General

เงินหยวนจีนจะเป็นสกุลเงินสำรองที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกภายในปี 2030

Yuan Dollar.jpg

หยวนจีนพร้อมที่ก้าวขึ้นมาเป็นสกุลเงินสำรองที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกภายในปี 2030 ซึ่งสิ่งที่หลาย ๆ คนต่างสงสัยก็คือสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารการที่มาแรงมากอย่าง DCEP หรือหยวนดิจิทัล นั้นเป็นส่วนหนึ่งของแผนหรือไม่

นักวิเคราะห์ของ Morgan Stanley บริษัทให้บริการทางการเงินระดับโลก คาดการณ์ว่าเงินหยวนของจีนจะกลายเป็นสกุลเงินสำรองที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกพร้อมกับการลงทุนจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น จากการคาดการณ์ของ Morgan Stanley ค่าเงินหยวนจะเป็นรองแค่ดอลลาร์สหรัฐและเงินยูโรเท่านั้น

เส้นทางการก้าวขึ้นมาเป็นผู้ยิ่งใหญ่

เงินหยวนนั้นต้องใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากระดับสากลและทำให้มีผู้ถือครองสกุลเงินนี้จากหลากหลายประเทศ แม้ปัจจุบันการใช้งานเงินหยวนจะมีสัดส่วนเพียง 2% ของสินทรัพย์สำรองอัตราแลกเปลี่ยนทั่วโลกตามที่นักวิเคราะห์ระบุ แต่เนื่องจากในปัจจุบันทางรัฐบาลยังคงมีข้อจำกัดเกี่ยวกับสกุลเงินดังกล่าวอยู่มาก ทั้งยังป้องกันไม่ให้เงินทุนจำนวนมากออกนอกประเทศอีกด้วย นี่จึงเป็นเรื่องที่ยากมิใช่น้อย

ทางการรัฐบาลจีนเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจและละเว้นข้อบังคับบางประการเพื่อให้เข้าใกล้เป้าหมายที่พวกเขาฝันเอาไว้ได้เร็วขึ้น โดยหนึ่งในความพยายามของการส่งเสริมการใช้เงินหยวนระหว่างประเทศก็คือการรัฐบาลได้อนุญาตให้สถาบันการเงินต่างประเทศเข้าสู่ตลาดภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งนักลงทุนต่างชาติต่างก็มีความสุขที่ได้หันมาทำกำไรที่ตลาดจีน เนื่องจากมี "ผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูง" กว่าภูมิภาคอื่น ๆ

ณ ขณะที่เขียนบทความ เงินหยวนของจีนมีราคาซื้อขายอยู่ที่ประมาณ 6.85 หยวนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ นักวิเคราะห์ของ Morgan Stanley คาดการณ์ว่าเงินหยวนจะแข็งค่าขึ้นเป็น 6.6 หยวนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐภายในสิ้นปี 2021

แล้ว DCEP ของจีนมีส่วนเกี่ยวข้องกับเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ในครั้งนี้หรือไม่?

จีนได้พัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) มาระยะหนึ่งแล้วและเมื่อเร็ว ๆ นี้พวกเขาเพิ่งผ่านพ้นการทดสอบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในสกุลเงินดิจิทัล (DCEP) ในการทำธุรกรรมรายย่อยไปหมาด ๆ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางจีนกล่าวว่าจีนควรเน้นไปที่การบริหารนโยบายทางการเงินแบบ "ปกติ" จะดีเสียกว่า เนื่องจากมีรายงานว่าประเทศได้ฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาอย่างราบรื่น

ทาง Yang Dong ผู้อำนวยการบริหารห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยเหรินหมินแห่งประเทศจีนก็ออกมาสนับสนุนความคิดนี้เช่นเดียวกัน โดยเขากล่าวว่า ขณะนี้ DCEP จำเป็นต้องพิจารณาว่าจะ “ก้าวไปสู่ระดับสากล” ได้อย่างไร เพราะในปัจจุบันการสร้าง CBDC เป็นเพียงความฉาบฉวยภายใต้แผนหลักคือการปรับโครงสร้างเครือข่ายการชำระเงินทั้งหมดเท่านั้น

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง