LootRush แพลตฟอร์มเกม Web3 ระดมทุนไปได้ถึง 12 ล้านดอลลาร์
ในการระดมทุนรอบ Seed Round ทาง LootRush แพลตฟอร์มเกม Web3 สามารถระดมทุนจากผู้ที่เชื่อมั่นโครงการไปได้ถึง 12 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในการระดมทุนรอบ Seed Round ทาง LootRush แพลตฟอร์มเกม Web3 สามารถระดมทุนจากผู้ที่เชื่อมั่นโครงการไปได้ถึง 12 ล้านเหรียญสหรัฐ
LootRush แพลตฟอร์มเกม Web3 หน้าใหม่ สัญชาติมะกัน สามารถระดมทุน 12 ล้านดอลลาร์ ซึ่งผู้สนับสนุนหลักในครั้งนี้นำทัพโดยบริษัทคริปโตนามว่า Paradigm
ก้าวสำคัญของ LootRush แพลตฟอร์มเกม Web3
เป้าหมายหลักของการดำเนินงานของ LootRush นั้นก็เป็นไปเพื่อ "การทำให้วิดีโอเกม Web3 ใช้งานได้ง่ายเหมือนกับการมีอุปกรณ์พกพาหรือเล่นวิดีโอเกมบน Steam" พูดง่าย ๆ ก็คือ ทำให้เกม Web3 เข้าถึงได้ง่ายขึ้น และสะดวกยิ่งขึ้นสำหรับผู้ใช้นั่นเอง
ซึ่งบริษัทกล่าวเสริมว่า การจัดหาเงินทุนในครั้งนี้ จะนำเงินที่ได้ไปใช้ขยายทีมไปทั่วโลก และซื้อ NFT ในปริมาณมาก
โดยในการระดมทุนครั้งนี้ เหล่านักลงทุน ไม่ว่าจะเป็น Andreessen Horowitz (a16z), Y Combinator และผู้สร้าง Axie Infinity, Plaid, Wildlife Studios, Dapper Labs และ The Chainsmokers และ Vivi Nevo ต่างตบเท้าเข้าร่วมในฐานะนักลงทุนเทวดา
LootRush พูดว่า:
“ในการเล่นวิดีโอเกมโดยใช้เทคโนโลยี Web3 ผู้เล่นต้องพบกับอุปสรรคในการเข้าเล่นที่สูง และเนื่องจากความสนใจในวิดีโอเกมประเภทนี้ยังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้เล่นจึงมองหาหนทางที่จะเปลี่ยนจากความตั้งใจไปสู่ความเพลิดเพลินในเวลาอันสั้น โดยมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”
LootRush กล่าวว่า "เราช่วยให้ผู้เล่นเล่นวิดีโอเกมด้วย NFT ได้ในราคาที่ถูกกว่า 100 เท่า ให้ความยืดหยุ่นมากขึ้นและพอร์ต NFT ที่ใหญ่ขึ้นเพื่อความสนุกสนาน"
อะไรคือ “นักลงทุนเทวดา”?
สำหรับชาว Startup แล้ว เหล่านักลงทุนเทวดา ก็เปรียบเสมือน เทวดา-เทพบุตร-เทพธิดา ของพวกเขาแบบไม่มีผิดเพี้ยน เพราะเป็นผู้อุ้มชูบริษัทหน้าใหม่ให้มีโอกาสในโลดแล่นบนโลกแห่งความเป็นจริงอย่างแท้จริง โดยกลุ่มนักลงทุนเหล่านี้แท้ที่จริงแล้วก็คือ นักลงทุนอิสระที่มาช่วยลงทุนแบบเน้นคุณค่าให้กับธุรกิจในระยะเริ่มเต้น หรือพูดง่าย ๆ ก็คือเป็นผู้มาฝังเมล็ดพันธุ์ลงดินด้วยเงินทุนของตนเอง ถือเป็นการโอบอุ้มธุรกิจให้อยู่รอด และมีโอกาสพัฒนาตนเองได้
การระดมทุนรอบ Seed Round คืออะไร?
โดยทั่วไปแล้ว เราทั้งหลายมักจะคุ้นเคยกับการระดมทุนแบบ Series A, B, C กันเสียมากกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีการระดมทุนอีก 1 – 2 รอบถูกจัดขึ้นในวันที่องค์กรมีเพียงกลยุทธ์ทางธุรกิจที่มีแววว่าจะประสบความสำเร็จ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ก่อนที่บริษัท Startup ทั้งหลายจะทำการระดมทุนในรอบตระกูล Series ทั้งหลายได้นั่นแหละ ซึ่งการระดมทุนนั้นเรียกว่า Seed Funding หรือการระดมทุนเมล็ดพันธุ์นั่นเอง
โดยการระดมทุนเมล็ดพันธุ์ ก็คือขั้นตอนการระดมทุนจากสาธารณชนครั้งแรกอย่างเป็นทางการ โดยทั่วไปแล้วจะเป็นเงินอย่างเป็นทางการครั้งแรกที่กิจการร่วมค้าหรือองค์กรระดมทุน ซึ่งหากบริษัทนั้น ๆ สามารถหาทุนได้มากพอ พวกเขาก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขยายขอบเขตการระดมทุนไปสู่ระดับ Series A หรือมากกว่านั้นเลยก็เป็นได้
ทั้งนี้หากให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น การแทนชื่อรอบการระดมทุนนี้ว่า “เมล็ดพันธุ์” นั้นก็เปรียบเสมือนการเปรียบเทียบความเจริญงอกงามของธุรกิจกับการปลูกต้นไม้ ซึ่งการสนับสนุนทางการเงินในระยะเริ่มต้นนี้ถือเป็น "เมล็ดพันธุ์" ที่จะช่วยทำให้ธุรกิจเติบโต และเมื่อธุรกิจมีรายได้จากเมล็ดพันธุ์ที่เพียงพอ ทางบริษัท รวมถึงผู้ลงทุน ก็หวังว่าเมล็ดที่พวกเขาปลูกนั้นจะเติบโตเป็น "ต้นไม้" ในท้ายที่สุด นั่นเอง