กฎหมาย และประกาศ

ก.ล.ต.มีมติแบนการใช้คริปโตเป็นสื่อกลางชำระเงิน

Set 2.jpg

หลังพิจารณาถึงประโยชน์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ทางธปท. และก.ล.ต.มีมติแบนการใช้คริปโตชำระค่าสินค้า และบริการ ย้ำชัดไม่มีเจตนาต่อต้านคริปโตแน่นอน

เมื่อวันพุธ ที่ 23 มีนาคม ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ร่วมประชุมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อพิจารณาถึงประโยชน์ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากสินทรัพย์ดิจิทัล ก่อนมีมติเห็นด้วยที่จะต้องเข้ามากำกับดูแลอุตสาหกรรมดังกล่าว พร้อมประกาศแถลงการณ์ออกหลักเกณฑ์ไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจคริปโตสนับสนุน หรือ ส่งเสริมการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้า และบริการ (Means of Payment) ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน เป็นต้นไป

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ก.ล.ต.มีมติแบนการใช้คริปโตเป็นสื่อกลาง

ทางหน่วยงานได้มีชี้แจงเพิ่มเติมถึง 3 สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้ก.ล.ต.มีมติแบนการใช้คริปโต โดยพิจารณาจากผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง และสร้างความเสียหายต่อผู้ที่มีความเกี่ยวข้องในมิติต่าง ๆ ดังนี้

  1. เสถียรภาพระบบการชำระเงิน
    หากการชำระค่าสินค้า และบริการด้วยคริปโตเกิดความแพร่หลายในวงกว้าง การเข้าดูแลระบบชำระเงินให้มีประสิทธิภาพ มั่นคง และปลอดภัยอาจทำได้ยากขึ้น เนื่องจากสินทรัพย์ดิจิทัลส่วนใหญ่ถูกพัฒนาจากเทคโนโลยี Blockchain ทำให้ไม่สามารถเข้าไปกำกับดูแลได้ รวมไปถึงไม่มีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยที่เหมาะสม จึงอาจทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถได้รับความคุ้มครองได้ดีเท่าที่ควร
  2. เสถียรภาพทางการเงิน และความสามารถในการดูแลภาวะการเงินของประเทศ
    การนำสินทรัพย์ดิจิทัลเข้ามาใช้เป็นสื่อกลางนั้นอาจส่งผลกระทบให้ความต้องการถือครองเงินบาทลดลง และลดทอนประสิทธิภาพการส่งผ่านนโยบายทางการเงินเพื่อนำไปดูแลลระดับราคาสินค้า รวมถึงยังลดทอนความสามารถในการกำกับดูแลภาวะทางการเงินให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจแต่ละช่วงของธปท. ซึ่งมุมมองความเสี่ยงในประเด็นนี้ได้สอดคล้องกับมุมมองของหน่วยงานกำกับดูแลในหลายประเทศด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ และมาเลเซีย เป็นต้น
  3. ผู้ใช้หรือรับชำระสินทรัพย์ดิจิทัล
    สำหรับมุมมองความเสี่ยงในประเด็นนี้นั้นทางก.ล.ต.ได้แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อด้วยกัน ได้แก่ ความเสี่ยงจากความผันผวนของมูลค่าคริปโต ที่อาจทำให้ยอดค่าใช้จ่ายของผู้ใช้มีความไม่แน่นอนสูง และในการให้บริการอาจมีต้นทุนแฝง, ความเสี่ยงในด้านเทคโนโลยี จากการโจมตีจากอาชญากรไซเบอร์ และความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ และกฎหมาย ซึ่งทุกข้อที่กล่าวมาทั้งหมดนี้มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันความผันผวน การก่อการร้าย รวมไปถึงการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีนั่นเอง

ข้อกำหนดจากก.ล.ต.ที่ผู้ให้บริการคริปโตต้องปฏิบัติตาม

Cryptocurrency 1 1024x768.jpg

หลังการประชุมครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ทางคณะกรรมการก.ล.ต.ได้มีมติกำหนดหลักการกำกับดูแลผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัล หลังได้มีการปรับปรุงตามความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องในระหว่างวันที่ 25 มกราคม ถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยประการแรกได้ออกมาสั่งห้ามไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจคริปโตให้บริการ หรือกระทำการสนับสนุน หรือส่งเสริมการชำระค่าสินค้า และบริการใด ๆ รวมไปถึงการจัดทำระบบ หรือ เครื่องมืออำนวยความสะดวกการชำระเงินด้วยคริปโตอีกด้วย ซึ่งถ้าหากผู้ให้บริการพบว่ามีผู้ใช้งานละเมิดข้อกำหนดดังกล่าว จะต้องมีการแจ้งตักเตือน และดำเนินการระงับการให้บริการชั่วคราว หรือ ยกเลิกการให้บริการ ตามกฎระเบียบที่ได้กำหนดไว้

ทั้งนี้ทางหน่วยงานกำกับดูแลระบุว่าผู้ประกอบกิจการ และผู้ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นยังคงสามารถให้บริการในด้านการทำธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน หรือ การซื้อขายได้ตามปกติ

การสั่งแบนครั้งนี้เรียกได้ว่าเป็นการส่งสัญญาณต่อต้านคริปโตหรือไม่?

อ้างอิงจากรายละเอียดที่ทางหน่วยงานกำกับดูแลได้ออกมาชี้แจงผ่านเว็บไซต์หลักเพื่อไขข้อสงสัย และสร้างความเข้าใจที่ตรงกันให้กับประชาชนทุกคน ทาง ก.ล.ต. ได้ย้ำว่าสิ่งเดียวที่คณะกรรมการกังวลก็คือ ความเสี่ยงจากการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ชำระค่าสินค้า และบริการอย่างแพร่หลาย โดยอ้างว่าระบบชำระเงินภายในประเทศในปัจจุบันนั้นมีประสิทธิภาพที่สูงอยู่แล้ว และการจะนำคริปโตเข้ามาใช้นั้นก็ไม่ได้เพิ่มประโยชน์ให้กับประชาชน และธุรกิจมากเท่าไรนัก

อย่างไรก็ตามทางธปท., ก.ล.ต. และภาครัฐ ยังคงเล็งเห็นถึงประโยชน์ในด้านอื่น ๆ ของคริปโต และไม่ได้มีเจตนาที่จะปิดกั้นการนำสินทรัพย์ประเภทดังกล่าวไปใช้เพื่อลงทุนแต่อย่างใด ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) เพื่อต่อยอดนวัตกรรมทางการเงิน รวมไปถึงส่งเสริมการพัฒนาบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ เช่น การจัดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ผ่าน Blockchain หรือ การออกหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเทคโนโลยีดังกล่าว เป็นต้น

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตลาดคริปโตสั่นสะเทือน! Bitcoin ดิ่งหนัก ล้างพอร์ต 4 แสนราย มูลค่ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์
นักวิเคราะห์ เผย! Bitcoin มีแนวโน้มพุ่งทะลุระดับ $100,000 หลังดัชนีความผันผวนส่งสัญญาณขาขึ้น
รัฐล่าสุดในอเมริกา! ไวโอมิงเสนอร่างกฎหมายกองทุนสำรอง Bitcoin เชิงกลยุทธ์ ก่อนพิธีสาบานตนของทรัมป์
80% ของผู้ถือ Bitcoin ระยะสั้นกลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง! นักวิเคราะห์ชี้ตลาดกำลัง FOMO อย่างเต็มที่