Crypto และ Tokenization คือ “กุญแจ” ในการเพิ่ม GDP ของ UAE เป็นสองเท่า
แม้บางประเทศอาจจะมองข้ามการนำเทคโนโลยีทางการเงินรูปแบบใหม่ ๆ มาใช้กับการบริหารประเทศ แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่รัฐบาลของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กำลังจะทำ โดยพวกเขาได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของการแปลงสินทรัพย์เป็นโทเค็นเพราะเป็นการแสดงออกที่ดีของเศรษฐกิจบนฐานข้อมูล
แม้บางประเทศอาจจะมองข้ามการนำเทคโนโลยีทางการเงินรูปแบบใหม่ ๆ มาใช้กับการบริหารประเทศ แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่รัฐบาลของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กำลังจะทำ โดยพวกเขาได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของการแปลงสินทรัพย์เป็นโทเค็นเพราะเป็นการแสดงออกที่ดีของเศรษฐกิจบนฐานข้อมูล
ในการประชุมสุดยอด Global Technology Governance Summit ของ World Economic Forum (WEF) ในวันที่ 7 เมษายน นาย Abdulla Bin Touq Al Marri รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้กล่าวว่า สกุลเงินดิจิทัล และการแปลงสินทรัพย์เป็นโทเค็นจะเป็นกุญแจสำคัญในแผนการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นสองเท่า ที่ซึ่งในปัจจุบันพวกเขาคาดว่าจะสามารถก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่มั่งมีที่สุดในโลก ลำดับที่ 34 เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี
ทั้งนี้ทาง Al Marri ได้เข้าร่วมในการอภิปรายหัวข้อ “การมาถึงของเศรษฐกิจโทเค็นจากงานศิลปะไปจนถึงอสังหาริมทรัพย์” โดยศิลปินอย่าง Harry Yeff และ Sheila Warren ผู้บริหารของ WEF
ในขณะที่การสนทนาส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่ความคลั่งไคล้ของผู้คนในการเล่น Non-fungible token (NFT) ในปัจจุบัน แต่ความคิดเห็นของ Al Marri กลับมีมุมมองหลักอยู่ที่กรณีการใช้โทเค็นที่กำลังจะเกิดขึ้น และการวางกฎข้อบังคับของพวกเขา
จากข้อมูลของ Al Marri ระบุว่า UAE มีความทะเยอทะยานที่จะขยาย GDPของประเทศ 7% ต่อปีซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของพวกเขาเติบโตได้เป็นสองเท่าภายในปี 2030 โดยการแปลงสินทรัพย์เป็นโทเค็นจะเป็นฟันเฟืองสำคัญในความพยายามนี้เนื่องจาก “Tokenization นั้นเป็นการแสดงออกที่ดีของเศรษฐกิจบนฐานข้อมูล”
ในประเทศ UAE นั้นมีโครงการที่ท้าทายมากมายที่อยู่ระหว่างดำเนินการซึ่งรวมไปถึงการศึกษาเกี่ยวกับการระดมทุนขององค์กรขนาดเล็ก และขนาดกลางด้วยแพลตฟอร์มโทเค็นที่ดำเนินการโดยรัฐบาลที่ได้ดำเนินการร่วมกับ WEF ซึ่งนี่อาจกลายเป็นส่วนหนึ่งของ “การแลกเปลี่ยนโทเค็นระดับภูมิภาค”
และเมื่อ Al Marri ได้ถูกถามเกี่ยวกับวิธีที่รัฐบาลซึ่งโดยธรรมชาติแล้วจะถูกฝังลึกอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมก่อนที่โทเค็นจะเกิดขึ้น นั้นจะรับมือกับแนวคิดใหม่เหล่านี้อย่างไร และมีความจำเป็นในการควบคุมพวกเขามากแค่ไหน Al Marri ก็กล่าวว่า เป้าหมายของพวกเขาคือการปกป้องนักลงทุน และระบบการเงินขนาดใหญ่โดยไม่ต้องมีการยับยั้งการพัฒนานวัตกรรม
“เราเป็นรัฐบาล - เราเก่งเรื่องกฎระเบียบ” เขากล่าวติดตลก
เขายังเน้น Pain point สองประการที่การพัฒนาแนวทางเหล่านี้ต้องเผชิญ นั่นก็คือ การขาด “กฎระเบียบที่กลมกลืนกัน” และการขาดกฎระเบียบที่เพียงพอ โดยเขาตั้งข้อสังเกตว่าเขตอำนาจศาล และกฎระเบียบในภูมิภาคจำเป็นต้องทำงานร่วมกันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฟองสบู่แห่งนวัตกรรม และเพื่อให้แน่ใจว่ารูปแบบสินทรัพย์ใหม่ ๆ จะเป็นประโยชน์ต่อทุกคน