การลงทุน

Bitcoin ดิ่งลงแตะ $75,000 ขณะตลาดหุ้นสหรัฐเผชิญแรงเทขายหนัก เสี่ยงซ้ำรอย "Black Monday" ปี 1987

Bitcoin ดิ่งลงแตะ $75,000 ขณะตลาดหุ้นสหรัฐเผชิญแรงเทขายหนัก เสี่ยงซ้ำรอย "Black Monday" ปี 1987

นักเทรดชี้ราคา Bitcoin อาจยังคงอยู่ในตลาดขาขึ้น แม้ตลาดหุ้นจะผันผวนหนักจากความเสี่ยงเศรษฐกิจและมาตรการภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ

ราคา Bitcoin ดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 5 เดือน ท่ามกลางกระแสความวิตกเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ตลาดหุ้นอาจเผชิญกับภาวะวิกฤตซ้ำรอย "Black Monday" ในปี 1987 พร้อมกับการประกาศนโยบายภาษีนำเข้าของประธานาธิบดี Donald Trump ที่สร้างแรงสั่นสะเทือนไปยังสินทรัพย์เสี่ยง

ข้อมูลจาก Cointelegraph Markets Pro และ TradingView ระบุว่า BTC/USD ร่วงต่ำกว่า $76,000 ในวันที่ 7 เมษายนนี้ ซึ่งคิดเป็นการลดลงราว 7.6% จากระดับราคาเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า โดยตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคามีความผันผวนแบบฉับพลันหลายครั้งจากความกังวลเกี่ยวกับภาษีนำเข้าและความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจเข้าสู่ภาวะถดถอย

ราคา Bitcoin ใน 1 วันที่ผ่านมา ( ที่มา : CoinMarketCap )
ราคา Bitcoin ใน 1 วันที่ผ่านมา ( ที่มา : CoinMarketCap )

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยดัชนี S&P 500 และ Nasdaq Composite ปิดการซื้อขายในวันที่ 4 เมษายน ด้วยการร่วงลงเกือบ 6% ภายในวันเดียว

Holger Zschaepitz นักเขียนและนักวิจารณ์การเงินชื่อดัง สรุปภาพรวมผ่านแพลตฟอร์ม X ว่า “ประกาศภาษีของ Trump ในสัปดาห์นี้ได้ให้เม็ดเงินในตลาดหุ้นลดงลงไปถึง $8.2 ล้านล้าน ซึ่งมากกว่ามูลค่าที่หายไปในสัปดาห์ที่เลวร้ายที่สุดของวิกฤตการเงินปี 2008”

แรงขายที่รุนแรงส่งผลให้นักวิเคราะห์บางส่วนเริ่มวิตกว่าตลาดหุ้นอาจเผชิญภาวะซ้ำรอย Black Monday ในปี 1987 ขณะที่ Jim Cramer พิธีกรรายการ Mad Money ของ CNBC ระบุว่า “ยังไม่มีสัญญาณใดที่ชัดเจนว่าตลาดจะหลุดพ้นจากสถานการณ์ที่คล้าย Black Monday ได้”

แม้ภาวะตลาดหุ้นจะสั่นคลอนหนัก แต่ Bitcoin กลับแสดงสัญญาณต้านทานแรงขายได้อย่างน่าสนใจ โดย Max Keiser นักลงทุนผู้สนับสนุน Bitcoin ตัวยง ถึงกับโพสต์คาดการณ์ว่า “วิกฤตหุ้นในปี 1987 จะผลักดันให้ราคา Bitcoin พุ่งทะลุ 220,000 ดอลลาร์ภายในเดือนนี้” โดยให้เหตุผลว่ากระแสการไหลเข้าของเงินทุนจำนวนมหาศาลกำลังมองหาแหล่งพักปลอดภัย และ Bitcoin คือคำตอบ

Bitcoin ยืนหยัดท่ามกลางการเทขายของตลาดหุ้น

นักเทรดจำนวนมากเริ่มเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างทิศทางราคาของ Bitcoin กับตลาดหุ้น โดยหลังจาก Bitcoin ผ่านความผันผวนจากการประกาศภาษีนำเข้าในสัปดาห์ก่อน นักวิเคราะห์หลายรายมองว่าราคาของคริปโตเคอร์เรนซีเบอร์หนึ่งอาจมีโอกาสกลับมาพุ่งขึ้นอีกครั้งในช่วงสัปดาห์หน้า

Daan Crypto Trades นักเทรดคริปโตชื่อดัง ระบุว่า “ความผันผวนของ Bitcoin กำลังลดลงเรื่อย ๆ ในขณะที่ดัชนีที่ใช้วัดความผันผวนของหุ้น (VIX) ปิดตัวลงที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ช่วงวิกฤตโควิดในปี 2020... นี่เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น และจากการบีบตัวของความผันผวนแบบนี้ ผมมั่นใจว่าจะมีการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของคริปโตในสัปดาห์หน้า ไม่ว่าจะขึ้นหรือลง ก็ขึ้นอยู่กับว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะหาจุดต่ำสุดได้ตั้งแต่ต้นสัปดาห์หรือไม่”

กราฟเปรียบเทียบระหว่าง BTC/USD กับดัชนีความผันผวน VIX ( ที่มา : Daan Crypto Trades/X )
กราฟเปรียบเทียบระหว่าง BTC/USD กับดัชนีความผันผวน VIX ( ที่มา : Daan Crypto Trades/X )

ขณะเดียวกัน Cas Abbe นักวิเคราะห์อีกราย มองว่าจุดต่ำสุดที่ระดับ $76,000 ของ Bitcoin อาจเป็นสัญญาณการกลับตัว คล้ายกับเหตุการณ์การเทขายหลังการเปิดตัว Bitcoin ETF และการร่วงในเดือนสิงหาคม 2024

กราฟ BTC/USDT รายสัปดาห์ ( ที่มา : Cas Abbe/X )
กราฟ BTC/USDT รายสัปดาห์ ( ที่มา : Cas Abbe/X )

“นี่ดูไม่ต่างจากการเทขายหลังเปิดตัว ETF หรือเหตุการณ์เดือนในสิงหาคม 2024... ผมกำลังรอให้ราคารายสัปดาห์กลับมายืนเหนือ $92,000  เพื่อยืนยันแนวโน้มขาขึ้น” Abbe กล่าวผ่านโพสต์บน X

อ้างอิง : Cointelegraph

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: การลงทุนมีความเสี่ยงสูง ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนการลงทุนทุกครั้ง

ข้อมูลในบทความนี้มีจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น Cryptosiam ไม่รับประกันความสมบูรณ์ ความถูกต้อง หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลดังกล่าว และไม่มีสิ่งใดในบทความนี้ที่ควรใช้เป็นคำแนะนำหรือชักชวน ให้ซื้อหรือขายคริปโต รวมทั้งการประเมินใดๆ ไม่มีข้อความใดในบทความที่ถือเป็นคำแนะนำทางกฎหมาย วิชาชีพ การลงทุน และ/หรือทางการเงิน และ/หรือคำนึงถึงความต้องการเฉพาะ และ/หรือข้อกำหนดของแต่ละบุคคล

Cryptosiam และบริษัทในเครือ ขอปฏิเสธความรับผิด หรือความรับผิดชอบทั้งหมดเกี่ยวกับเนื้อหาของบทความ และการดำเนินการใดๆ กับข้อมูลในบทความนั้น เป็นความเสี่ยงของผู้อ่าน และถือเป็นความเสี่ยงแต่เพียงผู้เดียว

บทความที่เกี่ยวข้อง