General

“อินทนนท์” เงินบาทดิจิทัลกับโอกาสในการใช้งานผ่าน DeFi

Inthanon Project 1.jpg

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำลังจะยกระดับสกุลเงินบาทดิจิทัลของประเทศไทยให้ก้าวไปอีกขั้น ด้วยการพิจารณาประเมินโอกาสปรับใช้ “อินทนนท์” เข้ากับ Smart Contract และระบบ Decentralized Finance (DeFi)

ธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังศึกษาด้าน Smart Contracts และ Decentralized Finance (DeFi) อย่างใกล้ชิด นี่ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งที่น่าจับตามองของการพัฒนาเงินบาทให้ก้าวทันยุคสมัยที่ อะไรรอบตัวก็พัฒนาอย่างรวดเร็วจนมานั่งเสียเวลารอไม่ได้

Vijak Sethaput.jpeg
นายวิจักขณ์ เศรษฐบุตร รองผู้อำนวยการฝ่ายตลาดการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย

นายวิจักขณ์ เศรษฐบุตร รองผู้อำนวยการฝ่ายตลาดการเงินและนักพัฒนาอาวุโสของโครงการอินทนนท์ ซึ่งเป็นโครงการสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับความคืบหน้าของการออกสกุลเงินบาทดิจิทัลระหว่างการให้สัมภาษณ์ที่จัดโดย Official Monetary and Financial Institutions Forum (OMFIF)

Decentralized Finance ใบเบิกทางสำหรับอนาคต

นายวิจักขณ์ เผยว่า ธปท. กำลังติดตามดูพัฒนาการของระบบเทคโนโลยีทางการเงินที่เปิดกว้างอย่าง DeFi โดยข้อดีของมันคือการทุกฝ่ายมีอำนาจในการตรวจสอบและจัดการเงินดิจิทัลของตนเอง แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่จะนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้กับสกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติของไทยได้ ทางธนาคารแห่งประเทศไทยเองจะต้องหาทางแก้ไขปัญหาใน 2 ประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการเงินที่เปิดกว้างชนิดนี้ นั่นคือด้านการระบุอัตลักษณ์ของลูกค้าและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับนโยบายความเป็นส่วนตัว

Sky Guo 1024x853.png
Sky Guo ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Cypherium

ขณะเดียวกัน Sky Guo ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทด้านบล็อกเชนในนิวยอร์กอย่าง Cypherium ซึ่งเป็นองค์กรที่มุ่งความสนใจไปในด้ายการประยุกต์ใช้สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางทั่วโลกโดยเฉพาะ ได้ร่วมแสดงความเห็นว่า นานาประเทศทั่วโลกนั้นสามารถหยิบยืมโมเดลของ DeFi มาใช้โดยชอบต่อกฎหมายเพื่อเป็นตัวกลางในการเปิดทางให้หน่วยงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสามารถออกสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีทรัพย์สินจริง ๆ หนุนหลัง ไม่ว่าจะเป็นหุ้น หรืออสังหาริมทรัพย์และนำมาใช้เป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินสกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติ (CBDC) ได้ โดยเขานั้นเชื่อมั่นว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบเศรษฐกิจได้อย่างดีเยี่ยม

ทาง นายวิจักขณ์ เองยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การนำ Smart Contract หรือสัญญาอัจฉริยะมาใช้นั้นเป็นขั้นตอนสำคัญขั้นต่อไปของโครงการอินทนนท์

“เราได้ศึกษาการทำงานของ Smart Contract ตามที่ Sky ได้อธิบาย โดยทำวัฎจักรวงจรของพันธบัตรจำลองขึ้นมา ที่ซึ่งกำหนดให้สามารถทำการแลกเปลี่ยนระหว่างกันได้ ทั้งยังมีฟังก์ชันที่คล้ายกับการจำนำให้ผู้ถือพันธบัตรสามารถขาย และกลับมาซื้อคืนในภายหลังได้อีกด้วย”

ก่อนหน้านี้ธนาคารแห่งประเทศไทยเองได้เคยทำการทดลองการใช้ CBDC ในการทำธุรกรรมกับบรรดาบริษัทขนาดใหญ่ไปแล้วเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา และ ณ ขณะนี้กำลังก้าวเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปในขยายขอบเขตการใช้ “อินทนนท์” ในการทำธุรกรรมกับธนาคารกลางฮ่องกง

ถ้าไม่ปรับตัวระวังจะตกขบวน

ความเห็นจากธนาคารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางกระแสความนิยมของอุตสาหกรรม DeFi ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาล โดยอุตสาหกรรม DeFi ขยายตัวทุบสถิติเป็นประวัติการณ์ในปีนี้หลังบริษัทเอกชนทั่วโลกต่างเพิ่มการลงทุนใน Crypto Asset มากขึ้นเรื่อย ๆ

โดย Defipulse เว็บไซต์ฐานข้อมูลสำหรับการดำเนินงานด้าน Decentralized Finance ที่น่าเชื่อถือ ได้เผยข้อมูลว่า มูลค่าสินทรัพย์ที่ถูกล็อกไว้บนระบบ DeFi นั้นแตะจุดสูงสุดใหม่ในประวัติศาสตร์ที่ 5,240 ล้านดอลลาร์สหรัฐไปเรียบร้อยแล้ว

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

ไม่พร้อมรับข่าวร้าย! นักเทรดคริปโตถูกล้างพอร์ตมูลค่ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ครั้งแรก! Bitcoin-Ethereum ETF จาก Hashdex และ Franklin Templeton ได้รับอนุมัติพร้อมกัน
Quantum BioPharma ทุ่ม $1 ล้านดอลลาร์ใน Bitcoin และคริปโต หวังกระจายความเสี่ยงป้องกันเงินเฟ้อ
นักวิเคราะห์เผย! Ethereum อาจร่วงแตะ 3,000 ดอลลาร์ หากแนวโน้มขาลงยังคงดำเนินต่อไป