การกำหนดมาตรการ CBDC ของไทยในอนาคต 3 ประการ
ธนาคารแห่งประเทศไทยเผยแพร่ข้อสรุป 3 ข้อที่ได้จากการศึกษาล่าสุดเพื่อการพิจารณาในการกำหนดมาตรการ CBDC ของไทย เพื่อสร้างความมั่นใจต่อเสถียรภาพทางการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยเผยแพร่ข้อสรุป 3 ข้อที่ได้จากการศึกษาล่าสุดเพื่อการพิจารณาในการกำหนดมาตรการ CBDC ของไทย เพื่อสร้างความมั่นใจต่อเสถียรภาพทางการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยแพร่ผลของการศึกษาล่าสุดเกี่ยวกับแนวทางการจัดการด้านมาตรการ CBDC ของไทยหรือสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CDBC) สำหรับกลุ่มร้านค้าปลีกที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่ายซึ่งต่างจากรูปแบบค้าส่งที่ต้องอาศัยตัวกลางอย่างสถาบันการเงิน
ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่กำลังศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนา CBDC ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมีแผนที่จะเริ่มดำเนินการทดสอบการใช้ CBDC ในปีหน้า สิ่งที่น่าสนใจคือ ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสำคัญที่จะทำการทดลองใช้สกุลเงินสำหรับร้านค้าปลีกโดยเฉพาะ
กรอบสำหรับการกำหนดมาตรการ CBDC ของไทย
ธนาคารกลางแห่งประเทศไทยได้มีการสรุปผลจากการศึกษาวิจัยล่าสุด เพื่อต้องการความมั่นใจว่าจะไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงหรือผลกระทบสกุลเงิน fiat ที่มีอยู่ หากมีการออกสกุลเงิน CBDC สำหรับร้านค้าปลีก นอกจากนี้ รัฐบาลต้องการสร้างมาตรการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดกับการเสนอนโยบายการเงินหรือสถาบันการเงินที่มีอยู่
จึงเป็นที่มาของประเด็นความสำคัญเพื่อกำหนดมาตรการ CBDC ของไทยที่ได้จากผลการศึกษาทั้งหมด 3 ประการ ดังนี้
- 1. CBDC เสมือนเงินสดที่ไม่มีการเก็บดอกเบี้ย
- 2. สถาบันการเงินคือตัวกลางในการจำหน่าย CBDC ให้กับประชาชนทั่วไป
- 3. เงื่อนไขหรือข้อจำกัดสำหรับการแลกเปลี่ยน CBDC จะเป็นไปตามข้อกำหนด
ธนาคารแห่งประเทศไทยมองว่าการกำหนดมาตรการ CBDC ของไทยเหล่านี้จะช่วยสร้างความมั่นคงต่อสถาบันการเงินในการรวบรวมเงินฝาก รวมถึงการจัดการสภาพคล่องในระบบการเงิน เพื่อให้แน่ใจว่า CBDC สำหรับร้านค้าปลีกจะส่งผลกระทบต่อเงินฝากธนาคารและเพื่อรักษาบทบาทของของสถาบันการเงินในประเทศ
การเผยแพร่ผลการวิจัยดังกล่าว ไทยมีการคาดการณ์ว่าความต้องการ CBDC จากภาคประชาชนและร้านค้าสำหรับการค้าปลีกจะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต รวมถึงความเป็นไปได้ที่สกุลเงินดังกล่าวอ่านกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการชำระเงินแทนเงินสดควบคู่กับรูปแบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน