การลงทุน

Bitcoin ETF ในสหรัฐเผชิญกระแสเงินไหลออก $1.14 พันล้านในสองสัปดาห์ ท่ามกลางความตึงเครียดทางการค้าสหรัฐจีน

Bitcoin ETF ในสหรัฐเผชิญกระแสเงินไหลออก $1.14 พันล้านในสองสัปดาห์ ท่ามกลางความตึงเครียดทางการค้าสหรัฐจีน

กองทุน Spot ETF Bitcoin ในสหรัฐฯ เผชิญกระแสเงินไหลออกมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนกดดันความเชื่อมั่นของนักลงทุน

ข้อมูลจาก Sosovalue ระบุว่า กองทุน Spot Bitcoin ETF ในสหรัฐฯ มีมูลค่าการไหลออกสุทธิมากกว่า $1.14 พันล้าน ในช่วงสองสัปดาห์ ก่อนวันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นช่วงที่มีการไหลออกของเงินทุนมากที่สุดนับตั้งแต่กองทุนเหล่านี้เปิดตัวเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2024

การขายออกในครั้งนี้มีมูลค่าสูงกว่าการไหลออกสุทธิครั้งก่อนในช่วงสองสัปดาห์ก่อนวันที่ 21 มิถุนายน 2024 ซึ่งอยู่ที่ $1.12 พันล้าน โดยในขณะนั้น Bitcoin มีราคาซื้อขายอยู่ที่ประมาณ $64,000

ยอดเงินไหลเข้าสุทธิ (Net Inflow) รายสัปดาห์ของกองทุน Bitcoin ETF ในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่เริ่มมีการซื้อขายจนถึงปัจจุบัน ( ที่มา : Sosovalue )
ยอดเงินไหลเข้าสุทธิ (Net Inflow) รายสัปดาห์ของกองทุน Bitcoin ETF ในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่เริ่มมีการซื้อขายจนถึงปัจจุบัน ( ที่มา : Sosovalue )

Marcin Kazmierczak ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของ RedStone บริษัทที่ให้บริการ Oracle บนบล็อกเชน กล่าวว่าการเคลื่อนไหวของเงินทุนใน ETF เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญต่อมุมมองของนักลงทุนสถาบันรายใหญ่ทั่วโลกที่มีต่อ Bitcoin อย่างไรก็ตาม เขาเน้นว่าควรมองแนวโน้มในระยะยาวมากกว่าการเปลี่ยนแปลงระยะสั้น

"ETF มักถูกมองว่าเป็นเครื่องมือการลงทุนระยะยาว ดังนั้นการวิเคราะห์กระแสเงินไหลเข้าและออกในช่วงหกเดือนหรือหนึ่งปีจะทำให้ภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น" Kazmierczak กล่าว เมื่อพิจารณาภาพรวมในระยะยาว เขาชี้ว่ากระแสเงินไหลเข้าสุทธิยังคงเป็นบวก แม้จะมีการขายออกในช่วงสั้นๆ

ปัจจัยกดดัน สงครามการค้าและนโยบายการเงินของสหรัฐฯ

นักวิเคราะห์มองว่าการเทขายครั้งนี้เกิดขึ้นจากความกังวลเกี่ยวกับ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน หลังจากที่มีการประกาศมาตรการขึ้นภาษีนำเข้าใหม่ นักลงทุนยังรอการประชุมระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐฯ Donald Trump และประธานาธิบดีจีน Xi Jinping ซึ่งคาดว่าจะหารือเกี่ยวกับข้อตกลงทางการค้า แต่ยังไม่มีการกำหนดช่วงเวลาการประชุมที่ชัดเจน

นอกจากความตึงเครียดด้านการค้าแล้ว ความคาดหวังเกี่ยวกับ อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการไหลออกของเงินทุนจาก Bitcoin ETF

Kazmierczak ยังกล่าวอีกว่า "แม้ว่าจะมีแรงขายในระยะสั้น แต่นักลงทุนสถาบันรายใหญ่ยังคงถือครอง Bitcoin ผ่านกองทุน ETF อย่างต่อเนื่อง" โดยชี้ให้เห็นว่า Abu Dhabi Sovereign Wealth Fund หรือกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ Wisconsin’s Pension Fund หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญสำหรับพนักงานรัฐของรัฐวิสคอนซิน ยังคงถือ Bitcoin เป็นจำนวนมากผ่านกองทุน ETF แม้เผชิญกับแรงกดดันจากตลาดในช่วงที่ผ่านมา

แม้ Bitcoin ETF ในสหรัฐฯ จะเผชิญกระแสเงินไหลออกมากเป็นประวัติการณ์ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่แนวโน้มในระยะยาวยังคงเป็นบวก โดยนักลงทุนสถาบันขนาดใหญ่ยังคงถือครองสินทรัพย์นี้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดยังคงจับตาความเคลื่อนไหวด้านการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมถึงนโยบายการเงินของ Fed ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดทิศทางของ Bitcoin ในระยะต่อไป

อ้างอิง : Cointelegraph

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: การลงทุนมีความเสี่ยงสูง ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนการลงทุนทุกครั้ง

ข้อมูลในบทความนี้มีจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น Cryptosiam ไม่รับประกันความสมบูรณ์ ความถูกต้อง หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลดังกล่าว และไม่มีสิ่งใดในบทความนี้ที่ควรใช้เป็นคำแนะนำหรือชักชวน ให้ซื้อหรือขายคริปโต รวมทั้งการประเมินใดๆ ไม่มีข้อความใดในบทความที่ถือเป็นคำแนะนำทางกฎหมาย วิชาชีพ การลงทุน และ/หรือทางการเงิน และ/หรือคำนึงถึงความต้องการเฉพาะ และ/หรือข้อกำหนดของแต่ละบุคคล

Cryptosiam และบริษัทในเครือ ขอปฏิเสธความรับผิด หรือความรับผิดชอบทั้งหมดเกี่ยวกับเนื้อหาของบทความ และการดำเนินการใดๆ กับข้อมูลในบทความนั้น เป็นความเสี่ยงของผู้อ่าน และถือเป็นความเสี่ยงแต่เพียงผู้เดียว

บทความที่เกี่ยวข้อง

Bitcoin ร่วงลงแตะระดับแนวรับ ขณะที่ข้อมูลเผยสัญญาณ “วาฬเคลื่อนไหว" อย่างมีนัยสำคัญ
เร็วกว่าที่คิด! นักวิเคราะห์ชี้ตลาดประเมินต่ำเกินไปว่า Bitcoin จะทำจุดสูงสุดใหม่ได้เร็วแค่ไหน
ตลาดคริปโตอาจเผชิญแรงกดดัน! นักวิเคราะห์มองความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ ปี 2025 อยู่ที่ 40%
ตลาดการเดิมพันคริปโตชี้ Bitcoin อาจไม่สามารถพุ่งทะลุ $138,000 ในปี 2025