ราคา Solana ทะยานสู่อันดับที่ 4 แซงหน้า Cardano และ Tether
ราคา Solana (SOL) ทำสถิติใหม่เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ส่งผลให้ผลตอบแทนYear to Date (YTD) เพิ่มขึ้นมากว่า 17,500%
ราคา Solana (SOL) ทำสถิติใหม่เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ส่งผลให้ผลตอบแทนYear to Date (YTD) เพิ่มขึ้นมากว่า 17,500%
ในวันที่ 7 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ราคา Solana ในตลาดพุ่งขึ้นสูงจนกลายเป็น ATH และ ส่งผลให้มีมูลค่ารวมสุทธิกว่า 7.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาจาก Binance Coin (BNB) ซึ่งมีมูลค่าราว 1.09 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมาด้วย Ether (ETH) มูลค่า 5.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และ Bitcoin (BTC) มูลค่า 1.17 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกัน SOL ก็ได้แซงหน้า Cardano (ADA) ซึ่งมีมูลค่าอยู่ที่ 6.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และ Tether (USDT) ซึ่งเป็น Stablecoin อันดับต้น ๆ อยู่ที่ 7.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้โทเค็นดังกล่าวทะยานขึ้นไปเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่ 4 ตามมูลค่าราคาตลาด (Market Capitalization)
กองทุน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐช่วยเพิ่มราคา Solana ให้สูงขึ้น
ปัจจุบันโทเค็น SOL มีมูลค่ามากกว่า 262 ดอลลาร์สหรัฐเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ สาเหตุหลักมาจากราคาตลาดที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้สกุลเงินดิจิทัลอันดับต้น ๆ ต่างก็พลอยได้รับกำไรจากเหตุการณ์ดังกล่าวตามไปด้วย จากการที่ Solona ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบ Web 3.0 gaming ผ่านบริษัทในเครือร่วมลงทุนของตนเองในชื่อ Solana Ventures ที่ได้ออกมาแถลงการณ์เมื่อวันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน ระบุว่า การได้ร่วมลงทุนกับ FTX และ Lightspeed Venture Partners จะสามารถมอบเงินลงทุนเพื่อนำไปใช้พัฒนาสตูดิโอเกม และเทคโนโลยยีในด้านอื่น ๆ ได้มากถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เลยทีเดียว
นอกจากนี้ Solona Ventures ยังมีจุดประสงค์ที่จะดึงดูดเหล่านักพัฒนาเกมทั้งในรูปแบบคอมพิวเตอร์ และในรูปแบบวิดีโอเกมบนโทรศัพท์มือถือให้เข้ามาร่วมสร้างโปรเจกต์ชั้นนำในการสร้างเกมบนเครือข่าย Blockchain สาธารณะ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้โทเค็น SOL กลายเป็นที่ยอมรับมากขึ้น โดยในปีนี้ก็ได้เกิดเหตุการณ์ลักษณะคล้ายกัน จึงยิ่งช่วยเพิ่มราคาโทเค็นให้พุ่งทะยานขึ้นเกือบ 17,500% YTD หรือจาก 1.51 ดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นมาเป็น 262.45 ดอลลาร์สหรัฐ
ไม่เพียงเท่านั้้น แต่ทว่าแนวโน้มราคาที่เพิ่มขึ้นนี้ยังได้ปรากฏขึ้นเมื่อนักเก็งกำไรบางรายเริ่มมองว่า Solona จะกลายเป็นอีกหนึ่งในคู่แข่งที่ร้ายกาจที่สุดของ Etheruem ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม Smart contracts ที่ต่อสู้กับค่าธรรมเดนียมที่สูงขึ้น และปัญหาขัดข้องบนเครือข่าย
หากถามว่า Solona จะกลายมาเป็นคู่แข่งของ Etheruem ไปได้อย่างไร ทาง Solona อ้างว่าบริษัทสามารถประมวลผลการทำธุรกรรมได้ 50,000 – 60,000 ครั้งต่อวินาที (Transactions Per Second, TPS) โดยมีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมเฉลี่ยที่ 0.00025 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับ Etheruem ที่สามารถทำธุรกรรมได้เพียง 15 – 30 TPS และมีค่าธรรมเนียมเฉลี่ยในการทำธุรกรรมอยู่ระหว่าง 4 – 21 ดอลลาร์สหรัฐ
อย่างไรก็ตาม Solana ยังได้แสดงสัญญาณของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จนหมด (Resource Exhaustion) จนทำให้เกิดปัญหาขัดข้องอื่น ๆ ตามมา เช่น การขาดการจัดลำดับความสำคัญในการทำธุรกรรม SOL และ จำนวนเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบซึ่งนำไปสู่การหยุดทำงานของเครือข่ายนาน 18 ชั่วโมงในเดือนกันยายนที่ผ่านมา หากทางบริษัทไม่ทำการแก้ไขก็อาจส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่เลวร้าย และอาจเปลี่ยนทิศทางการทำธุรกรรมบนเครือข่าย Solana ไปอย่างสิ้นเชิง
ความเสี่ยงของการปรับราคา SOL
แม้ล่าสุดระดับราคาโทเค็นดังกล่าวขึ้นมาเป็น ATH แล้วก็ตาม แต่ทว่าราคา SOL ก็ยังคงมีความเสี่ยงเกิดขึ้นในระหว่างการปรับฐานราคาอยู่ เนื่องจากมีตัวบ่งชี้ถึงสัญญาณดังกล่าวอยู่ถึง 2 ตัวด้วยกัน
ตัวบ่งชี้แรกคือราคา Solona ได้ก่อตัวขึ้นอยู่ในรูปแบบ Rising Wedge ซึ่งเป็นชื่อเรียกรูปแบบราคาที่ต่ำลง และตัวบ่งชี้ที่ 2 คือสกุลเงินดิจิทัลได้รับการยืนยันความแตกต่างระหว่างราคาที่เพิ่มขึ้น กับโมเมนตัมที่ลดลง
การฝ่าระดับแนวโน้มที่ต่ำกว่า Wedge รูปแบบดังกล่าวขึ้นมาได้นั้น หากมีปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้น อาจเสี่ยงทำให้ราคา SOL ตกลงได้มากเท่ากับตอนที่ราคาขึ้นไปอยู่บนระดับสูงสุด ซึ่งอาจส่งผลให้แนวโน้มราคา SOL ตกลงมาอยู่ที่ประมาณ 205 และ 91.52 ดอลลาร์สหรัฐ โดยจะขึ้นอยู่กับว่าระดับดังกล่าวจะสามารถฝ่าทะลุแนวต้านในช่วงขาลงได้หรือไม่