ประเทศไทยจะควบคุมการชำระเงินด้วยคริปโตอย่างเป็นทางการ
ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และกระทรวงการคลังระบุว่า การใช้คริปโตในการชำระเงินอาจเป็นภัยคุกคามต่อภาคการเงินของประเทศ
ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และกระทรวงการคลังระบุว่า การใช้คริปโตในการชำระเงินอาจเป็นภัยคุกคามต่อภาคการเงินของประเทศ
หน่วยงานกำกับดูแลภาคการเงินของประเทศไทยกำลังวางแผนที่จะควบคุมการชำระเงินโดยใช้คริปโตเคอร์เรนซี
ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และกระทรวงการคลังระบุว่า การใช้สกุลเงินดิจิทัลในการชำระเงินอาจเป็นภัยคุกคามต่อภาคการเงินของประเทศ
ทุกวันนี้แม้ว่าบริษัทและร้านค้าต่างๆ จะยอมรับการใช้สกุลเงินดิจิทัลอย่างแพร่หลายในฐานะรูปแบบการชำระเงิน แต่หน่วยงานกำกับดูแลเผยว่า จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการปกป้องผู้บริโภค
นอกจากนี้ หน่วยงานกำกับดูแลยังระบุด้วยว่า พวกเขาได้ทบทวนข้อดีและข้อเสียของสกุลเงินดิจิทัลในการชำระเงิน และความเสี่ยงจากความผันผวนของราคา อาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และการฟอกเงิน
แถลงการณ์ระบุว่า “เมื่อตระหนักถึงความเสี่ยงและผลกระทบดังกล่าวแล้ว หน่วยงานกำกับดูแลจะพิจารณาการใช้อำนาจตามกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อจำกัดการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลอย่างกว้างขวางเป็นวิธีการชำระเงินค่าสินค้าและบริการ”
รื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ ก.ล.ต. เผยว่า นอกเหนือจากการควบคุมอุตสาหกรรมคริปโตแล้ว หน่วยงานยังมีภาระหน้าที่ในการส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ควบคู่ไปกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้วย อย่างไรก็ตาม หน่วยงานกำกับดูแลไม่ได้เปิดเผยว่าจะออกกฎระเบียบเมื่อใด
การเพิ่มกฎระเบียบของภาคคริปโตของประเทศไทย
ประเทศไทยถือว่าเป็นตลาดสกุลเงินดิจิทัลที่สำคัญ ด้วยเหตุนี้หย่วยงานกำกับดูแลจึงให้ความสำคัญกับการออกกฎหมายสำหรับภาคส่วนนี้มากขึ้น
เมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงการคลังวางแผนที่จะเก็บภาษี 15% สำหรับกำไรจากการซื้อขายสกุลเงินดิจิตอล
เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ธปท. ยังได้เตือนธนาคารไม่ให้มีส่วนร่วมโดยตรงกับแพลตฟอร์มการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล ธนาคารอ้างถึงความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ความผันผวนของตลาด
เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2021 ที่ผ่านมา สำนักงาน ก.ล.ต. ระบุว่า ธุรกรรมสกุลเงินดิจิทัลในประเทศมีมูลค่าถึง 205 ล้านบาท หรือ 6 ล้านดอลลาห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนดังกล่าว ราคาบิทคอยน์ ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์เกือบ 68,000 ดอลลาห์
ธปท. ยังระบุอีกว่า สินทรัพย์ดิจิทัลกลุ่มแรก ๆ ที่อาจจะมีการอนุญาตให้นำมาชำระสินค้าและบริการได้ในอนาคตคือ Stablecoins ที่ถูกหนุนด้วยเงินบาท เพราะมีความผันผวนน้อยและมีความใกล้เคียงกับ E-Money ซึ่งหน่วยงานจะออกกฎเกณฑ์เพื่อควบคุม Stablecoins อีกครั้ง