a C9 E B1 C A82 A7 D795 E66 Fe 1024x538.jpg

นอกจากนี้ ผู้ให้บริการบัตรเครดิตรายใหญ่เหล่านี้ยังได้เริ่มจัดตั้งโปรเจกต์ใหม่ ๆ หลากหลายอย่างขึ้นมา ด้วยจุดประสงค์ที่ต้องการจะรักษาสถานะการเป็นบริษัทคู่แข่งชั้นนำในเศรษฐกิจโลกเสมือนจริง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ทาง Mastercards ได้จัดตั้งโปรแกรม Start Path Crypto ชิ้นใหม่ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือกลุ่มบริษัท Startup ที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Blockchain และคริปโตขยายธุรกิจของพวกเขาขึ้นได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน ในขณะเดียวกัน Visa เองก็ได้ประกาศเปิดตัว Creator Program เพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการขยายธุรกิจขนาดเล็กแก่ผู้ประกอบการด้าน NFT เป็นระยะเวลา 1 ปีด้วยเช่นเดียวกัน พร้อมทั้งเชิญศิลปินดิจิทัลผู้เชี่ยวชาญในด้าน NFT ที่ประสบความสำเร็จจากผลงาน Aku อย่าง Micah Johnson ให้เข้ามาร่วมเป็นหนึ่งในศิลปินที่ปรึกษาที่จะชี้แนะแนวทางการสร้างธุรกิจจากประสบการณ์ที่เขาได้สั่งสมมา

หลายองค์กรเริ่มก้าวเข้ามาเป็นสมาชิกของสมาคม PCI SSC

Pci Dss 1024x572.png

การจะก้าวขึ้นมายืนเป็นผู้ให้บริการชั้นนำบนโลกดิจิทัลนั้น แน่นอนว่า การสร้างชื่อเสียง และภาพลักษณ์ที่ดีนั้นมีความสำคัญไม่แพ้สิ่งอื่นใด นอกจากนี้ เรื่องมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยยังเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่การันตีความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรได้อีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บริษัทบัตรเครดิตชั้นนำระดับโลกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น American Express, Discover, Visa, Mastercards และ JCB ต่างก็ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกของสมาคมควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลบัตรชำระเงินอย่าง PCI Security Standards Council (PCI SSC) เพื่อเดินหน้าปรับปรุงความปลอดภัยของข้อมูลการชำระเงินทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่นานมานี้ หนึ่งในหน่วยงานกำกับดูแลแอปพลิเคชันธนาคารในรูปแบบ DeFi อย่าง Scallop ก็ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสมาคม PCI SSC ด้วยเช่นเดียวกัน โดย Scallop ตั้งใจที่จะรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับอุตสาหกรรม DeFi และแนะนำให้สมาคมได้ทำความรู้จักกับโปรเจกต์ริเริ่มต่าง ๆ อีกด้วยเช่นเดียวกัน

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต

บทความที่เกี่ยวข้อง

กสิกรไทยเปิดตัว Orbix Custodian ผู้รับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับใบอนุญาตรายแรกของประเทศไทย
Ripple ได้รับการอนุมัติเบื้องต้นสำหรับใบอนุญาตทางการเงินในดูไบ
Solana พุ่งทะลุแนวต้านสำคัญ หลังรายงานเชิงบวกจาก VanEck คาดราคาอาจพุ่งถึง $330