สรรพากรสหรัฐฯปรับเกณฑ์เตรียมออกกฎเข้มรายงานรายได้จากคริปโต
อดีตประธานฝ่ายตรวจสอบของสรรพากรสหรัฐฯเผยรัฐบาลเตรียมตรวจการรายงานภาษีเกี่ยวกับคริปโตเข้มข้นขึ้นหลังรัฐขาดรายได้
อดีตประธานฝ่ายตรวจสอบของสรรพากรสหรัฐฯเผยรัฐบาลเตรียมตรวจการรายงานภาษีเกี่ยวกับคริปโตเข้มข้นขึ้นหลังรัฐขาดรายได้
Internal Revenue Service (IRS)
หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลการเก็บรายได้ภายในของรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาหรือ Internal Revenue Service (IRS) นั้นทำหน้าที่เสมือนกรมสรรพากรของประเทศไทย โดยในช่วงก่อนหน้านี้เนื่องจากฝั่งรัฐบาลประเทศสหรัฐนั้นได้มีการอนุญาตให้มีการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสกุลเงินคริปโตภายในประเทศได้ภายใต้การกำกับดูแลและการขออนุญาต โดยที่นักลงทุนรายย่อยหรือนักเทรดนั้นสามารถซื้อขายสกุลเงินคริปโตและสัญญาซื้อขายล่วงหน้าได้ตามปกติเพียงแค่มีการยืนยันตัวตน(KYC) ก่อน ซึ่งการเก็บภาษีที่เกี่ยวข้องนั้นยังไม่ได้มีการเจาะจงลงไปโดยเฉพาะ เพียงแต่ให้มีการรายงานเท่านั้น
อย่างไรก็ตามในปี 2021 ทางหน่วยงานดังกล่าวเริ่มมีท่าทีที่เปลี่ยนไป และอาจมีการนำเครื่องมือทางกฎหมายที่รุนแรงขึ้นมาใช้บังคับแก่การยื่นแบบเสียภาษีของนักลงทุนคริปโตได้ โดยล่าสุดนาย Don Fort อดีตประธานฝ่ายตรวจสอบความผิดอาญาเกี่ยวกับการเก็บภาษีของหน่วยงานดังกล่าวนั้นได้มีการเขียนบทวิเคราะห์ไว้ในบทความทางกฎหมายซึ่งเผยแพร่บนเว็บไซต์ Law360 เกี่ยวกับการดำเนินการของ Internal Revenue Service (IRS) ที่กำลังจะเปลี่ยนไปสู่การบังคับใช้มาตรการที่เข้มข้นมากขึ้น
จากการเก็บข้อมูลสู่การบังคับใช้กฎหมาย
ในช่วงก่อนหน้านี้ทาง Internal Revenue Service (IRS) นั้นมีการสงวนท่าที โดยมุ่งเป้าไปที่การให้ข้อมูลแก่สาธารณะชนถึงวิธีการและแนวปฏิบัติในการรายงานรายได้ที่เกี่ยวข้อกับสกุลเงินคริปเท่านั้น แต่ในบทความของนาย Fort นั้นได้กล่าวว่าทาง IRS เริ่มขยับตัวมากขึ้นแล้ว ซึ่งการเปล่ยแปลงดังกล่าวนั้นเริ่มจากในช่วง 2018 ซึ่งทางหน่วยงานดังกล่าวได้มีการส่งหมายเรียกให้แก่บริษัท Exchange ยักษ์ใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนืออย่าง Coinbase
ในเคสของ Coinbase นั้นทาง IRS ได้ใช้อำนาจตามกฎหมายในการเรียกให้ Coinbase ส่งข้อมูลลูกค้ากว่า 13,000 รายให้แก่ทางหน่วยงาน ซึ่งโดยปกติแล้วบริษัทจำกัดทั่วไปนั้นไม่มีหน้าที่ในการให้ข้อมูลภายในของบริษัทแก่รัฐบาล เพียงแต่ต้องยื่นรายงานของบริษัทตนตามกฎหมายเท่านั้น นอกจากนี้แล้วอีกหนึ่งตัวอย่างเช่นกรณีของ Bitstamp ซึ่งแม้ว่าบริษัทดังกล่าวจะเป็นบริษัทสัญชาติลักแซมเบิร์กก็ตาม แต่ทางหน่วยงานดังกล่าวก็ได้มีการเรียกให้ส่งข้อมูลของผู้ใช้ชาวอเมริกันให้ด้วยเช่นดียวกัน
การเปลี่ยนแปลงส่วนหนึ่งนั้นอาจมีที่มาจากความแตกต่างระหว่างยอดการจ่ายภาษีที่รัฐบาลอเมริกาตั้งไว้กับยอดที่รัฐบาลได้รับจริง ซึ่งเมื่อพิจารณาโดยเฉพาะภาษีที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินคริปโตแล้ว จำนวนภาษีที่ควรได้รับที่ 2.5 พันล้านดอลลาร์นั้นได้รับจริงเพียงแค่ 50% เท่านั้น รวมทั้งจำนวนภาษีรวมทั้งหมดที่หายไปกว่า 3.81 แสนล้านดอลลาร์นั้นยังมีส่วนที่มาจากการไม่ได้รายงานรับรับเกี่ยวกับสกุลเงินคริปโตอย่างถูกต้องมากถึง 3.2% อีกด้วย