รีวิว!! JFIN Chain บล็อกเชนฝีมือคนไทยที่จะเข้ามายกระดับวงการบล็อกเชนไทยให้ก้าวไกลสู่ระดับโลก
JFIN Chain คือ ระบบบล็อกเชนแบบ Proof-of-Stake (PoS) ฝีมือคนไทยที่เปิดตัวไปในวันที่ 17 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีซึ่งสามารถรองรับแอปพลิเคชันแบบไร้ตัวกลาง (Dapps) ท่ีมีความหลากหลายได้
JFIN Chain คือ ระบบบล็อกเชนแบบ Proof-of-Stake (PoS) ฝีมือคนไทยที่เปิดตัวไปในวันที่ 17 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีซึ่งสามารถรองรับแอปพลิเคชันแบบไร้ตัวกลาง (Dapps) ท่ีมีความหลากหลายได้
เปิดตัวกันไปเป็นที่เรียบร้อยกับ JFIN Chain หรือ JFC บล็อกเชนที่มีกลไกการทำงานแบบ Proof-of-Stake (PoS) ที่เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถนำเหรียญ JFIN มา Stake อยู่บนเครือข่ายเพื่อรับส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวที่สำคัญของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านบล็อกเชนของประเทศไทย
และในบทความนี้ เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ JFIN Chain บล็อกเชนฝีมือคนไทยกันให้มากขึ้นครับ
1.JFIN Chain คืออะไร?
JFIN Chain คือ เครือข่ายบล็อกเชนที่มีกลไกการทำงานแบบ Proof-of-Stake (PoS) ที่พัฒนาขึ้นโดย บริษัท เจ เวนเจอร์สจํากัด (JVC) และโอนมาเป็นของ บริษัท เจดีเอ็น จํากัด (JDN) ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ในเครือของ JVC โดยทั้งสองบริษัทได้เล็งเห็นถึงโอกาสและความต้องการของผู้ใช้สําหรับเครื่อขายที่จะมารองรับแอปพลิเคชันแบบไร้ตัวกลาง (Dapps) ที่มีความหลากหลาย เช่น DeFi, GameFi, NFT และ Metaverse ซึ่งมีการเติบโตอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดย JFC นั้นจะใช้เหรียญ JFIN ซึ่งเป็นเหรียญดั้งเดิมของเครือข่าย (Native Token)ในการจ่ายค่าธรรมเนียมสำหรับทําธุรกรรมบนเครือข่าย
2.ผู้ก่อตั้ง JFIN Chain
เหรียญ JFIN เริ่มขึ้นในปี 2561 ซึ่งได้สร้างขึ้นมาภายใต้มาตรฐาน ERC-20 จํานวน 100,000,000 เหรียญ (จากจํานวน Pre-mined ท้ังหมด 300,000,000 เหรียญ ) โดย บมจ. เจ มาร์ท (JMART) ซึ่งได้เสนอขายเหรียญ 100 ล้านเหรียญ ราคาเหรียญละ 6.60 บาท รวมมูลค่าระดมทุน 660 ล้านบาทผ่านบริษัทเจ เวนเจอร์ส จำกัด (JVC) และกลายเป็นสกุลเงินดิจิทัลสัญชาติไทยรายแรกที่เกิดขึ้นก่อนจะมีการบังคับใช้ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัล โดยมีคุณ “ทาโร่” ธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์, คุณ “โดม” เจริญยศ และทีมงานเป็นนักพัฒนาคนสำคัญเบื้องหลัง JFIN Chain
และในวันที่ 17 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา บริษัทได้เปิด JFIN Chain ให้ผู้ใช้งานเข้ามา Stake เหรียญ JFIN กับ Validator Nodes และรับ Reward ได้แล้ว
คณะทำงานหลัก
ที่ปรึกษา
3.ข้อมูลทางเทคนิคของ JFIN Chain
JVC ได้มุ่งเน้นพัฒนาเครือข่ายบล็อกเชนพื้นฐาน “JFIN Chain” ขึ้นมา เพื่อให้สามารถรองรับกับการทําธุรกรรมและการให้บริการที่มีความหลากหลาย ผู้ใช้ที่นำเหรียญ JFIN มา Stake กับเครือข่ายจะมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและยืนยันการทําธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนบล็อกเชน ซึ่งผู้ที่นำเหรียญมา Stake จะได้รับส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมเป็นรางวัลตอบแทน นอกจากนี้ การ Stake บน JFIN Chain นั้นจะไม่มีการ Lock เหรียญไว้ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถฝากหรือถอนได้ตลอดเวลา
JFIN Chain Mainnet
- Consensus: Proof-of-Stake (PoS) Chain Configuration
- Chain ID: 3501
- Symbol: JFIN
- RPC Endpoint: https://rpc.jfinchain.com
- Block Explorer URL: https://exp.jfinchain.com
- Block Time: 3 วินาที
- Epoch: 1,200 Blocks (ประมาณ 1 ชั่วโมง)
ValidatorNodes: ในระยะเริ่มต้นจะมี Validator Node ทั้งหมด 5 Node และจำนวนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นอีก 2 Node ในรอบระยะเวลาทุกๆ สามเดือนตามแผนดำเนินงานเบื้องต้นที่ระบุไว้ในเอกสาร โดยผู้ใช้แต่ละ Node จะต้องนำเหรียญ JFIN มา Stake ไว้เป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 100,000 เหรียญเพื่อทำหน้าที่เป็น Validator Node สำหรับการตรวจสอบและยืนยันการทำธุรกรรม ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่ถือเหรียญ JFIN สามารถเข้าร่วม Stake กับ Validator Node เพื่อรับส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมได้อีกด้วย
Consensus: JFIN Chain จะมีกลไกการทำงานแบบ PoS โดย Validator Node ท่ีมีการ Stake เหรียญ JFIN จํานวน 100,000เหรียญขึ้นไปและลงทะเบียนไว้ในระบบจะได้สิทธิในการตรวจสอบ Block หมุนเวียนไป (roundrobin) อย่างไรก็ตาม Validator Node ที่ไม่มีการตอบสนอง (Response) เกินกว่า 200 Blocks ต่อ 1 Epoch จะถูก ลงโทษให้หยุดทํางานเป็นจํานวน 10 Epoch (ประมาณ 10 ชั่วโมง)
Allocation of Validator Rewards (ทั้งที่เป็น Gas Fee และผลตอบแทน Block Reward (ถ้ามี))
- 33% ไปที่เจ้าของ JFIN Chain ได้แก่ JDN
- 6.7% ไปที่ Validator Node ที่ได้สิทธิสร้าง Block นั้นๆ
- 60.3% ไปที่ผู้ถือเหรียญ JFIN ที่ Stake ใน Node ที่ได้สิทธิ์สร้าง Block นั้นๆ
Governance: Validator nodes จะมีสิทธิในการเปิด Vote เพื่อเพิ่มหรือลดจํานวน Validator Node หรือการเปิดและปิดการทํางานของ Validator node โดยจะคํานวณ Voting power จากจํานวนเหรียญ JFIN ทั้งหมดท่ี delegate ให้ validator node นั้นๆ
Smart Contract Capability: JFIN Chain จะเป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่สามารถรองรับ Smart Contract ตามมาตรฐาน Ethereum Virtual Machine (EVM) ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 ในปัจจุบัน จึงทําให้ DApps ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น DeFi, GameFi, NFT หรือ Metaverse ที่อยู่บนเครือข่าย Ethereum สามารถนำมาใช้งานบน JFIN Chain ได้ทันที ไม่เพียงเท่านั้น JFIN Chain ยังสามารถที่จะรองรับมาตรฐานที่อยู่บนเครือข่าย Ethereum เช่น ERC-20 , ERC-721 , ERC-1155 และอื่นๆ ตามท่ี Ethereum จะนําเสนอในอนาคตได้อีกด้วย
4.Tokenomic
- Token : JFIN
- Max supply : 300,000,000 JFIN
- Contract Address(Ethereum) : 0x940bdcb99a0ee5fb008a606778ae87ed9789f257
- JFIN เป็น Native Token ของเครือข่าย
การนำไปใช้
- ผู้ใช้งานสามารถนำ JFIN ไป Staking เพื่อสร้างผลตอบแทนได้
- ผู้ใช้งานจะต้องใช้ JFIN ในการจ่ายค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมบนเครือข่าย
- ผู้ใช้งานสามารถใช้ JFIN ในการซื้อสินค้าใน Jaymart Shop (ในช่วงระยะเวลากิจกรรม)
ผู้ใช้งานสามารถใช้ JFIN ซื้อ Coupon เช่น CASA LAPIN (Gift Voucher), Totem Kingdom(Ticket), แอเรีย ภายในแอปพลิเคชัน JID - JFIN นำไปใช้เพื่อรับส่วนแบ่งค่าธรรมเนียมจากการปล่อยกู้ในแอปพลิเคชันป๋า โดยต้องใช้ในเมนู Stake ภายในแอปพลิเคชัน JID
- JFIN สามารถนำไปปล่อยกู้ หรือค้ำประกันในแพลตฟอร์ม JREPO.IO ได้
ข้อมูลจาก Bitlub ณ ขณะที่เขียนระบุว่า ราคาของเหรียญ JFIN อยู่ที่ 24.19 บาท เพิ่มขึ้น 1.63% ภายใน 24 ชั่วโมง และเรายังอยู่ในตลาดหมีที่โหดร้ายและเงียบเหงา
5.Roadmap
- 17 กรกฎาคม 2565: เริ่มเปิดให้ผู้ใช้งานนำเหรีย JFIN มา Stake กับ Validator Nodes และรับส่วนแบ่ง Validator Reward รวมถึงเริ่มแจก Block Reward โดยจะเร่ิมจาก Validator Nodes จํานวน 5 Nodes
- 17 ตุลาคม 2565: เพิ่มจํานวน Validator Nodes เป็น 7 Nodes
- 17 มกราคม 2566: เพิ่มจํานวน Validator Nodes เป็น 9 Nodes
- 17 เมษายน 2566: เพิ่มจํานวน Validator Nodes เป็น 11 Nodes
ทั้งนี้ JDN ขอสงวนสิทธิในการเลือก Validator Nodes ตามความเหมาะสม โดยบริษัทที่จะเป็น 5 Nodes แรก ได้แก่ JDNและบริษัทในกลุ่ม Jaymart หากมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจะแจ้งล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน ผ่านเว็บไซต์www.jfincoin.io
6.The Dapps Ecosystem
- ป๋า: แพลตฟอร์มด้านสินเชื่อที่มีฟังก์ชั่นครบถ้วนและสามารถช่วยเหลือผู้ที่กำลังมองหาสินเชื่อในทุกๆด้าน ซึ่งมีรูปแบบสินเชื่อให้เลือกมากมาย เช่น ป๋า mobile, รถทำเงิน, J Loan, Soda life และ Kashjoy
- JREPO: แพลตฟอร์มให้บริการฝาก/กู้ยืมสินทรัพย์ดิจิทัลรายแรกในประเทศไทย
- JP2P: แพลตฟอร์ม Lending แบบ Peer to Peer (P2P) ที่มีการควบคุม สำหรับทั้งสกุลเงิน Fiat และ Crypto
- JID: แพลตฟอร์ม JID เป็นระบบ e-KYC สำหรับการยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมการเงินแบบดิจิทัลที่เชื่อมต่อบนโครงข่าย NDID ทำให้ลูกค้าได้รับอนุมัติวงเงินอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องรอลุ้นให้เสียเวลา
- JNFT Marketplace: ตลาดที่เปิดให้ซื้อ,ขายและประมูลผลงาน NFT ผ่าน JFIN Chain
- JDCF: แพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงนักลงทุนที่สามารถให้กู้ยืมเงินกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ JFIN Chain เพิ่มเติมได้ที่ => JFIN Whitepaper Version 3.0 (JFIN Chain)
DISCLAIMER: การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยง และความผันผวนสูง มุมมองและความคิดเห็นจากผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาที่จะชี้นำในการให้ข้อมูลทางการเงิน การลงทุน หรือคำแนะนำอื่น ๆ แต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบ รวมไปถึงควรดำเนินการควบคุมความเสี่ยงอยู่เสมอ