Blockchain

Royal เริ่มขาย NFT เพื่อพัฒนาวงการดนตรี

3lau 3784.jpg

แพลตฟอร์มดนตรี Royal เริ่มขาย NFT หลังประกาศปิดกองทุน Series A ที่มูลค่า 55 ล้าน หวังนำเงินทุนไปพัฒนาวงการดนตรี และ แก้ไขปัญหาลิขสิทธิ์เพลง

Royal เริ่มขาย NFT ให้แฟนเพลงได้ซื้อลิขสิทธิ์เพลงแล้ว โดย JD Ross และ DJ Justin Blau หรือ ชื่อในวงการ 3LAU ผู้ร่วมก่อตั้งแพลตฟอร์มดังกล่าวได้ออกมาประกาศปิดรอบระดมทุน Series A ที่มูลค่า 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากได้เคยออกมาระดมทุนในระดับ Seed round เมื่อเดือนสิงหาคม ด้วยยอดสุทธิ 16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

Andreessen Horowitz บริษัทลงทุน VC ชื่อดัง หรือที่รู้จักกันในนามผู้ก่อตั้งกองทุนคริปโท a16z ได้เข้ามาร่วมนำทีมลงทุนกับ Royal ด้วยเช่นกัน โดย Kathryn Haun หุ้นส่วนทั่วไปจากกองทุน a16z โพสต์ข้อความลงบนทวิตเตอร์ของเธอถึงความเป็นไปได้ในการร่วมลงทุนกับแพลตฟอร์มดนตรีรูปแบบ On-chain รายนี้เพื่อพัฒนาวงการเพลง

https://twitter.com/katie_haun/status/1462798876407070724?ref_src=twsrc%5Etfw%7Ctwcamp%5Etweetembed%7Ctwterm%5E1462798876407070724%7Ctwgr%5E%7Ctwcon%5Es1_&ref_url=https%3A%2F%2Fcointelegraph.com%2Fnews%2Fnft-music-marketplace-royal-raises-55m-in-series-a-round

นอกจากนี้ยังมีบริษัทยักษ์ใหญ่, ศิลปิน และ ค่ายเพลงในวงการดนตรีอีกหลายรายที่ตัดสินใจตบเท้าเข้ามาร่วมลงทุนในโปรเจกต์ดังกล่าว ได้แก่ Creative Artists Agency (CAA), NEA’s Connect Ventures, Crush Music, Coinbase Ventures, Founders Fund, Paradigm, The Chainsmokers, Nas, Logic, Kygo, Stefflon Don, Joyner Lucas และ Disclosure โดย Royal จะนำเงินทุนที่ได้ในครั้งนี้ไปขยายขนาดขององค์กร และ พัฒนาศิลปินที่เซ็นสัญญากับแพลตฟอร์ม

Royal เริ่มขาย NFT ด้วยเป้าหมายบางอย่าง

Royal เริ่มขาย NFT เพื่อพัฒนาวงการดนตรี
ซีอีโอ Justin “3LAU” Blau

ซีอีโอ Justin “3LAU” Blau ได้ออกมาเผยถึงเป้าหมายขององค์กรระบุว่า

“ทางแพลตฟอร์มอนุญาตให้แฟน ๆ ได้เป็นเจ้าของเพลงร่วมกับศิลปินคนโปรดของพวกเขา โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Blockchain ในการอนุมัติลิขสิทธิ์เพลง และ เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างแฟนคลับ และ ศิลปิน โดยทางบริษัทจะเริ่มต้นคัดเลือกกลุ่มศิลปินในค่ายเพื่อทดลองเปิดการขายครั้งแรก แต่ทว่าพวกเราวางแผนที่จะเปิดแพลตฟอร์มพร้อมกับจำนวนศิลปินที่มากขึ้นในอนาคตด้วยเช่นกัน”

ในเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา Blau ได้มอบลิขสิทธิ์การสตรีมมิ่งเพลง “Worst Case” ของเขา 50% ให้กับแฟนคลับถึง 333 ราย โดยแฟน ๆ เหล่านั้นจะได้รับค่าลิขสิทธิ์ผ่านทาง NFT เมื่อเพลงได้ถูกสตรีมลงบนแพลตฟอร์มของ Spotify, Apple Music หรือ ช่องทางการสตรีมอื่น ๆ ซึ่งเพลงนี้ได้ทำเงินไปแล้วกว่า 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ มูลค่าการซื้อขายโทเคนดังกล่าวบน Secondary Market สูงกว่า 600,000 ดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่ 2 สัปดาห์แรก

NFT สามารถแก้ไขปัญหาในปัจจุบันของอุตสาหกรรมเพลงได้อย่างไร

Blay กล่าวว่า

“แน่นอนว่าอาชีพศิลปินนั้นจำเป็นต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากแฟนเพลงของพวกเขาเป็นธรรมดา แต่ทว่าในมุมของผู้ฟังรายอื่น ๆ พวกเขาจะไม่ได้รับสิ่งใดตอบแทนจากการสนับสนุนศิลปินเหล่านี้เลย Royal จึงใช้ประโยชน์จาก NFT เพื่อช่วยเหลือศิลปินให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างอิสระมากขึ้น และ ยังช่วยให้พวกเขาสัมผัสถึงคุณค่าทางอารมณ์ที่ดนตรีได้สร้างสรรค์ขึ้นมาอีกด้วย”

แพลตฟอร์มดนตรีต้องการท้าทายคุณค่าของการถือครองลิขสิทธิ์เพลง ซึ่งตามที่ Blau ได้เคยกล่าวไว้ว่าปัจจุบันเพลงได้ถูกบิดเบือน และ ถูกประเมิณค่าต่ำลงไปมาก ซึ่งในอดีตนั้นผู้ที่มีสิทธิ์ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลง รวมไปถึงการสตรีมมิ่ง จะมีเฉพาะค่ายแพลง, บริษัทร่วมลงทุน และ ผู้ถือหุ้นนอกตลาด ที่จะมีสิทธิ์ถือครองสินทรัพย์นี้ไว้ในพอร์ตโฟลิโอเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สามารถเปลี่ยนได้ เนื่องจากปัจจุบันบรรดานักดนตรีได้เริ่มหันมาสนับสนุนการใช้เทคโนโลยี Web 3.0 และ เพิ่มฐานแฟนเพลงไปด้วยพร้อม ๆ กับการลงทุนในอาชีพของพวกเขา โดยการขายลิขสิทธิ์ครั้งถัดไปของ Royal นั้นใกล้จะเริ่มแล้วในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

รายงาน ก.ล.ต. สรุปภาพรวมบัญชีซื้อขายที่ Active ในช่วงต้นเดือน 'เมษายน' ปี 2567
ซีอีโอ Crypto.com ชี้! Bitcoin กำลังอยู่ในจุดเริ่มต้น ของการเข้าสู่ช่วงขาขึ้น
พบผู้ถือ Memecoin เกินกว่าครึ่ง ไม่ได้รับผลกระทบ จากการปรับตัวของตลาด
 วาฬหน้าใหม่ ครอบครอง Bitcoin รวมกันไปแล้วถึง 1.8 ล้าน BTC