Metaverse

อัพเกรด! Nokia เริ่มวิจัย Metaverse มาปรับใช้กับการสั่งการระยะไกล

Nokia เริ่มวิจัย Metaverse

Nokia กำลังพัฒนาขีดความสามารถของ Metaverse เพื่อใช้ในระดับอุตสาหกรรม โดยได้ทำการทดลองจากการกลั่นเบียร์ทางไกล รวมถึงการบำรุงรักษาเครื่องบินผ่าน Metaverse

Robert Joyce CTO ของ Nokia Oceania กำลังวางแผนใช้งาน Metaverse เพื่อนำมาปรับใช้งานการสั่งการแบบระยะไกล

เมื่อสองปีที่แล้ว Nokia สร้างแล็บวิจัยขึ้นมาสองที่เพื่อค้นคว้าเกี่ยวกับ Metaverse และ เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังของมัน

Robert Joyce CTO ของ Nokia Oceania กล่าว

โดยเมื่อปีที่แล้ว Nokia ได้เริ่ม Collabs กับมหาวิทยาลัยในประเทศออสเตรเลีย เพื่อทดลองใช้สัญญาณ 5G เพื่อเชื่อมต่อกับโรงผลิตเบียร์ขนาดเล็กกับเทคโนโลยี Metaverse

โดยได้ทดลองร่วมกับนักวิจัยที่ในมหาวิทยาลัย Dortmund ในประเทศเยอรมนี ผ่าน Augmented Reality (AR) โดยผลคือนักวิจัยทั้งสองฝั่งสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างดี ทั้งการเปลี่ยนอุณหภูมิ การตั้งเวลาหรือการควบคุมปริมาณของการกลั่นเบียร์ ถึงแม้ทั้งสองจะอยู่ห่างไกลกัน

<i>นักวิจัยทดสอบการกลั่นเบียร์<br>รูปภาพ: UTS</i>
นักวิจัยทดสอบการกลั่นเบียร์
รูปภาพ: UTS

นอกจากนั้น Nokia ยังได้ทดลงการสั่งการระยะไกลสำหรับการซ่อมบำรุงเครื่องบินอีกด้วย โดยจะมีผู้ใส่แว่นตา Microsoft HoloLens และเชื่อมต่อกับสัญญาณ 5G เพื่อสามารถรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในอีกฟากหนึ่งของโลกได้

การบำรุงเครื่องบินผ่านผ่านทางไกล<br>รูปภาพ:&nbsp;Robert Joyce
การบำรุงเครื่องบินผ่านผ่านทางไกล
รูปภาพ: Robert Joyce

ถึงอย่างไร Joyce ก็ยังไม่ได้คาดว่าจะมีการใช้งานเทคโนโลยีนี้จริงภายในเร็วๆนี้ เขาคิดว่าการใช้ ‘Consumer Metaverse’ น่าจะเริ่มเป็นจริงเป็นจังได้ในช่วงปี 2030 เลยทีเดียวกว่าที่จะมีการปรับใช้ Metaverse อย่างจริงจัง

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

กลยุทธ์การเก็บสะสม Bitcoin ของภาคธุรกิจอาจไม่ยั่งยืน นักวิเคราะห์เตือนบริษัทใหม่เสี่ยงเสียเปรียบหากไม่มีจุดขายเฉพาะตัว
นักขุด Bitcoin รายใหญ่ชะลอกำลังการผลิตในเดือนมิถุนายน หวังเลี่ยงค่าไฟพุ่งจากความต้องการใช้ไฟสูงในรัฐเท็กซัส
นักวิเคราะห์เตือน Bitcoin อาจเข้าสู่ช่วงท้ายของรอบขาขึ้นภายใน 2–3 เดือน แม้หลายฝ่ายคาดว่าวัฏจักรจะยืดยาวถึงปี 2026
กองทุน Solana Staking ETF ตัวแรกของสหรัฐฯ เปิดเทรดวันแรกดึงเม็ดเงิน 12 ล้านดอลลาร์ สะท้อนความต้องการลงทุนที่แข็งแกร่ง