General

“อินทนนท์” เงินบาทดิจิทัลกับโอกาสในการใช้งานผ่าน DeFi

Inthanon Project 1.jpg

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำลังจะยกระดับสกุลเงินบาทดิจิทัลของประเทศไทยให้ก้าวไปอีกขั้น ด้วยการพิจารณาประเมินโอกาสปรับใช้ “อินทนนท์” เข้ากับ Smart Contract และระบบ Decentralized Finance (DeFi)

ธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังศึกษาด้าน Smart Contracts และ Decentralized Finance (DeFi) อย่างใกล้ชิด นี่ถือเป็นอีกก้าวหนึ่งที่น่าจับตามองของการพัฒนาเงินบาทให้ก้าวทันยุคสมัยที่ อะไรรอบตัวก็พัฒนาอย่างรวดเร็วจนมานั่งเสียเวลารอไม่ได้

Vijak Sethaput.jpeg
นายวิจักขณ์ เศรษฐบุตร รองผู้อำนวยการฝ่ายตลาดการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย

นายวิจักขณ์ เศรษฐบุตร รองผู้อำนวยการฝ่ายตลาดการเงินและนักพัฒนาอาวุโสของโครงการอินทนนท์ ซึ่งเป็นโครงการสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับความคืบหน้าของการออกสกุลเงินบาทดิจิทัลระหว่างการให้สัมภาษณ์ที่จัดโดย Official Monetary and Financial Institutions Forum (OMFIF)

Decentralized Finance ใบเบิกทางสำหรับอนาคต

นายวิจักขณ์ เผยว่า ธปท. กำลังติดตามดูพัฒนาการของระบบเทคโนโลยีทางการเงินที่เปิดกว้างอย่าง DeFi โดยข้อดีของมันคือการทุกฝ่ายมีอำนาจในการตรวจสอบและจัดการเงินดิจิทัลของตนเอง แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่จะนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้กับสกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติของไทยได้ ทางธนาคารแห่งประเทศไทยเองจะต้องหาทางแก้ไขปัญหาใน 2 ประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการเงินที่เปิดกว้างชนิดนี้ นั่นคือด้านการระบุอัตลักษณ์ของลูกค้าและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับนโยบายความเป็นส่วนตัว

Sky Guo 1024x853.png
Sky Guo ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Cypherium

ขณะเดียวกัน Sky Guo ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทด้านบล็อกเชนในนิวยอร์กอย่าง Cypherium ซึ่งเป็นองค์กรที่มุ่งความสนใจไปในด้ายการประยุกต์ใช้สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางทั่วโลกโดยเฉพาะ ได้ร่วมแสดงความเห็นว่า นานาประเทศทั่วโลกนั้นสามารถหยิบยืมโมเดลของ DeFi มาใช้โดยชอบต่อกฎหมายเพื่อเป็นตัวกลางในการเปิดทางให้หน่วยงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมสามารถออกสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีทรัพย์สินจริง ๆ หนุนหลัง ไม่ว่าจะเป็นหุ้น หรืออสังหาริมทรัพย์และนำมาใช้เป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินสกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติ (CBDC) ได้ โดยเขานั้นเชื่อมั่นว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบเศรษฐกิจได้อย่างดีเยี่ยม

ทาง นายวิจักขณ์ เองยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การนำ Smart Contract หรือสัญญาอัจฉริยะมาใช้นั้นเป็นขั้นตอนสำคัญขั้นต่อไปของโครงการอินทนนท์

“เราได้ศึกษาการทำงานของ Smart Contract ตามที่ Sky ได้อธิบาย โดยทำวัฎจักรวงจรของพันธบัตรจำลองขึ้นมา ที่ซึ่งกำหนดให้สามารถทำการแลกเปลี่ยนระหว่างกันได้ ทั้งยังมีฟังก์ชันที่คล้ายกับการจำนำให้ผู้ถือพันธบัตรสามารถขาย และกลับมาซื้อคืนในภายหลังได้อีกด้วย”

ก่อนหน้านี้ธนาคารแห่งประเทศไทยเองได้เคยทำการทดลองการใช้ CBDC ในการทำธุรกรรมกับบรรดาบริษัทขนาดใหญ่ไปแล้วเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา และ ณ ขณะนี้กำลังก้าวเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปในขยายขอบเขตการใช้ “อินทนนท์” ในการทำธุรกรรมกับธนาคารกลางฮ่องกง

ถ้าไม่ปรับตัวระวังจะตกขบวน

ความเห็นจากธนาคารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางกระแสความนิยมของอุตสาหกรรม DeFi ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาล โดยอุตสาหกรรม DeFi ขยายตัวทุบสถิติเป็นประวัติการณ์ในปีนี้หลังบริษัทเอกชนทั่วโลกต่างเพิ่มการลงทุนใน Crypto Asset มากขึ้นเรื่อย ๆ

โดย Defipulse เว็บไซต์ฐานข้อมูลสำหรับการดำเนินงานด้าน Decentralized Finance ที่น่าเชื่อถือ ได้เผยข้อมูลว่า มูลค่าสินทรัพย์ที่ถูกล็อกไว้บนระบบ DeFi นั้นแตะจุดสูงสุดใหม่ในประวัติศาสตร์ที่ 5,240 ล้านดอลลาร์สหรัฐไปเรียบร้อยแล้ว

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

Ham's Rectangle Template   2024 10 19 T161801.029
ระเบิดเวลา? สัญญาซื้อขายล่วงหน้าบน Bitcoin พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ มูลค่ารวมกว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์
พบการไหลออกจาก Spot Bitcoin ETF มูลค่า 79 ล้านดอลลาร์ ยุติตลาดขาขึ้น 2 สัปดาห์ ท่ามกลางราคา BTC ที่กำลังลดต่ำลง
นักวิเคราะห์เตือน! ความเชื่อมั่นในตลาดคริปโตอาจไม่ได้สูงอย่างที่คิด หลังนักลงทุนบนโซเชียลแห่โพสต์แสดงความเชื่อมั่น