Blockchain

WEF วางแผนติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย Blockchain

Photo 1580064461598 505b080a8242.jpg

สภาเศรษฐกิจโลกเปิดตัวการทดสอบการใช้งานโปรแกรมติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของห่วงโซ่อุปทานโดยใช้ Blockchain เพื่อการสร้างสังคมที่ดีผ่านการทำธุรกิจและค้นคว้าถึงความซับซ้อนในห่วงโซ่อุปทาน

โครงการควบคุมดูแลอุตสาหกรรมเหมืองแร่ด้วยบล็อกเชน หรือ Mining and Metals Blockchain ของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum : WEF) ได้เปิดตัวการทดสอบการใช้งานจริงผ่านโครงการการติดตามการปล่อยมลพิษทั่วทั้งห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) โดยใช้ Distributed Ledger Technology (DLT) เป็นตัวขับเคลื่อนหลัก ซึ่งการทดสอบในครั้งนี้ถือเป็นตัวชี้วัดสำคัญต่อความเป็นไปได้ของโครงการ

การเร่งให้เกิดความชัดเจนในห่วงโซ่อุปทาน

WEFได้ทำการร่วมมือกับบริษัทระดับโลกทั้ง 7 แห่งในการทดลองโครงการดังกล่าว โดยทางสภาเศรษฐกิจโลกนั้นมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมแนวทางการแก้ปัญหาภายในอุตสาหกรรมเพื่อตอบสนองต่อข้อกำหนด ESG (Environmental, Social and Governance) ซึ่งเป็นแนวคิดของการสร้างสังคมที่ดีผ่านการทำธุรกิจ และพวกเขายังตั้งใจจะสร้างความโปร่งใสในห่วงโซ่อุปทานอีกด้วย

ตามการแถลงการณ์ระบุ

“ความสำเร็จในการทดสอบโครงการริเริ่มที่มีชื่อว่า Carbon Tracing Platform หรือ COTจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยตรวจสอบแหล่งที่มาของการปล่อยมลพิษจากการขุดเจาะของผลิตภัณฑ์ในขั้นตอนสุดท้าย โดยมุ่งเน้นไปที่การตรวจสอบกระบวนการการผลิตแบบ End-To-End ซึ่งแพลตฟอร์ม COT จะใช้เทคโนโลยี ระบบ Distributed Ledger Technology (DLT) ในการติดตามการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ (CO₂)”

แนวคิดของโครงการ COT ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมปี 2019 หลังจากสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งโครงการอย่าง Tata Steel, Anglo American และ Eurasian Resources Group ได้ร่วมมือกันในการออกแบบ และค้นหาแนวทางที่จำเป็นต่อการดำเนินงานด้วย Blockchain เพื่อช่วยเร่งการดำเนินการตามหาแหล่งที่มาของการขุดเจาะ

การจัดการกับความซับซ้อนในห่วงโซ่อุปทาน

สภาเศรษฐกิจโลกออกมายอมรับว่าโครงการ Blockchain ไม่ได้เป็นแค่เพียงตัวทดสอบความเป็นไปได้ของแนวทางการแก้ปัญหาการดำเนินงานทางด้านเทคนิคเท่านั้น แต่ยังเป็นการค้นคว้าถึงความซับซ้อนในห่วงโซ่อุปทานอีกด้วย เหตุนี้เองการทดสอบโครงการริเริ่มข้างต้นจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตอบสนองต่อความต้องการของเหล่านักลงทุนในการสร้างความรับผิดชอบ และความชัดเจนให้แก่การนำแร่ต่าง ๆ เข้ามาสู่ตลาด หรือที่เรียกว่า “Mine To Market”

Jörgen Sandströmหัวหน้าฝ่าย อุตสาหกรรมเหมืองแร่ ระบุว่า

“ความต้องการโลหะ และแร่ธาตุต่าง ๆ เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ความต้องการให้ห่วงโซ่อุปทานมีความยั่งยืน, มีความรับผิดชอบ และสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้มีเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน”

เขากล่าวเสริม

“มีความเป็นไปได้ที่จะสร้างห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) ที่สมบูรณ์ไปพร้อมกับการสร้างความชัดเจนที่ปลายทางการผลิต และด้วยความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแล ที่ทำงานร่วมกับเราเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการ ESG Standards, ปฏิบัติตามแผนความยั่งยืนที่ได้รับการรับรอง และขอบเขตการประกันอย่างเคร่งครัด”

WEF ดูท่าจะถูกใจ Blockchain เป็นอย่างมาก

ก่อนหน้านี้ในเดือนตุลาคม ทางสภาเศรษฐกิจโลกเปิดตัวมาตรการ Blockchain ในชื่อ Global Standards Mapping Initiative (GSMI) ที่รวบรวมศาลกว่า 185 แห่ง, หน่วยงานกำหนดมาตรการทางเทคนิค 30 แห่ง และกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ เกือบ 400 แห่งเข้าไว้ด้วยกัน โดยมีเป้าหมายในการเป็นทรัพยากรเพื่อผลักดันภาคอุตสาหกรรม Blockchain ให้ก้าวไปข้างหน้า

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันตลาดคริปโต กำลังขาดเงินทุน สำหรับการทำขาขึ้นรอบต่อไป
นักวิเคราะห์ดัง เตือน! ตลาดคริปโตอาจ ‘ปรับฐาน’ ในไตรมาสที่ 2
พบ ‘วาฬดึกดำบรรพ์’ เริ่มเคลื่อนไหวเป็นครั้งแรก ในรอบ 10 ปี
เปิดบทวิเคราะห์ Cardano ! ส่วนหาแนวรับ/แนวต้านสำคัญ