ธนาคารกลางแห่งประเทศไทยขายพันธบัตรกว่า 5 แสนล้านบาทด้วย Blockchain
ธนาคารกลางแห่งประเทศไทยได้นำเทคโนโลยี Blockchain ของ IBM มาใช้เป็นพื้นฐานในการออกพันธบัตรรัฐบาลมูลค่ากว่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินสูงถึง 5 แสนล้านบาท! ซึ่งนี่ถือเป็นแพลตฟอร์มพันธบัตรออมทรัพย์รัฐบาลในรูปแบบ Blockchain อันแรกของโลก
ธนาคารกลางแห่งประเทศไทยได้นำเทคโนโลยี Blockchain ของ IBM มาใช้เป็นพื้นฐานในการออกพันธบัตรรัฐบาลมูลค่ากว่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินสูงถึง 5 แสนล้านบาท! ซึ่งนี่ถือเป็นแพลตฟอร์มพันธบัตรออมทรัพย์รัฐบาลในรูปแบบ Blockchain อันแรกของโลก
Bank of Thailand หรือธนาคารกลางแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มพันธบัตรออมทรัพย์รัฐบาลในรูปแบบ Blockchain เป็นที่แรกของโลก โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนของผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และผู้ให้บริการด้านสารสนเทศรายใหญ่ของโลกซึ่งถูกขนานนามว่าเป็น “Big Blue” หรือยักษ์สีฟ้า อย่าง IBM นั่นเอง
พันธมิตรเป็นเรื่องสำคัญในการทำธุรกิจ
นอกจากการได้ทำงานร่วมกันระหว่างยักษ์สีฟ้าแล้ว ธนาคารกลางแห่งประเทศไทยยังได้มีโอกาสร่วมมือกับสถาบันทางการเงินอีก 7 แห่ง ได้แก่ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ, บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD), สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) และธนาคารพาณิชย์อีก 4 แห่งด้วยกัน
ทำไม ธปท. ถึงหันมาใช้งานเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคต
ธนาคารกลางแห่งประเทศไทยเล็งเห็นว่าการใช้เทคโนโลยี Blockchain นั้นสามารถช่วยร่นระยะเวลาในการออกพันธบัตรจาก 15 วันให้เหลือเพียงแค่ 2 วันทำการได้ ซึ่งนอกจากจะได้ผลดีโดยตรงจากประสิทธิภาพของกระบวนการการผลิตที่เพิ่มขึ้นแล้ว มันยังช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานและลดความยุ่งยากในการตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกพันธบัตรอีกด้วย
ความสำเร็จมูลค่ามหาศาล!
หากอ้างอิงตามการแถลงการณ์ของบริษัท IBM พวกเขาได้ระบุไว้ว่า ภายหลังจากที่ทางธนาคารกลางของไทยได้เปิดตัวพันธบัตรออมทรัพย์รัฐบาลเพียง 2 สัปดาห์ก็สามารถขายพันธบัตรได้มูลค่ารวมมากกว่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเข้าแล้ว
ประเทศไทยนั้นตื่นตัวกับเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคตไม่น้อยหน้าชาติใดในโลก
เมื่อความสำเร็จของโครงการข้างต้นเป็นที่ประจักษ์ ทำให้ในอนาคตธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นอาจนำเทคโนโลยี Blockchain ไปใช้ในพันธบัตรรัฐบาลรูปแบบอื่น ๆ มากขึ้นเพื่อรองรับนักลงทุนรายย่อยและผู้ค้าส่งในไม่ช้านี้อีกด้วย
นอกจากนี้ทางธนาคารกลางยังได้มีส่วนร่วมอย่างมากในการเปิดรับ และนำเทคโนโลยีล้ำสมัย ไม่ว่าจะเป็น Blockchainและสกุลเงินดิจิทัลมาใช้งานจริง โดยในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาธนาคารได้ทำการเปิดตัวโครงการนำร่องสำหรับสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางในนาม “อินทนนท์” หรือ The Digital Baht เพื่อทำการทดสอบกับองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งในเดือนต่อมาธนาคารมีการวางแผนที่จะใช้สกุลเงินดิจิทัลในการทำธุรกรรมกับองค์การเงินตราฮ่องกง (the Hong Kong Monetary Authority)
เท่านั้นยังไม่พอ ทางธนาคารแห่งประเทศไทยเองก็กำลังพยายามนำสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contracts) หรือ เงื่อนไขหรือข้อตกลงของสัญญาต่าง ๆ ที่ถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบ Code คอมพิวเตอร์บนเครือข่ายของ Blockchain และบริการ Decentralized Finance (DeFi) มาใช้กับสกุลเงินดิจิทัลของประเทศอีกด้วย