ละตินอเมริกา และเอเชียมีการทำธุรกรรมด้าน Crypto ระหว่างกันมากกว่า 200,000 ครั้งในปีที่ผ่านมา
บริษัทมากมายในละตินอเมริกากำลังมองว่า Crypto เป็นหนึ่งในหนทางที่พวกเขาจะสามารถหลบหนีออกจากระบบของธนาคารที่แสนยุ่งยากไปได้
บริษัทมากมายในละตินอเมริกากำลังมองว่า Crypto เป็นหนึ่งในหนทางที่พวกเขาจะสามารถหลบหนีออกจากระบบของธนาคารที่แสนยุ่งยากไปได้
Chainalysis บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลด้าน Blockchain ได้เผยแพร่งานวิจัยใหม่ที่ทำให้เราเห็นถึงการทำธุรกรรมระหว่างละตินอเมริกา กับเอเชียขนาดมโหฬารที่เกิดขึ้นโดยพวกเราไม่รู้ตัว โดยเนื้อหาจะเน้นไปในทิศทางที่ว่ามีการทำธุรกรรมด้าน Crypto ระหว่างบริษัทจากทั้ง 2 สัญชาติมากกว่า 200,000 ครั้งในปีที่ผ่านมา ซึ่งการทำธุรกรรมระหว่างละตินอเมริกาและเอเชียจากข้างต้นนั้นมีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ละตินอเมริกากำลังหาทางรอด
การศึกษาในครั้งนี้มีหัวข้อว่า “ละตินอเมริกาสามารถลดความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจด้วย Cryptocurrency ได้อย่างไร” ซึ่งการศึกษาดังกล่าวได้ทำการวิเคราะห์ความนิยมของ Crypto ในแถบละตินอเมริกาในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคมปี 2019 ถึงเดือนมิถุนายนปี 2020
โดยจากการศึกษานั้นแสดงให้เห็นว่าปัญหาการเข้าถึงธนาคารของชาวละตินอเมริกาและความจำเป็นในการโอนเงินได้ผลักดันให้เกิดรูปแบบการใช้สกุลเงินดิจิทัลที่เป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำธุรกรรมี่เกี่ยวข้องกับการค้าข้ามประเทศ
ในขณะที่ทางอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตกเป็นทวีปที่จะโอนเงินตราดั้งเดิมเข้าสู่ละตินอเมริกามากที่สุด แต่ทางเอเชียตะวันออกนั้นก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน เพราะพวกเขาถือเป็นทวีปที่ทำธุรกรรมในรูปแบบ Crypto กับละตินอเมริกาเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากข้อมูลระบุว่าหนึ่งในการชำระเงินเหล่านั้นคือธุรกรรมทางการค้าระหว่างผู้ส่งออกในแถบเอเชียและบริษัททางละตินอเมริกา
ข้อจำกัดของแต่ละท้องถิ่น ทำให้ผู้คนต่างหาวิธีการในแบบฉบับของตนเอง
งานวิจัยในครั้งนี้ยังได้อ้างถึง Luis Pomata ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Cripex ซึ่งเป็นบริษัทแลกเปลี่ยนในประเทศปารากวัย โดยเขาได้กล่าวว่า ธนาคารในประเทศปารากวัยกังวลเกี่ยวกับปัญหาการฟอกเงิน ทั้งยังเรื่องมากกับเหล่าลูกค้าอีกด้วย นั้นเป็นเหตุผลที่ขั้นตอนของแอปพลิเคชั่นธนาคารมีขั้นตอนที่ "ยาวและยากมาก" เนื่องจากบริษัทหลายแห่งถูกธนาคารปฏิเสธ
Kim Grauer หัวหน้างานวิจัยแห่งบริษัท Chainalysis ได้กล่าวว่า ทางบริษัทไม่สามารถระบุปัจจัยในที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดความนิยมในการส่งผ่านสกุลเงินดิจิทัลในครั้งนี้ได้ เนื่องจากตัวแปรที่ส่งผลต่อแรงขับนั้นมีความแตกต่างกันระหว่างประเทศแถบละตินอเมริกา กับประเทศอื่น ๆ ซึ่งสาเหตุหลักมาจากกฏหมายและระบบธนาคารในแต่ละท้องที่นั้นไม่เหมือนกันนั่นเอง
Chainalysis ชี้แจงว่า "บุคคลจำนวนมาก" ก็ไม่สามารถมีบัญชีธนาคารเป็นของตัวเองได้ในละตินอเมริกา ซึ่งจากสาเหตุดังกล่าวช่วยส่งเสริมให้เกิดการยอมรับ Crypto ขึ้นในภูมิภาคนั้น
"สิ่งที่เราสามารถพูดได้คือ การใช้การแลกเปลี่ยนในลักษณะ Peer-to-Peer (P2P) ถือเป็นบริการหลักที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในประเทศเวเนซูเอลาเป็นลำดับแรก ที่ซึ่งเป็นตลาดในการให้บริการขนาดใหญ่และสามารถผลักดันให้เกิดการยอมรับจากประเทศบราซิลในลำดับถัดไป นอกจากนี้ตลาดเชิงพาณิชย์ที่สำคัญจำนวนมากก็ยังผลักดันให้เกิดการยอมรับเทคโนโลยีเหล่านี้ในประเทศอาร์เจนตินา, ปารากวัยและบราซิล เนื่องจากพวกเขาทำการซื้อขายสินค้า ซึ่งสินค้าเหล่านั้นมักนำเข้ามาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน”
ในเดือนกรกฎาคม Bitso ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทแลกเปลี่ยน Cryptocurrency ที่ใหญ่ที่สุดในแถบละตินอเมริกา มีผู้ใช้งานกว่า 1 ล้านคนก่อนที่จะมีการเปิดตัวในประเทศบราซิล
จากข้อมูลของ Santiago Alvarado ผู้อำนวยการฝ่ายการชำระเงินข้ามประเทศแห่งบริษัท Bitso ความสำเร็จในการแลกเปลี่ยนภายในประเทศอาร์เจนตินาเชื่อมโยงกับการทำธุรกรรม Crypto แบบพิเศษ และความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการชำระเงินข้ามพรมแดนในตลาดท้องที่