คดี Ripple (XRP) ที่ลากยาวกว่า 2 ปี ใกล้จบแล้วจ้า!
คดี Ripple (XRP) ที่ลากยาวกว่า 2 ปี ใกล้จบแล้วจ้า! โดยล่าสุดทาง Ripple และ ก.ล.ต. มะกัน ได้ส่งเอกสารขั้นสุดท้ายต่อศาลเป็นที่เรียบร้อยแล้วในวันที่ 2 ธันวาคม
คดี Ripple (XRP) ที่ลากยาวกว่า 2 ปี ใกล้จบแล้วจ้า! โดยล่าสุดทาง Ripple และ ก.ล.ต. มะกัน ได้ส่งเอกสารขั้นสุดท้ายต่อศาลเป็นที่เรียบร้อยแล้วในวันที่ 2 ธันวาคม
Table of contents
เชื่อได้เลยว่าหากให้พูดถึงหนึ่งใน ‘คดีความประวัติศาสตร์’ ของวงการ Cryptocurrency แล้วล่ะก็... เรื่องที่จะถูกหยิบยกมาพูดถึงมากที่สุดคงหนีไม่พ้นการที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา หรือ ก.ล.ต. สหรัฐฯ (SEC) ได้ยื่นฟ้องแพลตฟอร์มผู้ให้บริการการชำระเงินด้วยบล็อกเชนสัญชาติอเมริกันอย่าง Ripple ซึ่งพวกเขาต่างต่อสู้กันอย่างดุเด็ดเผ็ดมัน สะเทือนไปทั่วทั้งวงการ
อย่างไรก็ดี คดีความที่ลากยาวมากว่า 2 ปี คดีนี้กำลังใกล้จะถึงบทสรุปแล้ว
คดี Ripple (XRP) ที่ลากยาวกว่า 2 ปี ใกล้จบแล้วจ้า!
เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ที่ผ่านมา ทางฝั่งโจกท์อย่าง ก.ล.ต. สหรัฐฯ และจำเลย ซึ่งก็คือ Ripple ต่างตบเท้าเข้ายื่นเอกสารทั้งหมดที่พวกเขามีในมือ ซึ่งถือเป็นการเปิดศึกตอบโต้กันด้วยข้อเท็จจริงเป็นญัตติสุดท้าย และกำลังจะก้าวเข้าสู่กระบวนการตัดสินโทษ
โดยในเอกสารของ Ripple มีใจความโต้แย้งทาง ก.ล.ต. ว่า พวกเขาล้มเหลวในการพิสูจน์ว่าการเสนอขาย XRP ระหว่างปี 2013 และ 2020 เป็นการเสนอหรือการขาย “สัญญาการลงทุน” ดังนั้นเหรียญ XRP จึงเป็นหลักทรัพย์ภายใต้กฎหมายความมั่นคงของรัฐบาลกลาง
ในตอนท้าย Ripple ได้สรุปเอกสารของพวกเขาโดยระบุว่า “ศาลควรเห็นชอบคำร้องของจำเลย และควรปฏิเสธคำร้องของทาง SEC”
ทั้งนี้ ทาง Stuart Alderoty ที่ปรึกษาทั่วไปของ Ripple ได้ออกมาพูดถึงการยื่นเอกสารครั้งสุดท้ายที่ว่านี้ โดยระบุใน Twitter เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมว่า การกระทำข้างต้นถือเป็น “การยอมจำนนครั้งสุดท้าย” ของ Ripple โดย “ยอมอนุญาต” ให้ศาลตัดสินตามที่เห็นสมควร
ย้อนอดีตคดีความระหว่าง Ripple (XRP) และ SEC
ในปี 2012 Ripple ถูกก่อตั้งขึ้นโดย Chris Larsen และ Jed McCaleb แห่ง RippleLab ซึ่ง ณ ขณะนั้นพวกเขาได้วางไว้ให้บริษัทแห่งนี้สร้างระบบการชำระเงินระดับโลกที่มีสามารถเข้ามาแทนที่ระบบ SWIFT ของการชำระเงินข้ามพรมแดนดั้งเดิมได้ ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีบัญชีแยกประเภทแบบโอเพนซอร์สที่เรียกว่า Ripple Transaction Protocol (RTXP)
การดำเนินงานของ Ripple นั้นเป็นไปอย่างราบรื่นอยู่ระยะหนึ่ง ราบรื่นเสียจนราคาของโทเค็น XRP เคยได้รับความเชื่อมั่นจากนักลงทุนจำนวนมหาศาล และติดท็อป 5 ของตลาด อย่างไรก็ดีในช่วงปลายปี 2020 เรื่องไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น...
ทาง ก.ล.ต. ของสหรัฐฯ ได้ทำการตั้งข้อหา Ripple Labs รวมไปถึง Chris Larsen ผู้ร่วมก่อตั้ง และ CEO ของบริษัทอย่าง Brad Garlinghouse เนื่องมาจากพวกเขาได้ทำการขาย Ripple ตั้งแต่ปี 2013 โดยที่ไม่เคยได้ลงทะเบียนโทเค็นดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์อย่างเป็นทางการ
หลังจากเหตุการณ์นั้น Ripple ก็แทบจะสิ้นชื่อไปเลยก็ว่าได้
ปัจจุบัน ราคาของเหรียญ XRP ณ เวลาที่เขียนบทความนี้ทำการซื้อขายอยู่ที่ราคา $0.39 อย่างไรก็ตาม มูลค่าของสินทรัพย์เสมือนตัวนี้ได้ลดลงไปแล้วเกือบ 90% จากระดับสูงสุดตลอดกาลในเดือนมกราคม 2018 ที่ 3.40 ดอลลาร์
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: การลงทุนมีความเสี่ยงสูง ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนการลงทุนทุกครั้ง
ข้อมูลในบทความนี้มีจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น Cryptosiam ไม่รับประกันความสมบูรณ์ ความถูกต้อง หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลดังกล่าว และไม่มีสิ่งใดในบทความนี้ที่ควรใช้เป็นคำแนะนำหรือชักชวน ให้ซื้อหรือขายคริปโต รวมทั้งการประเมินใดๆ ไม่มีข้อความใดในบทความที่ถือเป็นคำแนะนำทางกฎหมาย วิชาชีพ การลงทุน และ/หรือทางการเงิน และ/หรือคำนึงถึงความต้องการเฉพาะ และ/หรือข้อกำหนดของแต่ละบุคคล
Cryptosiam และบริษัทในเครือ ขอปฏิเสธความรับผิด หรือความรับผิดชอบทั้งหมดเกี่ยวกับเนื้อหาของบทความ และการดำเนินการใดๆ กับข้อมูลในบทความนั้น เป็นความเสี่ยงของผู้อ่าน และถือเป็นความเสี่ยงแต่เพียงผู้เดียว