Bitcoin อาจจะกลายเป็นสกุลเงินสำรองในอนาคต
Stephen Harper อดีตนายกรัฐมนตรีแคนาดามองเห็นความเป็นไปได้ที่ Bitcoin จะก้าวมามีบทบาทสำคัญต่อวงการทางการเงิน

Stephen Harper อดีตนายกรัฐมนตรีแคนาดามองเห็นความเป็นไปได้ที่ Bitcoin จะก้าวมามีบทบาทสำคัญต่อวงการทางการเงิน
ในการให้สัมภาษณ์กับประธานบริษัทผู้ให้บริการด้านการลงทุนแห่ง Cambridge House อย่างนาย Jay Martin ภายใต้การประชุม Vancouver Resource investment conference เมื่อวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา อดีตนายกรัฐมนตรี Stephen Harper แห่งประเทศแคนาดา ผู้เคยดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งแคนาดากว่า 9 ปี นับตั้งแต่ปี 2006 จนถึงปี 2015 เรียก Bitcoin ว่าคือทางเลือกที่เป็นไปได้ที่สามารถทำหน้าที่เป็นสกุลเงินสำรองในอนาคต อย่างไรก็ตามสกุลเงินดังกล่าวจะไม่มีวันสามารถมาแทนที่บทบาทระหว่างประเทศของสกุลเงิน US Dollar ไปได้
Harper ยอมรับว่าเงินดอลลาร์สหรัฐอยู่ในช่วงขาลง และเขาได้กล่าวถึงทางเลือกที่เป็นไปได้บางประการ เช่น เงินหยวนของสาธารณรัฐประชาชนจีน และเงินยูโร ว่าเป็นสกุลเงินที่มีศักยภาพมากพอที่จะมาแทนที่เงินดอลลาร์ได้ อย่างไรก็ตามเขาได้แสดงความเคลือบแคลงใจของเขาเกี่ยวกับตัวเลือกสกุลเงินระหว่างประเทศทั้ง 2 ประเภทข้างต้น เนื่องจากความไม่แน่นอนของค่าเงินยูโรในระยะยาว และมาตรการที่ไร้เหตุผลของรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนที่อาจถูกสร้างขึ้นมาเพื่อควบคุมมูลค่าเงินหยวน ส่งผลให้สกุลเงินทั้งสองนั้นอาจเป็นทางเลือกที่ไม่เหมาะสมเท่าไรนัก
Harper กล่าว
“เว้นเสียแต่ว่าประเทศสหรัฐฯ จะเกิดหายนะ ซึ่งการมองหากสกุลเงินอื่นใดนอกเหนือไปจากดอลลาร์สหรัฐที่จะก้าวเข้ามาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับสกุลเงินสำรองหลักของโลกยังคงเป็นเรื่องยาก นอกจากนี้แล้ว พวกคุณเองก็คงจะทราบดีถึงการมีอยู่ของสินทรัพย์ประเภททองคำ หรือ Bitcoin ... ผมคิดว่าคุณจะได้เห็นว่ารูปแบบของสกุลเงินสำรองที่ประชาชนต่างพากันใช้นั้นได้ขยายตัวขึ้น แต่ทว่าเงินดอลลาร์สหรัฐก็จะยังคงเป็นสกุลเงินหลักอยู่ดี”
จากสายตาของผู้คนมากมาย Bitcoin ได้กลายเป็นสินทรัพย์ประเภท Safe Havenเนื่องจากจำนวนนักลงทุนรายใหญ่ และรายย่อยที่เพิ่มมากขึ้นนั้นนับว่าเป็นเครื่องมือด้านการลงทุนที่มั่นคง และแข็งแกร่งต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสกุลเงินดิจิทัลกำลังกลายเป็นการลงทุนที่ถูกกฎหมาย
แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะเห็นเช่นนั้น โดย Stephen Harper อธิบายเพิ่มเติมว่าสกุลเงินทุกสกุลมีจุดประสงค์ทั้งหมด 3 ประการด้วยกัน ได้แก่ จัดเก็บมูลค่า, เป็นหน่วยวัดที่ใช้มาตรฐานเดียวกันในการวัด (Unit Of Account) และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เขายอมรับว่าเขาไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านสกุลเงินดิจิทัลอย่าง Bitcoin แม้ว่าเขาจะกล่าวว่าสกุลเงินดิจิทัลเป็นหน่วยวัดในทางบัญชี และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนก็ตาม แต่เขาเองก็ยังไม่สามารถมองว่าสกุลเงินดิจิทัลจะทำหน้าที่เป็นสินทรัยพ์ที่จัดเก็บมูลค่าไว้ได้
ท้ายที่สุดแล้ว Harper ก็ยอมรับว่า CBDC นั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เขาก็ยังกล่าวว่าสกุลเงินดิจิทัลเหล่านั้นอาจตกอยู่ภายใต้การควบคุมของนโยบายทางการเงินทั่วโลก เขาได้แสดงความกังวลของเขาต่อการมาถึงของ CBDC โดยระบุว่าสกุลเงินดังกล่าวอาจทำให้ธนาคารกลางกลายเป็นสถานที่ให้บริการด้านการเงินธรรมดาแห่งหนึ่งแทนที่การเป็นหน่วยงานตรวจสอบด้านการเงิน ดังนั้นเขาจึงกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงข้างต้นอาจส่งผลต่อการเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง
ธนาคารกลางเร่งนำสกุลเงินดิจิทัลออกมาใช้
ธนาคารกลางแห่งยุโรป และธนาคารกลางแห่งสหรัฐอเมริกาต่างก็แข่งขันกันเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลของตนเอง เนื่องจากความเสี่ยงจากการถูกทิ้งไว้ข้างหลังเมื่อสังคมหันเปิดรับ Cryptocurrency ในลักษณะเดียวกันกับ Bitcoin ที่ไม่เพียงแต่ต้องยึดติดกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ยังต้องกลายเป็นหนึ่งในทางเลือกที่เป็นไปได้แทนที่สกุลเงินสดอื่น ๆ อีกด้วย