🇹🇭 ข่าวในประเทศ

อ.ตั๊ม พิริยะ ชี้สารพัดปัญหา! หากเพื่อไทย ใช้ ‘Blockchain’ กับนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท

อ.ตั๊ม พิริยะ ชี้สารพัดปัญหา! หากเพื่อไทย ใช้ ‘Blockchain’ กับนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท

เดือดจัด! อ.ตั๊ม พิริยะ เปิดมุมมองน่าสนใจ ชี้สารพัดปัญหา หากเพื่อไทย ใช้ ‘Blockchain’ กับนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท ลั่น ไม่ต่างอะไรกับการรวมศูนย์เบ็ดเสร็จ - CBDC อาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า

ในขณะที่นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทของพรรคเพื่อไทยจะดูเป็นจริงมากขึ้น หลังจากตำแหน่ง ‘นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย’ ดูจะเทไปยังพรรคอันดับ 2 ของการเลือกตั้งครั้งล่าสุด จึงทำให้ประเด็นนี้ถูกหยิบมาพูกถึงมากขึ้น เนื่องจากก็ยังปฎิเสธไม่ได้ว่ายังไม่มีข้อมูลออกมามากนักสำหรับนโยบายนี้

อ่านข่าวต่อ - ทำได้ไหม? ส่องความเห็น 'ท็อป จิรายุส' เกี่ยวกับนโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ของพรรคเพื่อไทย

วันที่ 16 สิงหาคม ‘อ.ตั๊ม พิริยะ’ หรือ พิริยะ สัมพันธารักษ์ นักลงทุนและผู้เชื่อมั่นใน Bitcoin ชื่อดังชาวไทย ได้แสดงความคิดเห็นต่อการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้กับนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาทของพรรคผ่าน Facebook ส่วนตัว โดยชี้ถึงปัญหาต่างๆ ที่จะตามมา รวมไปถึงสุดท้ายแล้วคงไม่ดีไปกว่าการใช้ฐานข้อมูลแบบดั้งเดิมในการเป็นโครงสร้างพื้นฐานมากนัก

คำถามต่อมาคือการใช้บล็อกเชนสามารถป้องกันการแก้ไขข้อมูลและการใช้เงินซ้ำซ้อนได้จริงหรือ ? การจะตอบข้อนี้เราจำเป็นต้องพิจารณาถึงธรรมชาติของบล็อกเชนที่พูดถึงด้วย

พิริยะ สัมพันธารักษ์ กล่าวในโพสต์

มองในมุมรัฐบาล รัฐน่าจะใช้บล็อกเชนแบบ PoA ซึ่งหมายถึงระบบรวมศูนย์โดยสมบูรณ์ เป็นเพียงการเล่นละครกระจายศูนย์ปาหี่เท่านั้น เมื่อรวมศูนย์แล้ว จึงมีความเสี่ยงที่ศูนย์กลางจะถูกเจาะเข้าควบคุมระบบได้ไม่ได้ต่างอะไรกับระบบฐานข้อมูลโดยทั่วไป กล่าวคือ มี single point of failure และยังจำเป็นต้องอาศัย trust

นอกจากนี้ อ.ตั๊ม พิริยะ ยังมองถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจในทำนองว่าเป็นการกระทำที่ดูไม่สมเหตุสมผล และเป็นความ ‘เพ้อฝัน’ เท่านั้นที่รัฐบาลเชื่อว่าจะสามารถกระตุ้นหรือชะลอเศรษฐกิจได้ตามใจด้วยการควบคุมเงินในระบบ 

บล็อกเชนรัฐบาล = การรวมศูนย์เบ็ดเสร็จ

รวมไปถึงชี้ว่าถ้าหากเงินดังกล่าวไม่ได้เป็นการออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย เงินดังกล่าวก็จะไม่ต่างกับ ‘token อากาศธาตุ’ ที่ถูกควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จโดยหน่วยงานเดียว ซึ่งจะสามารถควบคุมได้ทั้งหมดไม่ว่าจะกำหนดให้ใครสามารถแลกออกมาเป็นเงินสดได้ หรือไม่ได้, ไม่ให้ผู้ใช้ถือ Private key ของตนเอง หรือแม้แต่สามารถเข้าถึงโลเคชั่นของผู้ใช้รายนั้นๆ ได้ตลอดเวลา ซึ่งเป็นอะไรที่รวมศูนย์อย่างเบ็ดเสร็จ

ถ้าทำออกมาได้อย่างนี้จริง จะแสดงถึงโครงสร้างการออกแบบที่รวมศูนย์มาก ๆ กล่าวคือ มีผู้ issue เงินเพียงผู้เดียว และผู้ใช้งานทุกคนจะต้องทำการขึ้นทะเบียนผู้ใช้งาน 1 address ต่อหนึ่งคน ไม่สามารถสร้าง private key ของตนเองและใช้งานได้ จากนั้นฐานข้อมูลส่วนกลางจะต้องกำหนดว่า ใครจะสามารถนำเงินลมเหล่านี้มาใช้ได้และใครไม่สามารถใช้ได้ และยังจำเป็นต้องรู้ตำแหน่ง geolocation ของแต่ละกระเป๋า เพื่อตรวจสอบรัศมีการใช้งานว่าผู้รับและผู้จ่ายมีภูมิลำเนาห่างกันเกิน 4km หรือไม่

จึงมั่นใจได้ว่า ไม่ใช่ระบบ open, decentralized blockchain แต่อย่างใด แต่จะต้องเป็น token digital ที่ควบคุมโดยส่วนกลาง ที่อาจใช้เทคโนโลยี public key infrastructure ในการ automate บางขั้นตอนเท่านั้น

อ.ตั๊ม ชี้ 'CBDC' ตอบโจทย์มากกว่า 'บล็อกเชน'

สุดท้ายแล้ว อ.ตั๊ม พิริยะ ชี้ว่านโยบายดังกล่าวจะดูสมเหตุสมผลมากกว่าหากไปใช้ CBDC หรือสกุลเงินดิจิทัลโดยธนาคารกลาง ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการพัฒนาและทดลองใช้มาก่อนแล้ว ซึ่งจะตอบโจทย์ความต้องการทั้งหมดของนโยบายได้ไม่ยาก แต่จะต้องแลกมาซึ่งอำนาจการควบคุมเงินดังกล่าวของพรรคที่จะต้องลดลงไป

ข่าวอื่นๆ ที่้เกี่ยวข้องกับ - บาทดิจิทัล

ทางออกเดียวที่จะพอทำได้ตามกฎหมาย โดยมีสมมุติฐานว่าจะยังมีความเคารพต่อกฎหมายอยู่บ้าง คือการหันไปใช้ CBDC ของแบงก์ชาติ ที่ทำกันมาหลายปีและมีการทดลองใช้แล้ว ซึ่งระบบดังกล่าวจะสามารถตอบโจทย์ที่ต้องการได้ทั้งหมดไม่ยาก แต่จะต่างกันที่พรรคจะไม่มีสิทธิ์ในการเสก token อากาศธาตุขึ้นมากว่า 500,000 ล้าน token แล้วนำมาแลกเป็นเงินบาทได้

ที่กล่าวมาคือวัตถุประสงค์ของ CBDC ครับ ผมไม่เห็นด้วยกับ CBDC แต่นั่นคือวัตถุประสงค์ที่มันถูกสร้างขึ้นมา และเค้าก็ศึกษาและทำกันมาหลายปีแล้วด้วย ทำให้ 10,000 บาทในระบบกระเป๋าดิจิทัลใหม่ที่กล่าวถึงนี้ ไม่ได้เป็นอะไรไปมากกว่า "คำโฆษณาเพื่อการหาเสียง"

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: การลงทุนมีความเสี่ยงสูง ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนการลงทุนทุกครั้ง

ข้อมูลในบทความนี้มีจุดประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น Cryptosiam ไม่รับประกันความสมบูรณ์ ความถูกต้อง หรือความน่าเชื่อถือของข้อมูลดังกล่าว และไม่มีสิ่งใดในบทความนี้ที่ควรใช้เป็นคำแนะนำหรือชักชวน ให้ซื้อหรือขายคริปโต รวมทั้งการประเมินใดๆ ไม่มีข้อความใดในบทความที่ถือเป็นคำแนะนำทางกฎหมาย วิชาชีพ การลงทุน และ/หรือทางการเงิน และ/หรือคำนึงถึงความต้องการเฉพาะ และ/หรือข้อกำหนดของแต่ละบุคคล

Cryptosiam และบริษัทในเครือ ขอปฏิเสธความรับผิด หรือความรับผิดชอบทั้งหมดเกี่ยวกับเนื้อหาของบทความ และการดำเนินการใดๆ กับข้อมูลในบทความนั้น เป็นความเสี่ยงของผู้อ่าน และถือเป็นความเสี่ยงแต่เพียงผู้เดียว

ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

ไม่พร้อมรับข่าวร้าย! นักเทรดคริปโตถูกล้างพอร์ตมูลค่ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ครั้งแรก! Bitcoin-Ethereum ETF จาก Hashdex และ Franklin Templeton ได้รับอนุมัติพร้อมกัน
Quantum BioPharma ทุ่ม $1 ล้านดอลลาร์ใน Bitcoin และคริปโต หวังกระจายความเสี่ยงป้องกันเงินเฟ้อ
นักวิเคราะห์เผย! Ethereum อาจร่วงแตะ 3,000 ดอลลาร์ หากแนวโน้มขาลงยังคงดำเนินต่อไป