กฎหมาย และประกาศ

อินเดียพิจารณาออกกฎหมายให้คริปโตเป็นสินทรัพย์

9dt4wutvwds.jpg

รัฐบาลอินเดียเตรียมพิจารณาออกกฎหมายให้คริปโตเป็นสินทรัพย์/สินค้าโภคภัณฑ์แล้ว

อินเดียจะออกกฎหมายกำกับคริปโต

รัฐบาลอินเดียดูเหมือนว่าจะออกกฎหมายมากำกับคริปโตเคอร์เรนซีแล้วโดยสื่อข่าวอินเดียเผยว่ารัฐบาลอาจจะจัดประเภทให้คริปโตเป็นสินทค้าโภคภัณฑ์และเตรียมพิจาณาจะเก็บภาษีคริปโตรวมถึงพิจารณาว่าจะใช้งานมันอย่างไร อ้างอิงจากรายงานของ The Economic Times

การจัดประเภทให้คริปโตเป็นสินทรัพย์โภคภัณฑ์นั่นหมายความว่าคริปโตในอินเดียจะไม่ได้เป็นเงินตามกฎหมาย ไม่ได้มีสถานะที่จะใช้แทนเงินได้ ซึ่งรายงานเผยว่าเจ้าหน้าที่ก็จะพิจารณาการใช้งานของลูกค้าปลายทางเป็นเคส ๆ ไป 

การใช้งานคริปโตในอินเดียมีการนำกระบวนการทำความรู้จักลูกค้า หรือ KYC เข้ามาด้วย รวมถึงมีมาตรฐานด้านการบัญชีเข้ามาร่วมด้วย ส่วนการเก็บภาษีก็จะคล้าย ๆ กับภาษีของการทำธุรกรรมเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่นำไปใช้งานกับหลักทรัพย์เช่นเดียวกัน

นักลงทุนรอกฎหมายรับรองคริปโตมานาน

รัฐบาลอินเดียได้มีท่าทีที่เปลี่ยนไปมาต่อตลาดคริปโต ไม่ได้มีความชัดเจนว่าจะออกกฎหมายมารองรับหรือห้ามการใช้งานคริปโตหรือไม่ อย่างไรดี แต่ประเทศก็ได้ยกเลิกกฎหมายที่เกี่ยวกับการแบนไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ให้บริการการทำธุรกรรมคริปโตไปเมื่อไม่นานมานี้

อย่างไรก็ตามแม้ว่ารัฐบาลอินเดียจะไม่ได้มีการห้ามการทำธุรกรรมเกี่ยวกับคริปโตโดยตรงแต่นักลงทุนต่างก็รอกฎหมายที่ชัดเจนเพื่อมารองรับให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคริปโตได้อย่างสบายใจ

อันที่จริงแล้วการลงทุนคริปโตในอินเดียนั้นค่อนข้างจะสูง ตลาดคริปโตในอินเดียเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในเวลานี้น่าจะมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 6.5 พันล้านดอลลาร์แล้ว 

เมื่อร่างกฎหมายล่าสุดบังคับใช้ คาดว่าจะเป็นการรับรองให้ชาวอินเดียสามารถใช้ Bitcoin หรือเหรียญคริปโตอื่น ๆ ได้โดยมีภาครัฐเข้ามาดูแล ซึ่งอาจผลักดันให้การใช้งาน Bitcoin หรือเหรียญคริปโตอื่น ๆ ในอินเดียมีมากขึ้นอีกในอนาคต

ติดตาม CryptoSiam
เพื่อให้ไม่พลาด ทุกข่าวสาร วงการคริปโต
ข่าวต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

ก.ล.ต. ร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัล ส่งมอบข้อมูลกระดานเทรดที่ไม่ได้รับอนุญาต ให้พิจารณาปิดกั้นการเข้าถึง!
อัยการยื่นคำร้องต่อศาล ขอให้เพิ่มโทษจำคุก อดีตซีอีโอ Binance เป็น 36 เดือน
นักวิเคราะห์ดัง เผย! ความสำคัญของ Bitcoin ต่อตลาดคริปโต อาจลดลงในอนาคต
กองทุน Bitcoin ETF ของ 'BlackRock' ไม่มีเงินลงทุนไหลเข้ามาเป็นครั้งแรก