ผู้บริหาร BIS แนะ เจ้าหน้าที่การเงินต้องให้ความสำคัญกับ defi มากขึ้น
ผู้บริหาร BIS เริ่มเห็นความสำคัญของ defi มากขึ้นแล้ว

ผู้บริหาร BIS เริ่มเห็นความสำคัญของ defi มากขึ้นแล้ว
Benoît Cœuré ผู้บริหารของธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศหรือ BIS ได้ออกมากล่าวแล้วว่า ตอนนี้ตลาดคริปโตเคอร์เรนซี่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วมาก และกลายเป็นกระแสการลงทุนที่แหกกรอบต่างไปจากตลาดทุนเดิม พร้อมกับเน้นย้ำว่า ระบบการเงินแบบไร้ศูนย์กลางหรือ defi นั้น เป็นปัจจัยสำคัญที่ทางเจ้าหน้าที่ควบคุมการเงินต้องให้ความสำคัญ
ผู้บริหาร BIS มอง defi
เช่นกันเขามองว่า ในช่วงปี 2022 ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีความเป็นไปได้ที่จะต้องทำการร่างกฎหมายคริปโตขึ้นมาเพื่อรองรับกระแสที่เกิดขึ้น
โดย Cœuré ถือเป็นสมาชิกคนสำคัญของธนาคารกลางของยุโรปหรือ ECB และมีการดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ หลายตำแหน่งที่เกี่ยวกับการธนาคาร ในช่วงที่ผ่านมาเขาได้พูดถึงเรื่องของแนวโน้มคริปโตต่อการดำเนินนโยบายการเงินโลกกับทางสำนักข่าว Financial Times เอาไว้ว่า ทางเจ้าหน้าที่ควบคุมการเงินควรที่จะให้ความสำคัญกับร่างกฎหมายคริปโตในช่วงปี 2022 เนื่องจากระบบการเงินแบบไร้ศูนย์กลางมีการเติบโตมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้ต้องปรับตัวเข้ากับกระแสตรงนี้ให้ได้

ทางผู้บริหารของธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศได้เน้นย้ำว่า ทางเจ้าหน้าที่ไม่ควรที่จะเพิกเฉยระบบ defi ได้อีกต่อไปแล้ว โดยพวกเขาจะต้องเปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาแทนที่ระบบการเงินที่มีอยู่แต่เดิม รวมไปถึงต้องสร้างแผนการรับมือความเสี่ยงจากระบบใหม่ที่ได้เข้ามาแทนที่ด้วย
ชี้จะต้องดำเนินเรื่องอย่างจริงจัง
ในมุมมองเกี่ยวกับการร่างกฎหมายตรงนี้ เขาชี้ว่า ตอนนี้ทางคณะกรรมการทางด้านเสถียรภาพทางการเงินหรือ FSB อยากให้ทางเจ้าหน้าที่หลายประเทศเริ่มสร้างแพลตฟอร์มที่เหมาะกับการร่างกฎหมายคริปโต ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า หลายประเทศเริ่มดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจังในช่วงปี 2022
อย่างไรก็ตามเขามองว่า หลายประเทศอาจต้องใช้เวลาพิจารณาร่างกฎหมายคริปโตนานพอสมควร ซึ่งบางประเทศอาจต้องใช้ระยะเวลา 2-3 ปีในการพูดคุยหารือกันเรื่องนี้เพื่อให้ดำเนินร่างกฎหมายให้สอดคล้องกับประเทศอื่น ๆ ที่อาจต้องมีการนำระบบมาปรับเข้าด้วยกัน