General

คดีฟอกคริปโตในปี 2021 เพิ่มขึ้น 25%

Bitcoin Handcuffs.jpg

คดีฟอกคริปโตในปี 2021 มีมากถึง 8.6 พันล้าน แต่ก็ยังไม่สามารถทำลายสถิติสูงสุดได้ ซึ่งโปรโตคอล DeFi ตกเป็นเป้าหมายที่ถูกก่อคดีอาชญากรรมมากที่สุด

รายงานผลการศึกษาฉบับใหม่จาก Chinalysis ผู้ให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลในตลาดคริปโต เผยมูลค่าคดีฟอกคริปโตประจำปี 2021 นั้นมีมากถึง 8.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นมากว่า 25% จากปี 2020 แต่ก็ยังคงต่ำกว่าสถิติสูงที่สุดในปี 2019 ที่มูลค่า 10.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นยอดรวมการฟอกเงินในตลาดสกุลเงินดิจิทัลนับตั้งแต่ปี 2017 อย่างไรก็ตามทางบริษัทผู้วิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวคาดการณ์ว่ามูลค่าการฟอกเงินในตลาดคริปโตที่เคยเกิดขึ้นมาทั้งหมดมีมูลค่ารวมสุทธิอยู่ที่ 3.34 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

คดีฟอกคริปโตในปี 2021 ยังคงมีสัดส่วนต่ำกว่าการฟอกเงินสด

Chinalysis ได้ออกมาชี้ให้เห็นว่ามูลค่าการฟอกเงินทั้งหมดนับตั้งแต่ปี 2017 นั้นมีจำนวนลดลง เมื่อเทียบกับการก่อคดีฟอกเงิน หรือ อาชญากรรมในรูปแบบออฟไลน์อื่น ๆ เช่น การค้ายาเสพติด เป็นต้น ในทุก ๆ ปีที่มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้การตรวจสอบปริมาณการฟอกเงินสดนั้นจะมีความยุ่งยากกว่าคริปโตมาก เนื่องจากทางหน่วยงานจะไม่สามารถตรวจสอบหาร่องรอยของการก่ออาชญากรรมออฟไลน์ได้เลย ซึ่งจากข้อมูลได้บ่งชี้ว่า

“สิ่งที่ทำให้การฟอกเงินสด และการฟอกคริปโตนั้นมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนก็คือ เทคโนโลยี Blockchain ที่มีความโปร่งใสเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ดังนั้นพวกเราจึงสามารถติดตามวิธีการย้ายคริปโตไปไว้ในกระเป๋าดิจิทัล และบริการต่าง ๆ หรือแม้แต่ติดตามวิธีการแปลงเงินจำนวนนั้นให้กลายเป็นเงินสดได้อย่างง่ายดายมากกว่านั่นเอง”

Chinalysisss.png

อาชญากรหวังได้รับผลตอบแทนเป็นคริปโตมากกว่าเงินสด

ตามข้อมูลของการวิเคราะห์ความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ยังได้ระบุเพิ่มเติมว่าปริมาณคริปโตที่ถูกฟอกไปโดยส่วนใหญ่นั้นจะเกิดขึ้นจากการก่ออาชญากรรมในตลาดคริปโต ที่มักจะมอบผลตอบแทนคืนกลับมาในรูปแบบของสินทรัพย์ดิจิทัลมากกว่าสกุลเงินสด

นอกจากนี้ จากข้อมูลของกราฟด้านล่างได้บ่งชี้ว่านี่ถือเป็นครั้งแรกหลังจากปี 2018 ที่แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนแบบรวมอำนาจ (CEX) มีอัตราส่วนการถูกฟอกเงินน้อยกว่าครึ่ง หรือ 47% ซึ่งส่งสัญญาณถึงพฤติกรรมของอาชญากรไซเบอร์ที่เปลี่ยนไป โดยระบบ Decentralized Finance (DeFi) นั้นได้ขึ้นแท่นเป็นโปรโตคอลที่ถูกอาชญากรเพ่งเล็งมากที่สุด จะเห็นได้จากปริมาณ Address ที่ผิดกฎหมายมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาเกือบ 2,000%

Chinalysis.png
Source : Chinalysis

แฮ็กเกอร์ชาวเกาหลีเหนือกลายเป็นกรณีศึกษาที่ช่วยให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น

แฮ็กเกอร์ชาวเกาหลีเหนือได้ตกเป็นประเด็นโด่งดังล่าสุดประจำเดือนมกราคมในปีนี้ไปโดยปริยาย หลังบุกเข้าเจาะระบบ และแฮ็กคริปโตจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อขโมยเงินมูลค่ากว่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจสำหรับกรณีศึกษาดังกล่าวนั้นคงจะหนีไม่พ้นการที่กองกำลังไซเบอร์กลุ่มนี้เลือกที่จะเพ่งเล็งตลาด DeFi มากกว่าตลาดอื่น ๆ เป็นพิเศษ ในขณะที่นักต้มตุ๋นรายอื่น ๆ ยังคงหันมาให้ความสนใจกับแพลตฟอร์ม CEX เช่นเดิม ซึ่งทาง Chinalysis ได้ออกมาให้เหตุผลในประเด็นนี้ว่าปัจจัยสำคัญในการเลือกก่อคดีนั้นก็คือการที่ระบบขาดความซับซ้อนนั่นเอง นอกจากนี้ทางองค์กรยังได้ออกมากล่าวเสริมว่า

“บรรดานักขุดคริปโต (Mining Pools), แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนที่มีความเสี่ยงสูง และเหล่า Mixer ยังคงพบจำนวน Address ที่ผิดกฎหมายในกลุ่มเหล่านี้เพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นเดียวกัน”

North Korea Hackers.jpeg 856x482 1.jpg

ก่อนหน้านี้กองทัพสหรัฐอเมริกาได้ออกมาเผยข้อมูลในปี 2020 ระบุว่าประเทศเกาหลีเหนือได้ซ่องสุมกองกำลังแฮ็กเกอร์ที่มีจำนวนสมาชิกมากกว่า 6,000 รายเพื่อไปประจำการยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น เบลารุส จีน อินเดีย มาเลเซีย และ รัสเซีย เป็นต้น โดยทางกองทัพได้สันนิษฐานว่ากองกำลังดังกล่าวอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ Bureau 121 ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อก่อสงครามไซเบอร์โดยเฉพาะ พร้อมกันนี้ทางองค์การสหประชาชาติ (UN) ก็ได้ออกมาสันนิษฐานเป้าหมายในการขโมยเงินของเหล่าแฮกเกอร์กลุ่มนี้เพื่อนำไปใช้สนับสนุนโครงการขีปนาวุธนิวเคลียร์ให้กับประเทศนั่นเอง

ภาพรวมการก่อคดีฟอกเงินในตลาดคริปโตยังคงต่ำกว่าสถิติสูงสุด

อย่างไรก็ตามภาพรวมการก่ออาชญากรรมในคดีฟอกเงินกลับลดลงในปี 2021 หลังพบว่าในปี 2020 Address จำนวน 583 รายการได้รับการฝากเงินด้วยมูลค่าต่ำกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ปี 2021 นั้นมี Address เพียงแค่ 270 รายการเท่านั้นที่ถูกใช้ไป

ทั้งนี้ Altcoin กลายเป็นสินทรัพย์ที่มีการกระจุกตัวของการค่อคดีฟอกเงินมากที่สุด โดยเงินของผู้เสียหายที่ถูกฟอกเงินกว่า 68% ได้ถูกฝากเข้าไปไว้ใน Address ผิดกฎหมายของเหล่าอาชญากร ในส่วนของ Ether (ETH) ก็ตกเป็นสกุลเงินเป้าหมายรายต่อไปด้วยอัตราส่วน 63% ตามมาด้วย Stablecoin ที่ 57% และ Bitcoin (BTC) ที่พบการกระจุกตัวน้อยที่สุดอยู่ที่ 19%

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

รายงาน ก.ล.ต. สรุปภาพรวมบัญชีซื้อขายที่ Active ในช่วงต้นเดือน 'เมษายน' ปี 2567
ซีอีโอ Crypto.com ชี้! Bitcoin กำลังอยู่ในจุดเริ่มต้น ของการเข้าสู่ช่วงขาขึ้น
พบผู้ถือ Memecoin เกินกว่าครึ่ง ไม่ได้รับผลกระทบ จากการปรับตัวของตลาด
 วาฬหน้าใหม่ ครอบครอง Bitcoin รวมกันไปแล้วถึง 1.8 ล้าน BTC