🇹🇭 ข่าวในประเทศ

ป.ป.ช. เปิด 8 ข้อเสนอแนะ! ที่รัฐบาลควรพิจารณา เกี่ยวกับนโยบายแจกเงิน

ป.ป.ช. ส่งข้อเสนอแนะ 8 ข้อ ให้รัฐบาลพิจารณา! เกี่ยวกับ 'นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท'

ป.ป.ช. ส่งข้อเสนอแนะ 8 ข้อ ให้รัฐบาลพิจารณา! เกี่ยวกับ 'นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท' หลังมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษา

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ที่ผ่าน นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการสำนักงาน ป.ป.ช. ได้มีแถลงการณ์แห่งความคืบหน้าเรื่องนโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาล โดย ป.ป.ช. ได้มีมติเห็นชอบให้ส่งผลการศึกษาเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณีการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต (Digital Wallet) ทั้งหมด 100 กว่าหน้า ไปยังรัฐบาลเพื่อเรียนนายกรัฐมนตรีให้ประกอบการสินใจ

โดยในช่วงที่ผ่านมา คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีการแต่งตั้ง “คณะกรรมการเพื่อศึกษาและดำเนินการรับฟังความเห็นเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล กรณี การเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet” เพื่อศึกษารายละเอียดผลกระทบและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานดังกล่าว

4 ประเด็นที่ควรพิจารณา

ทั้งนี้จากการศึกษาจึงได้พบว่า นโยบายดังกล่าวมี 4 ประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณา ได้แก่

  1. ประเด็นความเสี่ยงต่อการทุจริต ทั้งในด้านการทุจริตเชิงนโยบาย และการทุจริตจากกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับเงิน
  2. ประเด็นความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ ที่เกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญต่อการดำเนินนโยบายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
  3. ประเด็นความเสี่ยงของกฎหมาย โดย ป.ป.ช ได้ย้ำว่าการดำเนินนโยบายดังกล่าวของรัฐบาล จะต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจเอาไว้ และต้องมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนโปร่งใสปราศจากการทุจริต
  4. ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีบล็อกเชน และการกำหนดนโยบายของพรรคการเมือง 

ข้อเสนอต่อรัฐบาล

และต่อมาหลังจากที่มีการประชุมอีกครั้งเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติว่าควรส่งข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล  กรณี การเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ต่อคณะรัฐมนตรี โดยได้มีข้อเสนอแนะจำนวน 8 ข้อได้แก่

  1. เสนอให้แสดงความชัดเจนเกี่ยวกับผู้ได้รับประโยชน์ ที่ต้องเป็นผู้ที่มีรายได้น้อยหรือกลุ่มเปราะบาง และจะต้องมีขั้นตอนและวิธีการที่ชัดเจนเพื่อกระจายการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง
  2. เสนอให้ กกต. ทำการตรวจสอบว่าการปรับเปลี่ยนเนื้อหานโยบายของพรรคการเมือง นั้นมีการขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพื่อเป็นบรรทัดฐานสำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป
  3. เสนอให้พิจารณาความคุ้มค่าจากการดำเนินนโยบายดังกล่าว และให้ลองพิจารณาวิธีอื่นที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากการกู้เงินจำนวนกว่า 5 แสนล้านบาทนั้นเป็นการสร้างหนี้ระยะยาว
  4. เสนอให้พิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อนโยบาย และย้ำถึงการดำเนินการนโยบายที่จะต้องสามารถตรวจสอบ ทั้งก่อน, ระหว่าง, และหลังโครงการได้อย่างโปร่งใส
  5. เสนอให้มีการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อกำหนดแนวทางป้องกันการทุจริต
  6. เสนอให้พิจารณาถึงความจำเป็นและเหมาะสมต่อการนำเอาเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ ที่เกี่ยวกับงบประมาณและระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการพัฒนาระบบ ที่ควรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในระยะเวลาในการดำเนินโครงการ ที่จะเป็นการแจกเงินครั้งเดียวโดยให้ใช้จ่ายภายใน 6 เดือน
  7. รัฐบาลควรพิจารณาและให้ความสำคัญต่อโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน ที่ยังอยู่ในขั้นชะลอตัว เพื่อดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน โดยหากรัฐบาลต้องดำเนินการนโยบายเพื่อช่วยเหลือประชาชนภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังไม่เข้าขั้นวิกฤต ก็เสนอให้พิจารณาช่วยเหลือกลุ่มประชาชนเป้าหมายที่เปราะบางที่สุดเป็นอันดับสำคัญ
  8. หากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องช่วยเหลือประชาชน ควรช่วยเหลือกลุ่มประชาชนที่มีฐานะยากจน, เปราะบาง ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เท่านั้น โดยโดยแจกเงินจากเงินงบประมาณปกติ เพื่อเป็นการไม่สร้างหนี้สินสาธารณะของประเทศในระยะยาว

ที่มา: ThaiPost

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: การลงทุนมีความเสี่ยงสูง ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนการลงทุนทุกครั้ง

ข้อมูลในบทความนี้มีจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น Cryptosiam ไม่รับประกันความสมบูรณ์ ความถูกต้อง หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลดังกล่าว และไม่มีสิ่งใดในบทความนี้ที่ควรใช้เป็นคำแนะนำหรือชักชวน ให้ซื้อหรือขายคริปโต รวมทั้งการประเมินใดๆ ไม่มีข้อความใดในบทความที่ถือเป็นคำแนะนำทางกฎหมาย วิชาชีพ การลงทุน และ/หรือทางการเงิน และ/หรือคำนึงถึงความต้องการเฉพาะ และ/หรือข้อกำหนดของแต่ละบุคคล

Cryptosiam และบริษัทในเครือ ขอปฏิเสธความรับผิด หรือความรับผิดชอบทั้งหมดเกี่ยวกับเนื้อหาของบทความ และการดำเนินการใดๆ กับข้อมูลในบทความนั้น เป็นความเสี่ยงของผู้อ่าน และถือเป็นความเสี่ยงแต่เพียงผู้เดียว

ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง