General

อดีตเลขาฯ ก.ล.ต.ไทยชี้ปัญหาภาษีคริปโต 3 ข้อใหญ่

ก.ล.ต. สัมมนา Fin Tech.jpg

ทิศทางการกำกับดูแลคริปโตในไทยจะดำเนินต่อไปอย่างไร หลังอดีตเลขาฯก.ล.ต.ได้ออกมาชี้ทางออกแก้ไขปัญหาภาษีคริปโต 15% ให้กับกรมสรรพากร

รายงานจากสำนักข่าว Nation ระบุว่า นางทิพยสุดา ถาวรามร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านเศรษฐกิจการเงิน) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) และอดีตรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ออกมาตั้งคำถาม และแสดงความคิดเห็นต่อการตัดสินใจของกรมสรรพากรในระหว่างการหารือถึงข้อกำหนดเรียกเก็บภาษีคริปโตในไทย ระบุว่า

“ไม่ว่านโยบายดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการค้าได้หรือไม่ก็ตาม กรมสรรพากรควรเก็บภาษีประชาชนอย่างเป็นธรรมภาใต้หลักเกณฑ์ และแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน”

ทั้งนี้อดีตรองเลขาธิการก.ล.ต.ยังได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาภาษีคริปโต 3 ข้อสำคัญที่กรมสรรพากรแห่งประเทศไทย และประเทศอื่น ๆ ควรนำไปพัฒนา

ปัญหาภาษีคริปโต 3 ข้อใหญ่มีอะไรบ้าง?

อดีตรองเลขาฯ ก.ล.ต. ได้ออกมาโพสต์ลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัวของเธอ พร้อมระบุถึงปัญหา 3 ข้อสำคัญที่กรมสรรพากรควรนำไปปรับปรุง ได้แก่ ภาษีกำไรจากการขาย (Capital gains tax), ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และ ภาษีจากการออกและเสนอขาย Token โดยเธอได้อธิบายถึงรายละเอียดของปัญหาต่าง ๆ ดังนี้

4 D Qpj Utz L Uwm Jzzp G0md Zht M Twz Cxs Cufpch5p U He Afg.jpg

ปัญหาจากการเก็บภาษีกำไรจากการขาย (Capital gains tax)

การเรียกเก็บภาษีจากกำไรในการซื้อขายคริปโตของกรมสรรพากรที่เกิดชึ้นนั้นคุณทิพยสุดามองว่าเป็นไปอย่างไม่ยุติธรรม และนำไปใช้จริงไม่ได้ เนื่องด้วยแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโตนั้นเป็นเพียงสื่อกลางไม่ใช่ผู้รับผิดชอบในการจ่ายกำไรในการลงทุนให้แก่ลูกค้า นอกจากนี้เธอยังได้อธิบายถึงความยุ่งยากในการจัดเก็บภาษีในรูปแบบนี้ที่อาจส่งผลให้บริษัทผู้ให้บริการการชำระเงินด้วยคริปโตจำเป็นต้องเก็บภาษีจากกำไรผลกำไรจากส่วนต่างของราคาหลักทรัพย์ (Capital Gain) จากลูกค้าด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นทางออกที่เหมาะสมสำหรับปัญหาในข้อนี้นั้นมีทั้งหมด 3 ทางด้วยกัน ได้แก่ ละเว้นการเก็บภาษีคริปโตเหมือนกับที่ละเว้นไม่เก็บภาษีจากการถือหุ้น, ควรเก็บภาษีจาก Net gain ทั้งปีเพื่อไม่ต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย และวิธีสุดท้ายคือการเก็บภาษีในรูปแบบ transaction tax จากมูลค่าการซื้อขายแทน

ปัญหาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

ปัญหาในหัวข้อนี้ คุณทิพยสุดา ได้ยกตัวอย่างการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT/GST) ให้กับนักลงทุนคริปโตในประเทศสิงคโปร์ และออสเตรเลีย เพื่อเรียกร้องให้กรมสรรพากรนำไปปรับใช้เพื่อส่งเสริมให้เกิดการยอมรับคริปโตในประเทศเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันทางหน่วยงานยังคงมองว่าคริปโตเป็นสินค้าไม่ใช้สินทรัพย์ ซึงส่งผลกระทบร้ายแรงต่อธุรกิจคริปโตในวงกว้าง อาจทำให้บริษัทต่าง ๆ หนีไปจดทะเบียนตั้งบริษัทนอกประเทศก็เป็นได้

ปัญหาจากภาษีจากการออกและเสนอขาย Token

ทั้งนี้ในประเด็นสุดท้าย คุณทิพยสุดา เผยถึงการหารือกับกรมสรรพากรเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมาถึงกรณีการออก Investment Token ที่ไม่ควรถือเป็นเงินได้ในการนำมาคำนวณภาษี แต่ทว่าจนถึงปัจจุบันทางหน่วยงานก็ยังไม่ได้มีการออกมาเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบในประเด็นนี้แต่อย่างใด ซึ่งนั่นอาจสร้างความวุ่นวายครั้งใหญ่ให้กับอุตสาหกรรมคริปโตในอนาคตได้

อย่างไรก็ตามเธอได้กล่าวทิ้งท้ายการสรุปประเด็นทั้งหมดว่าทางกรมสรรพากรควรแยกแยะประเด็นให้ดี ไม่ควรนำไปปนกัน โดยให้คำนึงถึงประเด็นคำถามทั้ง 4 ช้อ ได้แก่ เป็นธรรมหรือไม่? (Fairness), ชัดเจนหรือไม่? (Clarity), ปฏิบัติได้หรือไม่? (Practicability) และส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้หรือไม่? (Promotion)

ภากร 1024x683.jpg

ล่าสุดทางรัฐบาลไทยได้ออกมาเคลื่อนไหวต่อประเทศการเก็บภาษี 15% จากการซื้อขายคริปโต โดยผู้ประกอบการด้านการเงินทั้งในอดีต และปัจจุบันหลายรายต่างก็ออกมาช่วยชี้แนะถึงความกังวลของพวกเขาที่มีต่อปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเมื่อวันที่ 16 มกราคม ที่ผ่านมา ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการแห่งตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทยก็ได้ออกมากล่าวว่าการเรียกเก็บภาษีคริปโตครั้งนี้จะบ่อนทำลายการเติบโตของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างแน่นอน

การขาดความรู้พื้นฐานอาจนำไปสู่การออกข้อกำหนดที่ไม่ชัดเจน

เป็นระยะเวลาหลายปีแล้วที่ประเด็นการยอมรับคริปโตให้กลายเป็นสินทรัพย์ที่ถูกกฎหมายนั้นต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย ซึ่งดูเหมือนว่าอุปสรรคใหม่ที่เกิดขึ้นนั้นจะเกี่ยวข้องกับการเก็บภาษีคริปโต หลายประเทศทั่วโลกที่มุ่งเน้นจัดเก็บกำไรจากการซื้อขายคริปโตโดยส่วนใหญ่นั้นมักขาดความรู้พื้นฐานในตัวสินทรัพย์ดังกล่าว ส่งผลให้เกิดความยกลำบากในการกำหนดนโยบายการเก็บภาษีที่เป็นธรรม นอกจากประเทศไทยแล้ว ทางด้านสาธารณรัฐเกาหลี หรือ เกาหลีใต้ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการเสนอให้เก็บภาษีคริปโต 20% จากกำไรการเทรดคริปโตเช่นกัน อย่างไรก็ตามกฎระเบียบในข้อนี้ถูกลงมติให้เลื่อนกำหนดการปรับใช้ออกไปอีก 1 ปีเนื่องจากขาดความชัดเจน

South Korea Crypto Tax 1024x538.png
ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต

บทความที่เกี่ยวข้อง

ก.ล.ต. ร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัล ส่งมอบข้อมูลกระดานเทรดที่ไม่ได้รับอนุญาต ให้พิจารณาปิดกั้นการเข้าถึง!
นักวิเคราะห์ดัง เผย! ความสำคัญของ Bitcoin ต่อตลาดคริปโต อาจลดลงในอนาคต
กองทุน Bitcoin ETF ของ 'BlackRock' ไม่มีเงินลงทุนไหลเข้ามาเป็นครั้งแรก
พบ ‘วาฬขนาดใหญ่’ โยกย้าย USDC กว่า 1.3 พันล้านดอลล์ เข้ากระดาน Coinbase