Blockchain

ชอบนัก! พบวอลุ่มซื้อขาย LUNA ในไทย 70% เกิดขึ้นหลังเหรียญพัง!

Template Private 14.png

ก.ล.ต. เจาะพฤติกรรม 'ชาวไทย' ต่อกรณี LUNA พบปริมาณการซื้อขายกว่า 70% เกิดขึ้น 'หลังเหรียญพัง' และนักลงทุนมากถึง 96% ขาดทุน

วันที่ 14 กรกฎาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือ ก.ล.ต. ได้ออกมา กล่าวถึง เหตุการณ์สำคัญของตลาดสกุลเงินดิจิทัลในช่วงที่ผ่านมาอย่างการล่มสลายของบล็อกเชน Terra รวมไปถึงเหรียญดั้งเดิมของเครือข่าย LUNA และเหรียญ Stablecoin อย่าง UST

ก.ล.ต. วิเคราะห์พฤติกรรม 'ชาวไทย' ต่อเหตุการณ์

บทวิเคราะห์ในครั้งนี้จัดทำขึ้นโดย นายพงศธร ปริญญาวุฒิชัย ฝ่ายวิจัย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่ได้ศึกษาถึงพฤติกรรมและลักษณะบัญชีของผู้ซื้อขาย LUNA ในไทยว่ามีพฤติกรรมเป็นอย่างไร?

จากผลการศึกษาระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2565 – 22 พฤษภาคม 2565 โดยแบ่งออกเป็นเหตุการณ์สำคัญ 3 ช่วงโดยใช้ราคาของ LUNA เป็นจุดอ้างอิง ดังนี้

  1. Pre – stage หรือ ช่วงก่อนวันที่ 9 พฤษภาคม 2565 คือ ช่วงเวลาก่อนที่ราคาของเหรียญ UST กำลังจะหลุดจากการตรึงมูลค่ากับ USD 
  2. Fall – stage หรือ ช่วงระหว่างวันที่ 9 – 13 พฤษภาคม 2565 คือ ช่วงเวลาที่ราคาของเหรียญ UST หลุดจากการตรึงมูลค่ากับ USD 
  3. Bottom out – stage หรือ ช่วงหลังจากวันที่ 13 พฤษภาคม 2565 คือ ช่วงเวลาที่ราคาของเหรียญ  LUNA ร่วงหล่น ไปสู่จุดต่ำสุดและกระดานเทรดสกุลเงินดิจิทัลในประเทศไทยได้ประกาศระงับกิจกรรมการซื้อขายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเหรียญ  LUNA เป็นระยะเวลาชั่วคราว 1 วัน

โดยเมื่อดูภาพรวมของบัญชีที่เข้ามาซื้อขายในปี 2565 นั้นมีอยู่ทั้งหมด 315,077 บัญชี โดยมีสัดส่วนเป็นบัญชีผู้ลงทุนในประเทศประมาณ 99% และผู้ลงทุนประเภทอื่นๆ อีกประมาณ 1% ซึ่งจํานวนบัญชีส่วนใหญ่ที่เข้ามาซื้อขายนั้นมีขนาดพอร์ตอยู่ในช่วง 5,000 – 1,000,000 บาท และแบ่งจํานวนบัญชีตามช่วงเวลาที่ทําการศึกษาได้ดังนี้ 

  1. Pre – stage จำนวน 36,396 บัญชี คิดเป็น 11.55%
  2. Fall – stage จำนวน  57,300 บัญชี คิดเป็น 18.19%
  3. Bottom out – stage จำนวน 221,381 บัญชี คิดเป็น 70.26%
Screen Shot 2565 07 14 at 21.14.37 1024x388.png

จากข้อมูลจํานวนบัญชีที่เข้ามาซื้อขาย LUNA ทั้งหมดพบว่า มีบัญชีจํานวน 211,723 บัญชี โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 67% ที่มีประสบการณ์ซื้อขายเหรียญประเภทอื่นมาก่อน แต่ยังไม่เคยซื้อ LUNA และเพิ่งเริ่มเข้ามาซื้อขายในช่วง Bottom out รวมถึงกลุ่มบัญชีที่เข้ามาเพื่อเก็งกําไรในเหรียญ LUNA เพียงอย่างเดียวอยู่ที่ 9,658 บัญชี โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 3%

โดยเมื่อมองภาพรวมของผู้ซื้อขายเหรียญ LUNA พบว่า มีนักลงทุนที่ขาดทุนกว่า 96% และข้อมูลยังระบุอีกว่า จํานวนบัญชีส่วนใหญ่ที่ขาดทุนนั้นเป็นบัญชีที่เพิ่งสมัครและเริ่มเข้ามาซื้อขายในช่วง Bottom-out เท่านั้น

Screen Shot 2565 07 14 at 21.14.24 1024x436.png

และเมื่อสรุปผลกําไร/ขาดทุนของบัญชีผู้ซื้อขายแต่ละกลุ่มการศึกษาในกระดานเทรดสกุลเงินดิจิทัลในประเทศไทย พบว่า มีผลขาดทุนสุทธิอยู่ที่ประมาณ 980 ล้านบาท ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่เป็นบัญชีปของบุคคลภายในประเทศ โดยบัญชีส่วนใหญ่นั้นเข้ามาในช่วงที่เกิดการลดลงอย่างมหาศาลหรือ Fall ซึ่งเป็นกลุ่มบัญชีที่มีการขาดทุนมากที่สุด

Screen Shot 2565 07 14 at 21.14.15 1024x457.png

บทวิเคราะห์ฉบับเต็มจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ => LINK

ผลกระทบจากการล่มสลายของ LUNA และ UST ต่อตลาดคริปโต

ผลกระทบจากการล่มสลายของ LUNA และ UST ต่อตลาดคริปโต

  1. Three Arrows Capital หรือ 3AC  เป็นบริษัทที่ได้ฝาก UST จำนวนมากใน Anchor Protocol เพื่อหวังที่จะได้รับดอกเบี้ยกว่า 20% ที่แพลตฟอร์มจะมอบให้ และจากเหตุการณ์การโจมตี UST และการลดลงของ LUNA ที่เกิดขึ้น ทำให้บริษัทขาดทุนอย่างมหาศาลกว่า 200 ล้านดอลลาร์ และยังส่งผลให้ 3AC ต้องผิดนัดชำระหนี้ซึ่งต้องจ่าย Bitcoin จำนวน 15,250 เหรียญและ USDC อีกจำนวน 350 ล้านเหรียญ ให้กับ Voyager Digital ทำให้ 3AC นั้นต้องเผชิญกับวิกฤตทางการเงินครั้งสำคัญและยื่นฟ้องล้มละลายเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา
  2. Voyager Digital ก็เป๋นอีกหนึ่งในบริษัทที่ได้รับผลพวงจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ บริษัทได้รังความเสียหายอย่างหนักจากการเทขายและการผิดนัดชำระหนี้ ทำให้บริษัทได้ยื่นฟ้องล้มละลาย เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ตามหลัง 3AC มาติดๆ
  3. Uprise สตาร์ทอัพที่ให้บริการในการรับฝากและเป็นแพลตฟอร์มการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลสูญเสียทรัพย์สินประมาณ 99% Uprise สตาร์ทอัพในเกาหลีใต้ขาดทุนกว่า 20 ล้านดอลลาร์ จากการเปิด Short LUNA จากการชำระบัญชีในครั้งนั้นก็ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อสินทรัพย์ของลูกค้ากว่า 20 ล้านดอลลาร์ ซึ่งทำให้Uprise นั้นสูญเสียทรัพย์สินไปกว่า 99%
  4. และล่าสุดคือ Celsius Network ที่แม้จะใช้หนี้กับ Compound, Aave และ MakerDAO ไปอย่างมหาศาล แต่บริษัทก็ไม่สามารถยื้อเหตุการณ์ทางการเงินที่ร้ายแรงซึ่งเกิดขึ้นกับบริษัทได้ไว้ และในที่สุดก็ได้ยื่นล้มละลายในวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 

ไม่เพียงเท่านั้น การลดลงในครั้งนี้ยังสร้างความหวาดกลัวและความวิตกกังวลให้นักลงทุนภายในตลาดสกุลเงินดิจิทัลเป็นอย่างมาก ซึ่งส่งผลให้ราคาของ Bitcoin และสกุลเงินดิจิทัลลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือน ซึ่งถือว่าเป็นตลาดหมีที่ยาวนานและโหดร้ายที่สุดครั้งหนึ่งที่เคยเกิดขึ้นในตลาดสกุลเงินดิจิทัลกันเลยทีเดียว

Terra Blockchain คืออะไร?

Terra เป็นเครือข่ายบล็อกเชน Layer1 ที่มีเหรียญ LUNA เป็น Native Token และมี UST เป็นเหรียญ Stablecoin ของเครือข่ายที่มีหนุ่มชาวเกาหลีใต้อย่าง Do Kwon เป็นผู้อยู่เบื้องหลังและได้ก่อตั้งเครือข่ายขึ้นมาในปี 2018 

กระแสความนิยมของ Terra นั้นค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากตลาดกระทิงครั้งล่าสุดที่พาให้ LUNA ขึ้นไปทำสถิติสูงสุด ประกอบกับ Anchor Protocol ที่สร้างความนิยมให้กับ UST ด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงถึง 20% ต่อปี และด้วย Anchor Protocol นี่เองที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ Death Spiral ซึ่งร้ายแรงและส่งผลให้ Terra บล็อกเชนล่มสลายลงในที่สุด

Sdkfm 1024x341.jpeg

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับ LUNA และ UST

 ในปีที่ผ่านมา LUNA ซึ่งเป็นเหรียญดั้งเดิมของเครือข่าย Terra นั้นให้เพิ่มขึ้นกว่า 16,674% ขึ้นไปทําจุดสูงสุดตลอดกาลที่ 119.18 ดอลลาร์ในเดือนเมษายน 2565 แต่หลังจากที่เหรียญ UST ซึ่งเป็นเหรียญ Stablecoin ประจําเครือข่าย Terra ซึ่งที่มี Algorithm Stablecoin เป็นกลไกในการตรึงมูลค่ากับ USD (ดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งผูกอยู่กับเหรียญ LUNA ไม่สามารถตรึงมูลค่ากับ USD เอาไว้ได้ ทําให้เกิดการสูญเสียความเชื่อมั่นจากนักลงทุน ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ Death Spiral ที่มีการเทขายเหรียญ UST ออกมาอย่างต่อเนื่องจนกระทบต่อมูลค่าของเหรียญ LUNA ที่ร่วงหล่นจากระดับสูงสุดตลอดกาลมาเหลือเพียงไม่ถึงบาทภายในเวลาไม่กี่วัน

และเมื่อเหตุการณ์ต่างๆ จบลงด้วยสภาพของนักลงทุนที่ขาดทุนยับเยินและนอนจมกองเลือดกันทั่วทั้งตลาด สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ก็ได้ออกมาสรุปถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและพฤติกรรมของนักลงทุนชาวไทยที่มีต่อเหตุการณ์ล่มสลายครั้งสำคัญของตลาดสกุลเงินดิจิทัลในครั้งนี้

DISCLAIMER: การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง และความผันผวนสูง มุมมองและความคิดเห็นจากผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาที่จะชี้นำในการให้ข้อมูลทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่น ๆ แต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบ รวมไปถึงควรดำเนินการควบคุมความเสี่ยงอยู่เสมอ 

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง