บริการบล็อกเชนของ Huawei Cloud อัปเดตครั้งใหญ่ในรอบสองปี
บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่าย และอุปกรณ์โทรคมนาคมสัญชาติจีนกำลังก้าวเข้าสู่เวที Blockchain อย่างเต็มตัว โดยปรับปรุงแพลตฟอร์มคลาวด์ของพวกเขาครั้งใหญ่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มขีดความสามารถสู่การแข่งขันและการใช้งานเชิงพาณิชย์
บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่าย และอุปกรณ์โทรคมนาคมสัญชาติจีนกำลังก้าวเข้าสู่เวที Blockchain อย่างเต็มตัว โดยปรับปรุงแพลตฟอร์มคลาวด์ของพวกเขาครั้งใหญ่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มขีดความสามารถสู่การแข่งขันและการใช้งานเชิงพาณิชย์
ในระหว่างการประชุมสุดยอดอุตสาหกรรมครั้งที่ผ่านมาทางบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่อย่าง Huawei ได้ก้าวมาสร้างสิ่งใหม่ ๆ อีกครั้ง โดยในคราวนี้พวกเขาทำการแถลงข่าวถึงการอัปเดตสำหรับบริการคลาวด์ที่ใช้บล็อกเชนซึ่งถูกเรียกว่า “บริการบล็อกเชน หรือ Blockchain Service (BCS) แบบ 2.0 และดูเหมือนว่าการปรับปรุงที่กำลังจะเกิดขึ้นของแพลตฟอร์มนี้จะเป็นการอัปเดตหลักครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2018
เมื่อโลกหมุนเร็ว เราต้องหมุนตาม
Fangming Hong ประธานของ Huawei Cloud China และ Feng Xu ประธานสายผลิตภัณฑ์ของแพลตฟอร์มแอปพลิเคชันระบบคลาวด์ Huawei รวมไปถึงทีมผู้บริหารของ Huawei ได้ยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าเป้าหมายหลักของการอัปเกรดคือการปรับขนาดโครงการแอปพลิเคชันเพื่อให้สามารถใช้งานเชิงพาณิชย์ได้
แพลตฟอร์มใหม่ที่กำลังจะได้รับการปรับปรุงนั้นสามารถตอบสนองต่อการทำธุรกรรมที่มีประสิทธิภาพทั้งสิน 50,000 ครั้งต่อวินาที (TPS) ภายในสภาพแวดล้อมทางการค้า ซึ่งหากเปรียบเทียบกับ Bitcoin Blockchain ทั่วไปแล้วจะมีค่าเฉลี่ยที่ประมาณ 5 TPS เท่านั้น ในขณะที่ Ethereum สามารถตอบสนองได้ดีกว่าประมาณสองเท่า ซึ่งจากการเปิดตัวความเร็วในการประมวลผลที่เพิ่มขึ้นของ BCS ในครั้งนี้จะช่วยขยายขอบเขตเครือข่ายและช่วยในการใช้ Blockchain สู่กิจการเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่
Hong กล่าวว่า ที่จริงแล้ว BCS ของ Huawei ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยร่วมมือกับพันธมิตรเกือบ 100 รายทั่วประเทศ (เช่นเดียวกับการสนับสนุนจากรัฐบาลท้องถิ่น) นับตั้งแต่มีการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในปี 2018 เขาเสริมว่า
“เรามีจำนวนสะสมของเหล่าห่วงโซ่พันธมิตรที่ดำเนินกิจกรรมบนแพลตฟอร์มกว่า 3,000 กลุ่มและจำนวนผู้เข้าร่วมบล็อกเชนมากกว่า 6,000 คน”
Xu กล่าวเพิ่มเติมว่าจนถึงปัจจุบัน Huawei Cloud Blockchain ได้เปิดตัวโครงการมากกว่า 70 โครงการใน 7 สาขา ได้แก่ สาขาการเงิน, สาขาโลจิสติกส์, สาขากิจการของรัฐบาล, สาขาการผลิต, สาขาการรักษาพยาบาล สาขากิจการด้านพลังงานและสาขาการจดลิขสิทธิ์ดิจิทัล
ตัวอย่างหนึ่งของโครงการที่เปิดตัวผ่านแพลตฟอร์มนี้คือ “Beijing Directory Chain” ซึ่งช่วยให้เจ้าหน้าที่รัฐในสำนักงานรัฐบาลท้องถิ่นหลายแห่งดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ และสังคมในแต่ละวัน Xu ได้อย่างราบรื่น
“นับตั้งแต่มีการใช้งานในเดือน ตุลาคม 2019 ระบบ Data Directory ที่ใช้ Blockchain ขับเคลื่อนการทำงาน ได้ทำการเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ 53 สำนักงาน 16เขตและมณฑลซึ่งไม่เพียง แต่ช่วยให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพระดับการจัดการในเมืองเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนงานด้านออนไลน์ทั้งหมด”
Huawei กล่าวว่าในอนาคต บริษัท หวังที่จะดำเนินความร่วมมืออย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นกับเขตเทคโนโลยีขั้นสูงของเฉิงตูเพื่อร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในเชิงพาณิชย์